ความดันสูง กินอาหารทะเล ได้ ไหม

แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงดูแลสุขภาพโดยการปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารเสียใหม่ หันมารับประทานอาหารแดช (DASH Diet) หรืออาหารที่ช่วยให้ควบคุมความดันโลหิต ด้วยการลดปริมาณเกลือโซเดียม จากคำแนะนำของสมาคมโรคหัวใจแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา คนทั่วไปไม่ควรได้รับโซเดียมเกินวันละ 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเท่ากับเกลือแกงประมาณ 1 ช้อนชา

แต่สำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ไม่ควรได้รับเกินวันละ 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน โดยอาหารแดชจะแนะนำให้ผู้ป่วยลดการบริโภคเกลือโซเดียมในแต่ละมื้อ และรับประทานอาหารที่หลากหลายซึ่งอุดมไปด้วยสารโภชนาการสำคัญ อันมีสรรพคุณในการลดความดันโลหิต เช่น โพแทสเซียม แคลเซียม แมงกานีส เป็นต้น

8 ตัวอย่างอาหารลดความดันโลหิตสูง ได้แก่

ผักใบเขียว ผักใบเขียวมักมีโพแทสเซียมซึ่งเป็นสารอาหารที่ช่วยเไตขับโซเดียมออกมาผ่านทางปัสสาวะ และปรับปริมาณโซเดียมภายในร่างกายให้เกิดความสมดุล ทำให้ความดันโลหิตลดต่ำลงได้ โดยผักใบเขียวที่อุดมไปด้วยโพแทสเซียม เช่น ผักกาด คะน้า ปวยเล้ง เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคไตรุนแรงควรระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะหากร่างกายได้รับโพแทสเซียมในปริมาณมากอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ จึงควรปรึกษาแพทย์หรือนักโภชนาการก่อนเสมอ

ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เช่น บลูเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ เป็นต้น โดยเฉพาะบลูเบอร์รี่นั้นมีสารอาหารที่สำคัญอย่างสารฟลาโวนอยด์ (Flavoniods) ซึ่งมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งระบุว่า การบริโภคผลไม้ดังกล่าวอาจช่วยป้องกันความดันโลหิตสูง และลดระดับความดันโลหิตลง

นมพร่องมันเนยและโยเกิร์ต เป็นแหล่งแคลเซียมที่ดี และมีไขมันต่ำ โดยสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริการะบุไว้ว่า ผู้หญิงที่รับประทานโยเกิร์ต 5 หน่วยบริโภคขึ้นไปต่อสัปดาห์ อาจไปลดความเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ถึงร้อยละ 20 อย่างไรก็ตาม ควรตรวจสอบปริมาณน้ำตาลที่เติมลงไปบนฉลากบนบรรจุภัณฑ์ทุกครั้ง เนื่องจากการเติมน้ำตาลในปริมาณมากอาจกลายเป็นโทษต่อร่างกายแทน

เมล็ดพืชและถั่ว เมล็ดพืชอย่างเมล็ดทานตะวันหรือเมล็ดฟักทองแบบไม่โรยเกลือเต็มไปด้วยโพแทสเซียม แมกนีเซียม ใยอาหาร รวมถึงสารพฤกษเคมีต่าง ๆ ซึ่งช่วยลดความดันโลหิตได้ นอกจากนั้น ถั่วพิสตาชิโอยังถือเป็นอีกหนึ่งอาหารที่มีสรรพคุณในด้านนี้ด้วย

ปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง ปลาแซลมอนและปลาแมคเคอเรลอุดมไปด้วยโปรตีนและกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งอาจช่วยลดความดันโลหิต และลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด

ดาร์กช็อกโกแลต เป็นช็อกโกแลตที่ประกอบไปด้วยโกโก้กว่า 60 เปอร์เซ็นต์ และมีน้ำตาลน้อยกว่าปกติ จากการศึกษาวิจัย พบว่า ผู้บริโภคดาร์กช็อกโกแลตมีระดับความดันโลหิตตัวบนลดลงโดยเฉลี่ยถึง 3 มิลลิเมตรปรอท และระดับความดันโลหิตตัวล่างลดลงโดยเฉลี่ยถึง 2 มิลลิเมตรปรอท ดังนั้น ดาร์กช็อกโกแลตจึงอาจเป็นตัวเลือกหนึ่งที่ช่วยลดระดับความดันโลหิตลงได้ โดยควรบริโภคไม่เกิน 100 กรัมต่อวัน

น้ำมันมะกอก เป็นไขมันดีที่อุดมไปด้วยสารโพลีฟีนอล (Polyphenols) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่งที่อาจช่วยให้ผู้ป่วยมีความดันโลหิตลดลง อย่างไรก็ตาม แม้น้ำมันมะกอกจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยความดันโลหิตสูง แต่หากบริโภคมากจนเกินไปอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้

กระเทียม นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน โดยมีการค้นคว้าสรรพคุณในการลดความดันโลหิตของกระเทียมแล้วผลปรากฏว่า สมุนไพรดังกล่าวเพิ่มปริมาณสารไนตริกออกไซด์ในร่างกาย ซึ่งจะไปช่วยกระตุ้นหลอดเลือดให้เกิดการขยายตัว อาจส่งผลให้ความดันโลหิตลดลง

3 อาหารลดความดันโลหิตสูง ป้องกันเส้นเลือดสมองแตก

22 พ.ย. 65 (11:12 น.)แสดงความคิดเห็น

กก

Add @Sanook.com

สนับสนุนเนื้อหา

ความดันโลหิตสูง เป็นอาการหนึ่งที่เป็นจุดเริ่มต้นของอีกหลายๆ โรค และมักมีสาเหตุสำคัญๆ มาจากพฤติกรรมการทานอาหาร และการใช้ชีวิตของเรา หากใครที่ชอบทานอาหารเค็ม และอาหารที่มีไขมันสูง ก็มีสิทธิ์เป็นโรคความดันโลหิตสูงได้แล้วล่ะค่ะ ยิ่งไปกว่านั้นหากมีความเครียดสะสม และไม่ปรับพฤติกรรมในการทานอาหาร ก็จะยิ่งมีอาการหนักจนอาจก่อให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะสำคัญๆ อย่าง หลอดเลือด หัวใจ และสมองได้

ดังนั้น ก่อนที่จะสายเกินไปจนรักษาได้ยาก เรามาเริ่มทานอาหารที่ช่วยลดความดันโลหิตสูงกันดีกว่า

โรคความดันโลหิตสูง หรืออาจเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า ภาวะความดันโลหิตสูง เป็นอีกหนึ่งโรคที่สามารถพบได้บ่อยในวัยผู้ใหญ่ ซึ่งอาจพบได้มากถึงประมาณ 25% - 30% ของประชากรโลกที่เป็นผู้ใหญ่ทั้งหมด โดยพบในผู้ชายได้บ่อยกว่าผู้หญิง อีกทั้งในบางประเทศยังสามารถพบโรคความดันโลหิตสูงได้ถึง 50% ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่พบโรคนี้เด็ก เพราะผู้ที่มีอายุน้อยก็อาจมีโอกาสเกิดได้เช่นกัน

โรคความดันโลหิตสูง เกิดขึันได้อย่างไร ?

ในทางการตรวจรักษาได้มีการตรวจพบ โรคความดันโลหิตสูง ชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งเชื่อว่าอาจเกิดมาจากหลายปัจจัยร่วมกัน โดยมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดโรคนี้ คือ อิทธิพลของเอ็นไซม์ ที่เป็นสารเคมีที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมีต่างๆ มีชื่อเรียกว่า เรนิน (Renin) และฮอร์โมนแองจิโอเท็นซิน (Angiotensin) จากไต โดยสารทั้งสองตัวนี้จะทำงานร่วมกันกับต่อมหมวกไตแบะต่อมใต้สมองในการควบคุมน้ำ เกลือแร่โซเดียม และการบีบตัวของหลอดเลือดในร่างกายทั้งหมด นั้นก็เป็นการควบคุมความดันโลหิตที่มีชื่อเรียกว่า กระบวนการ Renin-Angiotensin system

นอกจากความผิดปกติจากกระบวนการทำงานดังกล่าวแล้ว ก็ยังมีกลไกที่เอื้อให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้อีก ดังนี้

  • พันธุกรรม เนื่องมาจากมีการตรวจพบโรคความดันโลหิตสูงมากขึ้นในประวัติครอบครัวที่เป็นโรคนี้

  • เชื้อชาติ โดยมีการตรวจพบผู้ที่เป็นโรคนี้ในคนที่มีเชื้อชาติเป็นอเมริกันผิวดำ

  • การกินอาหารเค็ม ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคความดันสูงได้ เนื่องมาจากว่าเกลือ โซเดียม หรือเกลือทะเลจะเป็นตัวอุ้มน้ำในเลือด โดยจะเข้าไปเพิ่มปริมาตรของเลือดที่ไหลเวียน จึงอาจส่งผลให้เกิดภาวะความดันสูงขึ้นได้

  • ความผิดปกติของกระบวนการทำงานในร่างกายที่ส่งผลต่อสมดุลและการทำงานของเกลือแร่ ตลอดจนแคลเซียมในร่างกาย 

โรคความดันโลหิตสูงมีอาการอย่างไร ?

เท่าที่มีการพบ จะเห็นได้ว่า โรคความดันโลหิตสูง นั้นมักเป็นโรคที่ไม่มีอาการใดๆ บ่งบอก เมื่อเกิดโรคนี้แล้วมักเป็นเรื้อรัง รุนแรงหากว่าไม่สามารถควบคุมอาการที่เกิดขึ้นได้ แพทย์บางท่านจึงได้ขนาดนามว่า โรคความดันโลหิตสูง นั้นเป็น เพรฆาตเงียบ (Silent Killer) ซึ่งโดยส่วนใหญ่ อาการที่เกิดจากการเป็นโรคความดันโลหิตสูงมักเป็นอาการที่เกิดข้างเคียงจากการเป็นโรคในกลุ่มต่างๆ ดังนี้ …

  • โรคร้ายแรง ได้แก่ โรคหัวใจ , โรคหลอดเลือดในสมอง
  • โรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ โรคเบาหวาน , โรคอ้วน
  • โรคที่เป็นสาเหตุ ได้แก่ โรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง (มีอาการปวดศีรษะและดวงตามองเห็นภาพได้ไม่ชัด) 

อาหารลดความดันสูง

  1. ผัก และผลไม้ที่มีโพสแทสเซียมสูง เพราะโพแทสเซียมจะช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติได้ ผัก และผลไม้ที่มีโพแทสเซียม ได้แก่ ลูกพรุน ลูกเกด เมล็ดทานตะวัน อินทผาลัม ผักโขม เห็ด กล้วย ส้ม แต่ใครที่เป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโพแทสเซียมสูงนะคะ
    ผลไม้ที่มีโพสแทสเซียมสูง
  2. ธัญพืชต่างๆ โดยเฉพาะถั่ว โดยอาจเลือกธัญพืชที่อบแห้งแบบไม่อบเกลือ (โซเดียมจะได้ไม่หนัก) นอกจากจะช่วยลดความดันโลหิตสูงแล้ว ยังมีไขมันดีที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลในร่างกายอีกด้วย แต่ต้องทานในระดับพอดีๆ เพราะธัญพืชก็ให้พลังงานอยู่เหมือนกันนะ ถ้ากะปริมาณไม่ถูกก็ทานประมาณ 1 กำต่อวันค่ะ
    ธัญพืชต่างๆ โดยเฉพาะถั่ว
  3. อาหารคลีน หมายถึงอาหารที่ปรุงด้วยวิธีที่ใช้ไขมันต่ำ แป้งไม่ขัดสี เช่นข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท และผ่านการปรุงรสน้อยๆ หากทานอาหารคลีนเป็นประจำ จะช่วยลดปริมาณโซเดียมในร่างกาย และช่วยลดความดันโลหิตได้ในระยะยาว
    อาหารคลีน

นอกจากอาหารที่ควรทานแล้ว ยังมีอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เพื่อป้องกันไม่ให้ระดับของความดันโลหิตสูงไปกว่าเดิมด้วยคือ

  1. แอลกอฮอล์

  2. กาแฟ ชา และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

  3. อาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อสัตว์ทอด แกงกะทิ ผัดพริกแกง 

โรคความดันสูงจะรุนแรงและมีผลข้างเคียงหรือไม่

หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า โรคความดันสูง นั้นเป็นโรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังในที่นี่หมายถึงโรคที่รักษาให้หายยาก แต่ยังอยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้เสมอหากว่ามีการควบคุมอาการมาตั้งแต่ต้น ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงกินยาอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ไม่ขาดยา

ในทางตรงกันข้าม หากผู้ป่วยดูแล รักษา และควบคุมอาการของโรคที่เกิดขึ้นได้ไม่ดี ผลที่จะเกิดตามมานั้นมักจะรุนแรง จนเป็นเหตุให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา อาทิ โรคหลอดเลือดหัวใจ , โรคหลอดเลือดสมอง , โรคไตเรื้อรัง ที่อาจทำให้พิการและเสียชีวิตได้ นอกจากนั้นก็อาจจะมีเป็นโรคหลอดเลือดของจอตาและของประสาทตาที่ส่งผลให้ตาบอดได้ 

เพื่อให้เข้าใจความเป็นไปของโรคความดันสูงได้มากขึ้น สามารถแบ่งออกเป็นระยะตามความรุนแรงของโรค จากน้อยไปหามากได้ดังนี้

  • ความดันโลหิตในผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นโรคความดันสูง คือ 120-139/80-89 มม.ปรอท มีแนวทางการรักษาโดยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต แต่แพทย์จะยังคงไม่ให้ยาลดความดันโลหิต

  • โรคความดันสูงระยะที่ 1 ที่ความดันโลหิตจะอยู่ในช่วง 140-159/90-99 มม.ปรอท

  • โรคความดันสูงระยะที่ 2 ที่ความดันโลหิตอยู่ในระดับตั้งแต่ 160/100 มม.ปรอทขึ้นไป

  • โรคความดันสูงที่จะต้องเดินทางไปพบแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมง คือ ความดันโลหิตสูงตั้งแต่ 180/110 มม.ปรอทขึ้นไป เพราะอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ทำให้เกิดโรคหัวใจ สมอง ไต ล้มเหลว

  • โรคความดันสูงที่จะต้องพบแพทย์ฉุกเฉิน ที่ความดันโลหิตจะอยู่ในระดับตั้งแต่ 220/140 มม.ปรอทขึ้นไป เพราะการเกิดความดันโลหิตสูงในระดับนี้มักจะเป็นอันตรายถึงชีวิตซึ่งมาจากการล้มเหลวของอวัยวะต่างๆ  ภายในร่างกาย เช่น หัวใจ สมอง และไต

หากอยากลดโรคความดันโลหิตให้เห็นผลเร็วขึ้นอีกนิด ปรับพฤติกรรมในการทานอาหารแล้ว ต้องปรับพฤติกรรมในการใช้ชีวิตด้วย ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และทำจิตใจเบิกบาน ผ่อนใส ไม่เครียด เท่านี้ร่างกายก็แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนแล้วล่ะค่ะ

โหลดเพิ่ม

ขอขอบคุณ

ข้อมูล :whatdidsheeat.in.th,pharmacy.mahidol.ac.th

ภาพ :iStock

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ความดันโลหิตสูงสุขภาพกายโภชนาการความดันโลหิตความดันสูงอาหารลดความดันอาหารลดความดันโลหิตสูงโรคความดันโลหิตสูงความดันอาหารดูแลสุขภาพสุขภาพอาหารเพื่อสุขภาพโรคหัวใจเส้นเลือดในสมองแตก

โรคความดันโลหิตสูงกินอาหารทะเลได้ไหม

หอยหลอดเป็นอาหารทะเลที่มีคุณค่า และเหมาะกับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง สามารถใช้เป็นอาหารรักษาและบำบัดผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ ปลิงทะเลกับสาหร่ายทะเล สามารถลดความดันโลหิตได้ด้วยเช่นกัน และยังช่วยในการบำรุงความเสื่อมโทรมของร่างกายอีกด้วย

ความดันสูงกินเห็ดได้ไหม

ฤทธิ์ในการลดความดันโลหิต เห็ดมีแร่ธาตุโพแทสเซียมซึ่งมีผลต่อการปรับสมดุลของโซเดียมในร่างกาย การรับประทานเห็ดในปริมาณที่เหมาะสมจึงสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้

ความดันกินกะทิได้ไหม

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เมนูแกง - ต้มยำปลาทูสด - แกงกะทิปลาสลิดใบมะขามอ่อน - ขนมจีนน้ำยาป่า + ผักสด + ไข่ต้ม จริง ๆ แล้ว แกงกระทิก็รับประทานได้นะคะ แต่อย่าบ่อยจนเกินไป และที่สำคัญคืออย่าปรุงรสจัด เพราะผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควรต้องระมัดระวังเรื่องโซเดียมในอาหารให้มาก

ความดันสูงกินปลาแซลม่อนได้ไหม

ปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง ปลาแซลมอนและปลาแมคเคอเรลอุดมไปด้วยโปรตีนและกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งอาจช่วยลดความดันโลหิต และลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก