พระพุทธศาสนามีส่วนช่วยในการพัฒนาชาติไทยได้อย่างไร

1. พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ชาวไทยส่วนใหญ่นับถือ ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศร้อยละ 95 นับถือพระพุทธศาสนาที่สืบต่อมาจากบรรพบุรุษ นับตั้งแต่ไทยมีประวัติศาสตร์ชัดเจนชาวไทยก็นับถือพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว หลักฐานโบราณ ได้แก่ โบราณสถานที่เป็นศาสนสถาน โบราณวัตถุ เช่น พระธรรมจักร  ใบเสมา พระพุทธรูป ศิลาจารึก เป็นต้น แสดงว่าผู้คนในดินแดนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนา(ทั้งนิกายเถรวาทและมหายาน) มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 กล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยมาช้านานแล้ว

2. พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานสำคัญของวัฒนธรรมไทย เนื่องจากชาวไทยนับถือพระพุทธศาสนามาช้านาน จนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาได้หล่อหลอมซึมซับลงในวิถีไทย กลายเป็นรากฐานวิถีชีวิตของคนไทยในทุกด้าน ทั้งด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณีและศีลธรรม ดังนี้
          2.1) วิถีชีวิตของคนไทย คนไทยมีวิถีการดำเนินชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ ได้แก่ การแสดงความเคารพ การมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความกตัญญูกตเวที การไม่อาฆาตหรือมุ่งร้ายต่อผู้อื่น ความอดทนและการเป็นผู้มีอารมณ์แจ่มใส รื่นเริง เป็นต้น ล้วนเป็นอิทธิพลจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น ซึ่งได้หล่อหลอมให้คนไทยมีลักษณะเฉพาะตัว เป็นเอกลักษณ์ของคนไทยที่นานาชาติยกย่องชื่นชม

          2.2) ภาษาและวรรณกรรมไทย ภาษาทางพระพุทธศาสนา เช่น ภาษาบาลีมีอยู่ในภาษาไทยจำนวนมาก วรรณกรรมไทยหลายเรื่องมีที่มาจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น ไตรภูมิกถา ในสมัยสุโขทัย กาพย์มหาชาติ นันโทปนันทสูตรคำหลวง พระมาลัยคำหลวง ปุณโณวาทคำฉันท์ ในสมัยอยุธยา เป็นต้น

          2.3) ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ประเพณีไทยที่มาจากความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนามีอยู่มากมาย เช่น การอุปสมบท ประเพณีทอดกฐิน ประเพณีแห่เทียนพรรษา ประเพณีชักพระ เป็นต้น กล่าวได้ว่าขนบธรรมเนียมประเพณีที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนามีความผูกพันกับคนไทยตั้งแต่เกิดจนตาย

          2.4) ศิลปกรรมไทย พระพุทธศาสนาเป็นบ่อเกิดของศิลปะแขนงต่างๆ วัดเป็นแหล่งรวมศิลปกรรมไทย ทางด้านสถาปัตยกรรม เช่น รูปแบบการเสร้างเจดีย์ พระปรางค์ วิหาร ที่งดงามมาก เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) กรุงเทพมหานคร ประติมากรรม ได้แก่ งานปั้นและหล่อพระพุทธรูป เช่น พระพุทธลีลาในสมัยสุโขทัย พระพุทธชินราช วัดพระศรีมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก จิตรกรรม ได้แก่ ภาพวาดฝาผนังและเพดานวัดต่างๆ เช่น จิตรกรรมฝาผนัง วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร

3. พระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจของสังคมไทย พระสงฆ์เป็นผู้นำทางจิตใจของประชาชน เป็นศูนย์กลางของความเคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชน เพื่อให้คนไทยประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม นอกจากนี้วัดยังเป็นศูนย์กลางของชุมชน เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมของชุมชน สร้างความสามัคคีในชุมชน

4. พระพุทธศาสนาเป็นหลักในการพัฒนาในการพัฒนาชาติไทย หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามุ่งเน้นการพัฒนาคนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพทั้งด้านสุขภาพกาย  สุขภาพจิต ใช้คุณธรรมและสติปัญญาในการดำเนินชีวิตเพื่อพัฒนาตนเองและร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาชุมชน  พัฒนาสังคม  และพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง นอกจากนี้พระสงฆ์หลายท่านยังมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำชุมชนพัฒนาในด้านต่างๆ เช่น การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การอนุรักษ์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น วัดเป็นแหล่งการเรียนรู้ของสังคมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ชาวไทยได้บวชเรียนในพระพุทธศาสนา ได้ฝึกฝนอบรมตนให้เป็นคนดี เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติไทย

5. พระพุทธศาสนาเป็นหนึ่งในสามสถาบันหลักของชาติไทย สถาบันหลักของชาติไทยที่คนไทยทุกคนให้ความเคารพนับถือ ประกอบด้วย ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ รัฐธรรมนูญไทยได้กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ หมายถึง พระประมุขของชาติไทยที่ทรงนับถือพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และยังเป็นอัครศาสนูปถัมภก คือ ทรงให้ความอุปถัมภ์ศาสนาทุกศาสนาในประเทศไทย

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาเอกของโลกที่มีหลักคำสั่งสอนอันเปรียบเสมือนห้วงมหานทีแห่งสรรพศาสตร์ จึงมิใช่เพียงแค่เป็นปรัชญาหรือทฤษฎีเท่านั้น หากแต่ยังมีเนื้อหาครอบคลุมถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความนึกคิดแทบทุกด้านและที่สำคัญพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการกระทำ (กรรมวาท และกิริยาวาท) เป็นศาสนาแห่งความเพียรพยายาม (วิริยวาท) ไม่ใช่ศาสนาแห่งการอ้อนวอนปรารถนา หรือศาสนาแห่งความห่วงหวังกังวล การสั่งสอนธรรมของพระพุทธเจ้าทรงมุ่งผลในทางปฏิบัติให้ทุกคนจัดการกับชีวิตที่เป็นอยู่จริงๆ ในโลกนี้และเริ่มต้นแต่บัดนี้

พระพุทธศาสนากับการพัฒนาสังคมไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน[1]

          พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาเอกของโลกที่มีหลักคำสั่งสอนอันเปรียบเสมือนห้วงมหานทีแห่งสรรพศาสตร์ จึงมิใช่เพียงแค่เป็นปรัชญาหรือทฤษฎีเท่านั้น หากแต่ยังมีเนื้อหาครอบคลุมถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความนึกคิดแทบทุกด้านและที่สำคัญพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการกระทำ (กรรมวาท และกิริยาวาท) เป็นศาสนาแห่งความเพียรพยายาม (วิริยวาท) ไม่ใช่ศาสนาแห่งการอ้อนวอนปรารถนา หรือศาสนาแห่งความห่วงหวังกังวล การสั่งสอนธรรมของพระพุทธเจ้าทรงมุ่งผลในทางปฏิบัติให้ทุกคนจัดการกับชีวิตที่เป็นอยู่จริงๆ ในโลกนี้และเริ่มต้นแต่บัดนี้ 

          คำว่า “พระพุทธศาสตร์” แยกได้เป็น ๓ คำ คือ คำว่า พระ แปลว่าประเสริฐ ดีเลิศ คำว่า พุทธะ แปลว่า ผู้รู้-ผู้ตื่น-ผู้เบิกบานในที่นี้หมายถึงท่านผู้ตรัสรู้อริยสัจ ๔ อย่างถ่องแท้ คำว่า ศาสตร์ แปลว่าความรู้ หรือองค์ความรู้ที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้าวิจัย ซึ่งเป็นกิจกรรมของมนุษย์อย่างหนึ่งที่มุ่งอธิบายอย่างเป็นระบบในความที่น่าจะเป็นไปได้ เมื่อรวมกันแล้วได้ความหมายว่าองค์แห่งความรู้ของผู้รู้-ผู้ตื่น-ผู้เบิกบานอย่างประเสริฐ

          ในบรรดาองค์แห่งความรู้ทั้งหมดนั้นเป็นความรู้ที่พระพุทธเจ้าทรงศึกษาค้นคว้าวิจัยด้วยพระองค์เองจนสามารถกำหนดเป็นทฤษฎีแห่งความรู้ต่างๆ มากมาย ในที่นี้จะแบ่งลักษณะความรู้ที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนเพียงแค่น้อยนิดเท่านั้น แบ่งออกเป็น ๓ ลักษณะ ดังนี้

๑. คำสอนที่ทรงค้นพบใหม่ เช่น อริยสัจ ปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น

๒. คำสอนที่ทรงปฏิรูปจากลัทธิ ศาสนาเดิม เช่น การทำบุญให้ได้ผลสมบูรณ์จะต้องทำกับผู้เป็นพราหมณ์โดยกำเนิด หรือบริสุทธิ์โดยตระกูล พระองค์ทรงปฏิรูปโดยให้ทำกับปฏิคาหก (ผู้รับ) ที่มีศีลบริสุทธิ์มีคุณธรรม และทายก (ผู้ถวายหรือผู้ให้) จะต้องมีความบริสุทธิ์ใน ๓ กาล คือก่อนให้-ขณะกำลังให้-หลังจากให้แล้ว

            ๓. คำสอนที่ทรงปฏิวัติ เช่น การฆ่าสัตว์บูชายัญจัดเป็นมหามงคลอย่างยิ่ง สามารถบันดาลให้ตนสำเร็จตามปรารถนา พระองค์ทรงเห็นตรงกันข้ามว่าการฆ่าเป็นบาปทั้งสิ้น            ความรู้ในพระพุทธศาสนาแม้จะมากมาย ถึงกระนั้นก็ตามพระพุทธศาสนามีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่พระนิพพาน คือการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ดังนั้นการบรรลุนิพพานก็คือการเข้าถึงความดับทุกข์โดยสิ้นเชิง และบรรลุความสุขอย่างสูงสุด จิตของผู้บรรลุนิพพานย่อมมีความสะอาดสว่างและสงบตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่และเมื่อดับขันธ์แล้วก็เป็นการสิ้นทุกข์ ไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารอีกต่อไป เมื่อมนุษย์ไม่สามารถเข้าสู่เป้าหมายอันสูงสุดได้อย่างรวดเร็วทางพระพุทธศาสนาจึงได้กำหนดอัตถะ หรือประโยชน์ที่เป็นเป้าหมายหลักและเป้าหมายรองเอาไว้ เพื่อเป็นหลักในการดำเนินชีวิตและเป็นที่มุ่งหวังสำหรับมนุษย์เอาไว้ ๓ ระดับ ดังนี้

          ๑. ทิฏฐิธัมมิกัตถะ จุดหมายขั้นตาเห็น หรือประโยชน์ปัจจุบัน เช่นมีสุขภาพที่ดี มีเงินใช้และมีงานทำ มีสถานภาพที่ดี และมีครอบครัวที่ผาสุก เป็นต้น

          ๒. สัมปรายิกัตถะ จุดหมายขั้นเลยตาเห็น หรือประโยชน์เบื้องหน้า เช่น ความอบอุ่นซาบซึ้งสุขใจ ความภาคภูมิใจ ความอิ่มใจ ความแกล้วกล้ามั่นใจ และความโล่งจิตมั่นใจ เป็นต้น

          ๓. ปรมัตถะ จุดหมายสูงสุด หรือประโยชน์อย่างยิ่ง เช่น ไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม ไม่ผิดหวังและเศร้า มีความปลอดโปร่งสงบ และเป็นอยู่ด้วยปัญญา เป็นต้น

          พระพุทธศาสนามีหลักคำสอนที่มีเหตุและผลเป็นศาสนธรรมว่าโดยแม่บทอันเป็นหลักการใหญ่ที่เรียกว่า ปาพจน์ มี ๒ อย่างคือ พระธรรมกับพระวินัย ว่าโดยปิฎกซึ่งเป็นคัมภีร์หลักของศาสนามี ๓ คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก ว่าโดยหัวข้อที่เรียกว่าธรรมขันธ์มี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์[2]

๑.ความเป็นมาของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย

           พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย ด้วยชนชาติไทยได้นับถือและยกย่องเทิดทูนเป็นสรณะแห่งชีวิต สืบทอดต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาช้านาน ขนบธรรมเนียมประเพณีและศิลปวัฒนธรรมของชาติส่วนใหญ่ มีพื้นฐานมาจากพระพุทธศาสนา

          องค์พระมหากษัตริย์ซึ่งทรงเป็นพระประมุขของชาติทุกๆ พระองค์ทรงเป็นพุทธมามกะ ทรงดำรงอยู่ในฐานะเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก ทรงยกย่องเชิดชูพระพุทธศาสนาตลอดมาตั้งแต่อดีตอันยาวนาน จวบจนกาลปัจจุบัน อันแสดงให้เห็นเป็นประจักษ์ว่าพระพุทธศาสนาได้สถิตสถาพรเป็นมิ่งขวัญของชาติไทยตลอดมาทุกยุคทุกสมัย

          กล่าวได้ว่าชาติไทยได้มีความเจริญมั่นคง ดำรงเอกราชอธิปไตยสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่โบราณกาล จวบจนกาลปัจจุบัน ก็ด้วยคนไทยทั้งชาติยึดมั่นอยู่ในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มีความเคารพบูชาพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ พระพุทธศาสนาจึงมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อชีวิตของชาวไทย โดยมีส่วนเสริมสร้างอุปนิสัยของคนในชาติให้รักความสงบ มีความเสียสละ แกล้วกล้า อาจหาญ รอบรู้ฐานะ อฐานะ มีความรักและยึดมั่นอยู่ในสามัคคีธรรม

          โดยที่พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยดังกล่าวนี้ ชาวไทยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ ๙๕ ของประชากรทั้งประเทศเป็นพุทธศาสนิกชน เป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนามีอิทธิพลเป็นอันมากต่อความเชื่อ และความประพฤติ หรือการดำรงชีวิตของคนไทยส่วนใหญ่

          หากมองดูสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าแม้ชาวไทยเราส่วนใหญ่จะเป็นพุทธศาสนิกชนดังกล่าวแล้ว แต่ส่วนใหญ่มักเป็นกันตามจารีตประเพณี หรือเป็นพุทธศาสนิกชนตามสำมะโนครัว มักไม่ค่อยได้มีโอกาสได้เรียนรู้ ได้ศึกษาพระพุทธศาสนาได้เท่าที่ควร ทั้งนี้ย่อมสืบเนื่องมาจากสาเหตุหลายประการด้วยกัน[3]

๒.ความสำคัญของพระพุทธศาสนากับสังคมไทย

       พระพุทธศาสนาถือได้ว่าเป็นศาสนาประจำชาติ และอยู่เคียงคู่กับชาติไทยมาโดยตลอด ดังนั้นพระพุทธศาสนาจึงมีความสำคัญต่อสังคมไทย พอสรุปได้ดังนี้[4]

          ๑) พระพุทธศาสนาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตของคนไทย เพราะคนไทยนำหลักธรรมมาประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน และลักษณะนิสัยของคนไทยมีจิตใจที่ดีงามใน  ทุกๆ ด้าน มีความเป็นมิตรกับทุกคน เป็นต้น 

         ๒) พระพุทธศาสนาเป็นหลักในการปกครองประเทศ กษัตริย์ทุกพระองค์ของไทยได้นำเอาหลักธรรมพระพุทธศาสนาไปใช้ในการปกครองประเทศ เช่น ทศพิธราชธรรม ตลอดมา หรือใช้หลัก “ธรรมาธิปไตย” และหลักอปาริหานิยธรรม เป็นหลักในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เป็นต้น

         ๓) พระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจ เนื่องจากหลักธรรมในพระพุทธศาสนามุ่งเน้นให้เกิดความรักความสามัคคีกัน มีความเมตตากรุณาต่อกัน เป็นต้น จึงเป็นศูนย์รวมจิตใจของชนชาวไทยให้มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน

            ๔) พระพุทธศาสนาเป็นที่มาของวัฒนธรรมไทย ด้วยวิถีชีวิตของคนไทยผูกพันกับพระพุทธศาสนา จึงเป็นกรอบในการปฏิบัติตนตามหลักพิธีกรรมในพระพุทธศาสนาต่าง ๆ เช่น การบวช การแต่งงาน การทำบุญเนื่องในพิธีการต่างๆ การปฏิบัติตนตามประเพณีในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนที่ก่อให้เกิดวัฒนธรรมไทยจนถึงปัจจุบัน

๕) พระพุทธศาสนาในฐานะเป็นสถาบันหลักของสังคมไทย พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่สังคมไทยส่วนใหญ่นับถือ และสืบทอดกันมาเป็นช้านาน ดังนั้นพระพุทธศาสนาจึงมีบทบาทสำคัญของวิถีชีวิตของคนไทย พระพุทธศาสนาจึงมีความสำคัญในด้านต่างๆ ทั้งด้านการศึกษา ด้านสังคม และด้านศิลปกรรม

          ๖) พระพุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนไทยผูกพันอยู่อย่างแนบแน่นกับพระพุทธศาสนา ซึมแทรกผสมผสานอยู่ในแนวความคิด จิตใจและกิจกรรมแทบทุกก้าวของชีวิตโดยตลอดเวลายาวนาน โดยยังคงเนื้อหาสาระเดิมที่บริสุทธิ์ไว้ได้ก็มี ถูกดัดแปลงเสริมแต่งตลอดจนปนเปกับความเชื่อถือและข้อปฏิบัติสายอื่นหรือผันแปรในด้านเหตุอื่นๆ จนผิดเพี้ยนไปจากเดิมก็มาก

            ๗) พระพุทธศาสนาในฐานะเป็นเอกลักษณ์ของชาติ การที่พระพุทธศาสนาอยู่กับคนไทยมาช้านาน จึงก่อให้เกิดการซึมซาบเอาหลักปฏิบัติของพระพุทธศาสนาให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ก่อให้เกิดความเป็นเอกลักษณ์ของคนไทยที่ไม่เหมือนกับชาติอื่นๆ ที่เป็นเอกลักษณ์เด่นได้แก่ รักความเป็นอิสระ และความมีน้ำใจไมตรี

          ๘) พระพุทธศาสนาในฐานะเป็นมรดกของชาติ หลักฐานทางคัมภีร์และศาสนาวัตถุ ซึ่งนักประวัติศาสตร์โบราณคดีเชื่อว่า พระพุทธศาสนาได้เข้ามาเผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมิก่อน พ.ศ. ๕๐๐ แต่ศรัทธาความเชื่อของปุถุชนก็เป็นไปตามยุคสมัย พระพุทธศาสนาจึงรุ่งเรืองและเสื่อมลงตามกาลสมัยด้วย จนกระทั่งพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้สถาปนากรุงสุโขทัยและรับเอาพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ครั้นราว พ.ศ. ๑๘๓๖ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ อาราธนาพระสงฆ์ลังกาวงศ์จากนครศรีธรรมราชไปกรุงสุโขทัยและอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาจนมั่นคงยืนนานมาในปัจจุบันนี้

          ๙) พระพุทธศาสนาในฐานะที่ช่วยสร้างสรรค์อารยธรรม ชนชาติหนึ่ง ๆ นอกจากมีหน้าที่ต้องพัฒนาประเทศชาติของตนเองแล้ว ก็พึงมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์และส่งเสริมอารยธรรมโลกด้วย ชนชาติไทยเป็นชนชาติที่เก่าแก่มากชนชาติหนึ่ง มีวัฒนธรรมที่เจริญก้าวหน้าอย่างสูงมาตลอดเวลายาวนาน จึงได้มีส่วนร่วมในการสร้างเสริมอารยธรรมของโลกด้วย แม้ว่าจะอยู่ในขอบเขตที่ไม่กว้างนัก ส่วนร่วมที่ว่านี้ก็คือ ศิลปวัฒนธรรมไทย ซึ่งพัฒนาขึ้นมาจนมีแบบแผนเป็นของตนเอง อย่างที่เรียกว่ามีเอกลักษณ์ของความเป็นไทยเด่นชัด ศิลปวัฒนธรรมไทยเหล่านี้มีรากฐานมาจากพระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่

๑๐) พระพุทธศาสนาในฐานะที่ช่วยสร้างความสงบสุขให้แก่โลก พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานอารยธรรมที่สำคัญของโลกดังได้กล่าวมาแล้ว พระพุทธศาสนายังช่วยสร้างความสงบสุขให้แก่ชาวโลกได้ หากศึกษาในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนามีทั้งการสร้างสรรค์     อารยธรรมและสันติภาพแก่มวลมนุษย์ นั่นคือ พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นในประเทศอินเดียหรือชมพูทวีป พระพุทธศาสนาได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมอินเดีย กล่าวคือสังคมอินเดียเคยนับถือพระพรหมเป็นเทพเจ้าสูงสุด ผู้สร้างผู้บันดาลทุกสิ่ง มีการบูชายัญเทพเจ้า แล้วก็มีการกำหนดมนุษย์เป็นวรรณะต่าง ๆ โดยชาติกำเนิด เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ เป็นศูทร แล้วก็ถือว่าพราหมณ์เป็นผู้ที่ติดต่อสื่อสารกับเทพเจ้ากับพระพรหม เป็นผู้รู้ความต้องการของพระองค์ เป็นผู้รับเอาคำสอนมารักษา มีการผูกขาดการศึกษาให้อยู่ในวรรณะสูง คนวรรณะต่ำเรียนไม่ได้ เป็นต้น เมื่อพระพุทธศาสนาเกิดขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องเหล่านี้อย่างมากมาย เช่น เรื่อง วรรณะ ๔ พระพุทธศาสนาไม่ยอมรับ แต่ให้ถือหลักว่า “คนมิใช่ประเสริฐหรือต่ำทรามเพราะชาติกำเนิด แต่จะประเสริฐหรือต่ำทรามเพราะการกระทำ” แล้วก็ไม่ให้มัวหวังผลจากการอ้อนวอนบูชายัญ สอนให้เปลี่ยนการบูชายัญหรือเลิกการบูชายัญ ให้หันมาหวังผลจากการกระทำ นี่คือการ “ประกาศอิสรภาพของมนุษย์


[1]พระครูโสภณปริยัติสุธี (ศรีบรรดร ถิรธมฺโม), ทฤษฎีรัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก, พิมพ์ครั้งที่ ๒, (พะเยา: โรงพิมพ์เจริญอักษร, ๒๕๕๐), หน้า ๑ - ๓.

[2]คูณ โทขันธ์,  พุทธศาสนากับสังคมและวัฒนธรรมไทย, (กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์ , ๒๕๔๕), หน้า ๑.

[3]พิทูร มลิวัลย์ และไสว มาลาทอง, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๔๒),

หน้า ๑.

[4]พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะเป็นศาสนาประจำชาติ, พิมพ์ครั้งที่ ๑๐,  (กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก, ๒๕๔๓), หน้า ๙–๑๐.

พระพุทธศาสนามีความสำคัญต่อสังคมไทยอย่างไรบ้าง

พระพุทธศาสนาอยู่คู่กับสังคมไทยมานาน วิถีชีวิตของชาวไทยส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ชาวไทยร้อยละ ๙๕ นับถือพระพุทธศาสนา ได้นำหลักการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนามาเป็นแนวทางแห่งการดำเนินชีวิตจนกลายเป็นรากฐานทางวัฒนธรรม และเอกลักษณ์มรดกของชาติไทยตราบเท่าทุกวัน พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานของวัฒนธรรม

พระพุทธศาสนามีบทบาทสําคัญในการพัฒนาสังคมอย่างไร

อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์เชื่อว่า พระพุทธศาสนามีความสำคัญในการพัฒนาชาติเป็น ปัจจัยทำให้มนุษย์มีความสมบูรณ์ทั้งในด้านสติปัญญาและความเจริญในทางวัตถุโดยพระพุทธ ศาสนามีบทบาทในการพัฒนาชาติคือ พระพุทธศาสนาต้องช่วยสร้างสังคมที่มีสมรรถภาพ โดย บุคคลในสังคมต้องมีอิสรภาพและเสรีภาพ สังคมนั้นต้องมีความยุติธรรมบนฐานความเมตตา กรุณาของ ...

พระพุทธศาสนามีความสําคัญต่อการสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยอย่างไร

พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานของวัฒนธรรมไทยและอยู่คู่กับประเทศไทยมาไม่น้อยกว่า 2200 ปี โดยผ่านอาณาจักรไทยโบราณและปัจจุบัน จึงก่อให้เกิดและเป็นที่มาของวัฒนธรรมไทยด้านต่างๆ กล่าวคือ ด้านภาษาไทยได้รับภาษาบาลีสันสกฤต ดังภาษาที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ด้านวรรณกรรม เช่น ไตรภูมิพระร่วง พระมหาชนก และคัมภีร์พระพุทธศาสนาซึ่งเป็นแหล่งใหญ่ ...

พระพุทธศาสนามีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยอย่างไร

ก่อนอื่นขอกล่าวถึงหลักพุทธธรรมทั้งสองข้อดังนี้ ๑. พุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยหลักสนอง หลักการสนอง หมายถึง การสอนให้ตั้งเนื้อตั้งตัวให้ได้ในทางเศรษฐกิจ ให้พยายามยกฐานะของตน ให้สูงขึ้นด้วยความขยันหมั่นเพียรและวิธีการอื่น ๆ เพื่อสร้างความสุขให้เกิดมีความขึ้นให้ได้สนอง ตามความต้องการของมนุษย์

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก