คนไร้ความสามารถทําพินัยกรรมได้เพียงใด

Advertisement


  ปัจจุบัน ได้มีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก หากเจ้าของทรัพย์สินรู้จักบริหารจัดการในระหว่างทายาท ลูก หลาน และผู้ที่เกี่ยว ก็อาจจะทำให้ปัญหาลดลง นำมาซึ่งสงบ และสันติสุขในสถาบันครอบครัว การทำพินัยกรรมก็เป็นทางออกประการหนึ่ง จึงได้นำเสนอเพื่อเป็นวิทยาทาน

1.  พินัยกรรม 

พินัยกรรม คือ  การแสดงเจตนาโดยพินัยกรรม  กำหนดการเผื่อตาย  ในเรื่องทรัพย์สินของตนเองหรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตาย

2.  บุคคลซึ่งจะเป็นผู้ทำพินัยกรรมได้

บุคคลซึ่งจะเป็นผู้ทำพินัยกรรมได้ คือ 

(๑) ต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น

(๒) ผู้เยาว์สามารถทำพินัยกรรมได้หากผู้เยาว์นั้นมีอายุครบ  15  ปีบริบูรณ์

(๓) คนวิกลจริต  ซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ (คนบ้า) หากได้ทำพินัยกรรม พินัยกรรมเป็นโมฆะ  ถ้าศาลยังไม่สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ  พินัยกรรมนั้นใช้ได้ จะใช้ไม่ได้ (เสียเปล่า) ก็ต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นได้ทำพินัยกรรมในขณะที่บุคคลนั้นเป็นคนวิกลจริต

(๔)  คนเสมือนไร้ความสามารถ  ทำพินัยกรรมได้มีผลสมบูรณ์

3.  กรณีที่ข้อกำหนดให้พินัยกรรมตกไปใช้บังคับไม่ได้ ได้แก่กรณีที่

                ก.  เมื่อผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทำพินัยกรรม

                ข.  เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมเป็นผลใช้ได้ต่อเมื่อเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งสำเร็จลง  และผู้รับพินัยกรรมตายเสียก่อนเงื่อนไขสำเร็จ หรือปรากฏเป็นที่แน่นอนอยู่แล้วว่าเงื่อนไขนั้นไม่อาจจะสำเร็จได้

ค.  เมื่อผู้รับพินัยกรรมบอกสละพินัยกรรม

ง.  เมื่อทรัพย์สินทั้งหมดที่ยกให้สูญหายหรือถูกทำลายโดยผู้ทำพินัยกรรมมิได้ตั้งใจในระหว่างที่ผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่  และผู้ทำพินัยกรรมมิได้มาซึ่งของแทนหรือซึ่งสิทธิที่จะเรียกค่าทดแทนในการที่ทรัพย์นั้นสูญหายไป

4.  แบบพินัยกรรม

พินัยกรรมแบบธรรมดา  ผู้ทำพินัยกรรมแบบธรรมดาต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้

(๑) ต้องทำพินัยกรรมเป็นหนังสือ

(๒) พินัยกรรมที่ทำขึ้นต้องลง  วันที่  เดือน  ปี  ขณะที่ทำพินัยกรรม  ถ้าไม่ลงไว้พินัยกรรมเป็นโมฆะ

(๓) ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อย  2  คน  พร้อมกัน   ถ้าเขียนชื่อตนเองไม่เป็นจะพิมพ์ลายนิ้วมือก็ได้  แต่ต้องมีพยานลงลายมือชื่อรับรองลายนิ้วมือนั้นอีก  2  คน  เมื่อผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อแล้ว  จะต้องให้พยานอีก  2  คน  ลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมในขณะนั้นด้วย  ซึ่งพยานที่ลงลายมือชื่อรับรองดังกล่าวจะต้องเขียนชื่อตนเองเป็นมิฉะนั้นแล้วไม่สามารถเป็นพยานในพินัยกรรมได้

(๔) ถ้าจะมีการแก้ไขพินัยกรรมโดยการขูด ขีด ลบ หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่น  จะต้องทำเป็นหนังสือลงวัน  เดือน  ปี  และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อย  2  คนพร้อมกัน  มิฉะนั้นพินัยกรรมส่วนที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นไม่สมบูรณ์  แต่คงเสียไปเฉพาะแต่ข้อกำหนดนั้นเท่านั้น  หาทำให้พินัยกรรมส่วนอื่นเสียไปทั้งฉบับด้วยไม่

พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ  ผู้ทำพินัยกรรมต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้

(๑) ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนข้อความในพินัยกรรมเป็นหนังสือด้วยลายมือตนเองจะให้ผู้อื่นเขียนให้มิได้ ดังนั้น  พินัยกรรมแบบนี้ถ้าผู้ทำพินัยกรรมเขียนหนังสือไม่เป็นก็ไม่สามารถทำพินัยกรรมแบบนี้ได้

(๒) ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องลงวันที่ เดือน ปี และลายมือชื่อของตนในพินัยกรรม  จะใช้ลายพิมพ์นิ้วมือโดยมีพยานรับรอง  2  คน  ไม่ได้

(๓) กรณีที่จะมีการขูดลบ  ตก  เติม  หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขพินัยกรรม  ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องทำเอง  แล้วลงลายมือชื่อกำกับมิฉะนั้นพินัยกรรมในส่วนนี้ไม่สมบูรณ์

พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง   ผู้ทำพินัยกรรมต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้

                (๑) ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของตนต่อผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอต่อหน้าพยานอีกอย่างน้อย  2  คนพร้อมกัน

            (๒)  การแจ้งข้อความตามข้อ 1 ก็เพื่อให้ผู้อำนวยการเขต  หรือนายอำเภอจดข้อความ เสร็จแล้วต้องอ่านให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟัง

                (๓) เมื่อผู้ทำพินัยกรรมและพยานทราบแน่ชัดว่าข้อความนั้นถูกแล้ว  ให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือไว้เป็นสำคัญ

                (๔) ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอ  ต้องลงลายมือชื่อและลงวัน เดือน ปี พร้อมกับเขียนลงไปในพินัยกรรมด้วยว่า  พินัยกรรมนั้นได้ทำขึ้นถูกต้อง  เสร็จแล้วประทับตราประจำตำแหน่ง

                (๕) กรณีมีการขูดลบ ตกเติม หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองนี้  ผู้ทำพินัยกรรม  พยาน  และผู้อำนวยการเขต หรือนายอำเภอจะต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้มิฉะนั้นพินัยกรรมในส่วนนี้ไม่สมบูรณ์

พินัยกรรมแบบเอกสารลับ   ผู้ทำพินัยกรรมต้องปฏิบัติดังนี้

                (๑) ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรม

                (๒) ผู้ทำพินัยกรรมต้องนำพินัยกรรมใส่ซองแล้วปิดผนึก  เสร็จแล้วลงลายมือชื่อคาบรอยผนึกนั้น

                (๓) ผู้ทำพินัยกรรมต้องนำพินัยกรรมที่ผนึกนั้นไปแสดงต่อผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอและพยานอีกอย่างน้อย  2  คน และให้ถ้อยคำต่อบุคคลทั้งหมดเหล่านั้นว่าเป็นพินัยกรรมของตน  ถ้าพินัยกรรมนั้นผู้ทำพินัยกรรมไม่ได้เป็นผู้เขียนเองโดยตลอด ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องแจ้งชื่อและที่อยู่ของผู้เขียนให้ทราบด้วย

(๔) เมื่อผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอ จดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรมและวัน เดือน ปี ที่นำพินัยกรรมมาแสดงไว้บนซองและประทับตราประจำตำแหน่งแล้ว ผู้ทำพินัยกรรม, ผู้อำนวยการเขต หรือนายอำเภอและพยานต้องลงลายมือชื่อบนซองนั้น

                (๕) การขูดลบ  ตก  เติม  หรือแก้ไขพินัยกรรมแบบเอกสารลับ  ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้  มิฉะนั้นพินัยกรรมในส่วนนี้ไม่สมบูรณ์

                (๖) ในกรณีผู้ทำพินัยกรรมเป็นใบ้ หูหนวก  หรือพูดไม่ได้  ผู้นั้นต้องเขียนด้วยตนเองบนซองพินัยกรรมต่อหน้านายอำเภอ  หรือผู้อำนวยการเขตและพยานด้วยข้อความว่าพินัยกรรมที่ผนึกนั้นเป็นของตนแทนการให้ถ้อยคำตามข้อ ๓

พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา  เมื่อมีพฤติกรรมพิเศษไม่สามารถทำพินัยกรรมแบบใดแบบหนึ่งได้ดังกล่าว เช่น   ผู้ทำพินัยกรรมตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย  หรือมีโรคระบาด  หรือมีสงคราม บุคคลดังกล่าวจะทำพินัยกรรมด้วยวาจาก็ได้ โดย

                (๑) ผู้ทำพินัยกรรมต้องแสดงความประสงค์จะทำพินัยกรรมต่อหน้าพยาน ๒ คนพร้อมกัน ซึ่งอยู่ ณ ที่นั้น

                (๒) พยานทั้ง ๒ คนนั้นต้องไปแสดงตัวต่อผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอโดยไม่ชักช้า และแจ้งข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สั่งไว้ด้วยวาจานั้นทั้งต้องแจ้งวัน เดือน ปี สถานที่ที่ทำพินัยกรรม  และพฤติการณ์พิเศษด้วย

                (๓) ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอ ต้องจดข้อความที่พยานแจ้งดังกล่าว

                (๔) พยานทั้ง ๒ คน ต้องลงลายมือชื่อไว้ ถ้าเขียนชื่อตนเองไม่ได้จะลงลายพิมพ์นิ้วมือ

              ---------------------------------------------------------------------------------

คนไร้ความสามารถรับพินัยกรรมได้ไหม

คนไร้ความสามารถไม่สามารถทําพินัยกรรมได้เลย ไม่ว่าผู้อนุบาลจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ฝ่าฝืน : หากคนไร้ความสามารถทำพินัยกรรม พินัยกรรมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1704 วรรคหนึ่ง

คนเสมือนไร้ความสามารถทำนิติกรรมอะไรได้บ้าง

มาตรา ๓๔ “คนเสมือนไร้ความสามารถนัน ต้องได้รับความยินยอมของ ผู้พิทักษ์ก่อนแล้วจึงจะทําการอย่างหนึงอย่างใดดังต่อไปนีได้ (๑) นําทรัพย์สินไปลงทุน (๒) รับคืนทรัพย์สินทีไปลงทุน ต้นเงินหรือทุนอย่างอืน (๓) กู้ยืมหรือให้กู้ยืมเงิน ยืมหรือให้ยืมสังหาริมทรัพย์อันมีค่า (๔) รับประกันโดยประการใด ๆ อันมีผลให้ตนต้องถูกบังคับชําระหนี

การเป็นคนไร้ความสามารถเริ่มตั้งแต่เมื่อใด

เมื่อศาลสั่งให้บุคคลวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถ จะต้องโฆษณาค าสั่งในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบ การเป็นคนไร้ความสามารถนั้นเริ่มตั้งแต่วันที่ศาลมีค าสั่ง มิได้มีผลย้อนหลัง ขึ้นไปถึงวันที่เริ่มมีอาการวิกลจริต หรือวันยื่นคาร้องต่อศาล หรือมีผลตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

บุคคลไร้ความสามารถ มีอะไรบ้าง

คนไร้ความสามารถ คือ บุคคลวิกลจริต ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่ขาดความรู้สึกผิดชอบ มีอาการผิดปกติทางจิต ควบคุมสติไม่ได้ และขาดความรับผิดชอบอย่างรุนแรง เช่น โรคสมองฝ่อ โรคความจำเสื่อมอัลไซเมอร์ สมองเสื่อมขั้นรุนแรง สมองพิการ จิตไม่ปกติเป็นการถาวร ฟั่นเฟือน ประสาทหลอน บกพร่อง โรคเส้นเลือดในสมองตีบ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก