หู ฟัง ออก กํา ลังกา ย ครอบหู

1. รหัสส่วนลดนี้จะถูกส่งไปยัง e-mail ที่ท่านลงทะเบียนไว้

2. ไม่สามารถใช้รหัสส่วนลดที่ได้รับ กับ สินค้าอื่นที่ไม่ได้ร่วมรายการโปรโมชั่นนี้ได้

3. รหัสส่วนลดจะมีอายุการใช้งานเพียง 1 ชั่วโมง ในกรณีที่ไม่ได้เปิดใช้งานเป็นส่วนลด จะถูกตัดออกจากระบบทันที

อยากได้หูฟังบลูทูธแบบครอบหูใส่สำหรับเล่นเวท มีใครแนะนำได้มั้งค่ะ

อยากได้หูฟังบลูทธแบบครอบหูอ่ะค่ะ ไม่มีความรู้ใดๆเลยเครื่องหูฟังแบบนี้เลย
อยากได้เพราะความเก๋ล้วนๆ คุณสมบัติของหูฟังที่อยากได้
1. เคลื่อนไหวร่างกายแบบเบาๆแล้วไม่หลุด เช่นเล่นเวท
2. เก็บเสียงเพลงที่ฟังไม่ให้ออกไปหาเพื่อนที่เล่นเวทข้างๆได้ (เพราะเค้าไม่น่าใช่แนวเพลง k-pop เท่าไร)
3. ครอบหูซัก 3 ชั่วโมงแล้วหูไม่ทรมานเท่าไร เพราะเล่นเวทไม่เกิน 2 ชมอยู่แล้วค่ะ
4. ราคาไม่เกิน 5 - 6 พันค่ะ
5. น้ำหนักเบาก็จะดีมากกกกก

ขอแหล่งที่ซื้อด้วยนะคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

หูฟังออกกำลังกายในอุดมคติควรเป็นแบบไหน?

ปฎิเสธไม่ได้ว่าการฟังเพลงระหว่างการออกกำลังกายนั้น นอกจากจะทำให้สนุกกับการจับจังหวะในการออกท่วงท่าได้มากขึ้นแล้ว ยังมีส่วนช่วยในการเผาผลาญแคลอรี่ที่มากขึ้นได้อีกด้วย เพราะร่างกายของมนุษย์เราจะพยายามจะเคลื่อนไหวให้สอดคล้องกับจังหวะของดนตรีอยู่ตลอด ซึ่งทำให้อัตราการเต้นของหัวใจนั้นมากขึ้นตามลำดับส่งผลให้การมีการเผาเผลาญแคลอรี่ที่สูงขึ้น โดยในอดีตเมื่อหลายสิบปีก่อนก็มีการใช้งานอุปกรณ์เครื่องเสียงอย่างลำโพงหรือเครื่องแผ่นซีดีในการเปิดเพลงควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป หูฟังออกกำลังกาย  ก็เริ่มเป็นที่นิยมสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปมากขึ้น ด้วยความสะดวกในหลายๆ เรื่อง ทั้งการพกพาที่เมื่อตัวหูฟังมีขนาดเล็กก็สามารถพกพาได้สะดวกขึ้น

การเชื่อมต่อที่มีทั้งไร้สายและมีสายโดยเฉพาะการเชื่อมต่อแบบไร้สายที่ทำให้เคลื่อนไหวได้สะดวก และเป็นไปดังใจต้องการมากขึ้นไม่ต้องกังวลว่าสายจะพันกันเมื่อต้องเคลื่อนไหวไปมา เสียงที่ทรงพลังมากขึ้นฟังได้สนุกในระดับเดียวกับหูฟังที่ออกแบบมาสำหรับฟังเพลงโดยเฉพาะ แบตเตอรี่ที่ใช้งานได้ยาวนานใส่ออกกำลังกายได้ยาวๆ ไม่ต้องมาคอยกังวลเรื่องชาร์จ และที่ขาดไม่ได้คือมาตรฐานกันน้ำกันเหงื่อไปจนถึงกันฝุ่นที่แน่นอนว่าเมื่อออกกำลังกายก็ย่อมมีเหงื่อ ซึ่งเหงื่อก็เป็นน้ำหรือของเหลวชนิดหนึ่งที่อาจทำอันตรายหูฟังออกกำลังกายตัวโปรดได้ ดังนั้นหากถามว่า หูฟังออกกำลังกายในอุดมคติควรเป็นแบบไหน? ก็ตอบได้เลยว่าควรประกอบไปด้วยความสามารถหลักๆ 5 ข้อได้แก่

  • - สวมใส่ได้ง่าย สบายหู และเมื่อสวมใส่แล้วควรมีความกระชับไม่หลุดหรือเคลื่อนง่ายๆ จากการเคลื่อนไหวที่รุ่นแรงไปมา

  • - การเชื่อมต่อที่ควรเป็นไร้สาย โดยเฉพาะ True Wireless เพราะเมื่อไม่มีสายมากวนใจก็สามารถทำให้ขยับตัวหรือเคลื่อนไหวได้สะดวกไร้กังวล

  • - การควบคุมที่ง่ายดายเพียงปลายนิ้วสัมผัส ไม่ต้องคลำหาปุ่มเพื่อกด เพื่อให้สามารถเปลี่ยนและควบคุมเพลงได้ในขณะที่กำลังออกกำลังกายอยู่และจะได้ไม่เสียจังหวะ

  • - แบตเตอรี่ที่ใช้งานได้ต่อเนื่อง อย่างน้อง 3-4 ชั่วโมงขึ้นไป เพราะการออกกำลังกายแต่ละครั้งจำเป็นต้องใช้เวลา หากแบตเตอรี่หมดกลางคันก็อาจจะทำให้ต้องหยุดออกกำลังกายเพื่อมาชาร์จจนเสียงจังหวะได้

  • - มาตรฐานกันน้ำกันเหงื่ออย่างน้อยขั้นต่ำที่ IPX4 เพราะขณะออกกำลังกายปฏิเสธไม่ได้เลยว่าย่อมต้องมีเหงื่อออก ซึ่งเหงื่อพวกนี้สามารถทำอันตรายตัวหูฟังได้ และถ้าเป็นไปได้ถ้า หูฟังออกกำลังกาย มาพร้อมมาตรฐานกันน้ำสูงๆ ก็ยิ่งดีเพราะจะได้สามารถล้างน้ำเพื่อเอาเหงื่อที่อาจกัดกร่อนตัวหูฟังออกไปได้ด้วย

การเลือกซื้อ หูฟังออกกำลังกาย ควรคำนึงถึงอะไร

การจะเลือกซื้อ หูฟังออกกำลังกาย หากเป็นไปได้ก็ควรจะคำนึงถึงอุดมคติตามที่กล่าวไปข้างต้นเป็นสำคัญ ที่จะทำให้นอกจากจะใช้เงินไปอย่างคุ้มค่าแล้ว ตัวหูฟังก็จะอยู่กับเราไปได้อีกนานหลายปี ไม่ต้องมาคอยซื้อหรือเปลี่ยนบ่อยๆ อีกด้วย และหากคุณกำลังมองหา หูฟังออกกำลังกาย ดีๆ สักรุ่นและกำลังคิดจะซื้อ สิ่งที่ควรคำนึงถึงก็จะมีดังนี้

  1. 1. การสวมใส่ : เลือกให้แน่ใจว่าชอบสวมใส่แบบใด เพราะในปัจจุบันมีให้เลือกมากมายทั้ง In-Ear, Earbud, Over-Ear และ On-Ear ให้เลือกการสวมใส่ที่รู้สึกสบายที่สุด รวมถึงสวมใส่และเมื่อคุณเคลื่อนไหวออกกำลังกายแล้วจะไม่หลุดหรือเคลื่อนง่ายๆ เพราะแต่ละคนก็มีการสวมใส่ที่ชอบไม่เหมือนกัน บางคนชอบ In-Ear บางคนชอบ On-Ear นั่นเอง

  2. 2. มาตรฐานกันน้ำ : จริงๆ หูฟังทุกชนิดถ้ามาพร้อมมาตรฐานกันน้ำกันเหงื่อก็จัดได้ว่าเป็น หูฟังออกกำลังกาย แทบทั้งสิ้น ดังนั้นหากต้องเลือกซื้อ หูฟังออกกำลังกาย ดีๆ สักตัวก็ขอให้เลือกมาตรฐานกันน้ำ IPXX ที่สูงๆ เอาไว้ เพราะนั่นหมายความว่ายิ่งมาตรฐานกันน้ำสูงก็ยิ่งป้องกันน้ำที่จะมาทำอันตรายได้หลายรูปแบบมากขึ้น โดยแนะนำให้ขั้นต่ำควรอยู่ที่ IPX4 แต่ถ้าระดับที่ใช้งานได้สบายๆ ล้างเหงื่อได้ก็แนะนำให้เลือกเป็นหูฟังที่มาพร้อมมาตรฐานกกันน้ำ IPX7 ขึ้นไปจะดีที่สุด

  3. 3. การเชื่อมต่อ : ด้านการเชื่อมต่อของ หูฟังออกกำลังกาย นั้นมีทั้งแบบมีสายและแบบไร้สาย ซึ่งถ้าให้แนะนำตามความสะดวกสบายก็ขอแนะนำเป็นการเชื่อมต่อแบบไร้สายจะดีที่สุดโดยเฉพาะ หูฟัง True Wireless เพราะตัวหูฟังจะปราศจากสายโดยสิ้นเชิงทำให้สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมออกกำลังกายแบบใดก็ตาม ไม่ต้องมาคอยกังวลเรื่องสายพันกัน หรือสายจะกีดขวางการขยับหรือเคลื่อนไหวร่างการ

  4. 4. แบตเตอรี่ : เป็นอีกข้อที่ควรคำนึงถึงเพราะระยะการใช้งานก็มีคนด้วยเช่นกัน เนื่องจากในการออกกำลังกายแต่ละครั้งจำเป็นต้องใช้เวลาเพื่อทำให้ร่างกายเผาผลาญ ดังนั้นหาก  หูฟังออกกำลังกาย มีแบตเตอรี่ที่น้อยเกินไปก็อาจจะทำให้การออกกำลังกายติดขัดได้ เพราะยังไม่ทันเสร็จก็จะต้องหยุดเพื่อมาชาร์จแบตเตอรี่ ดังนั้นทางที่ดีควรมองหา หูฟังออกกำลังกาย ที่มีระยะการใช้งานอย่างน้อย 4 ชั่วโมงขึ้นไปจะดีที่สุด

  5. 5. ราคา : ข้อนี้อยู่ที่งบของแต่ละคน เพราะในปัจจุบันมี หูฟังออกกำลังกาย ให้เลือกมากมายหลายรุ่นและหลายราคาด้วยกัน ตั้งแต่ราคาเบาๆ หลักพันไปจนถึงหลักหมื่น ทั้งนี้ควรพิจารณาจาก 4 ข้อข้างต้นจากนั้นจึงพิจารณาว่างบที่มีเพียงพอหรือไม่ ถ้ามีปัญหาหรืองบน้อยก็ควรเลือกรุ่นที่ราคาเบาๆ แต่ถ้างบไม่จำกัดก็เลือกซื้อรุ่นที่มีราคาพรีเมียมได้เลย เพราะนอกจากจะมาพร้อมฟังก์ชันครบครันแล้วแน่นอนว่าความหรูหราและวัสดุต้องไม่เป็น 2 รองใคร นอกจากจะใส่ออกกำลังกายได้แล้วยังถือเป็นเครื่องประดับอีกชิ้นหนึ่งได้อีกด้วย

คุณสมบัติการกันน้ำ กันเหงื่อของหูฟังออกกำลังกายเป็นอย่างไร

สำหรับคุณสมบัติกันน้ำกันเหงื่อบน หูฟังออกกำลังกาย ก็คือความสามารถในการป้องกันไม่ให้น้ำ เหงื่อ หรือของเหลวต่างๆ ซึมเข้าไปทำอันตรายวงจรอิเลคโทรนิคส์ใดๆ ของตัวหูฟัง โดยยิ่งมาตรฐาน IPXX ตัว X ด้านหลังเลขสูงเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีความสามารถในการป้องกันน้ำได้มากขึ้นเท่านั้น ทำให้เมื่อต้องการเลือกซื้อ หูฟังออกกำลังกาย จึงควรเลือกซื้อรุ่นที่มีมาตรฐานกันน้ำสูงๆ ซึ่งแบ่งระดับการกันน้ำได้ดังนี้

IPXX ให้สังเกตุเลขตำแหน่งตัว X หลังสุด

  • 0 : ไม่มีการป้องกันน้ำ

  • 1 : ป้องกันหยดน้ำที่ตกกระทบจากแนวดิ่ง

  • 2 : ป้องกันหยดน้ำที่ตกกระทบจากแนวเฉียง 15 องศาจากแนวดิ่ง

  • 3 : ป้องกันหยดน้ำที่ตกกระทบจากแนวเฉียง 60 องศาจากแนวดิ่ง

  • 4 : ป้องกันหยดน้ำที่ตกกระทบได้ทุกทิศทาง

  • 5 : ป้องกันหยดน้ำที่ฉีดใส่ได้ทุกทิศทาง

  • 6 : ป้องกันหยดน้ำที่ฉีดใส่อย่างรุนแรงได้ทุกทิศทาง

  • 6K : ป้องกันหยดน้ำที่ฉีดแรงดันสูงได้ทุกทิศทาง

  • 7 : ป้องกันน้ำเข้าภายในเมื่อแช่อุปกรณ์ลงน้ำความลึกสูงสุด 1 เมตร เป็นเวลาสูงสุด 30 นาที

  • 8 : ป้องกันน้ำเข้าภายในเมื่อแช่อุปกรณ์ลงน้ำได้ถาวร

หูฟังออกกำลังกาย มีกี่ประเภท

หากจะแบ่งประเภทของ หูฟังออกกำลังกาย ก็จะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักใหญ่ๆ นั่นคือแบ่งตามการเชื่อมต่อ และแบ่งตามการสวมใส่ ซึ่งด้านการเชื่อมต่อก็จะแบ่งออกเป็น

  • หูฟังออกกำลังกายมีสาย

  • หูฟังออกกำลังกายไร้สาย

ส่วนการแบ่งตามลักษณะการสวมใส่ก็จะแบ่งย่อยได้อีก 4 ประเภทคือ

  • หูฟังออกกำลังกาย In-Ear

  • หูฟังออกกำลังกาย Earbud

  • หูฟังออกกำลังกาย Over-Ear

  • หูฟังออกกำลังกาย On-Ear

ซึ่งจริงๆ แล้วการแบ่ง หูฟังออกกำลังกาย ออกจากหูฟังทั่วๆ ไปนั้นทำได้ง่ายมากๆ เพราะเพียงแค่หูฟังนั้นๆ มาพร้อมมาตรฐานกันน้ำกันเหงื่อก็เรียกได้ว่าเป็น หูฟังออกกำลังกาย แล้วเพราะเมื่อกันน้ำกันเหงื่อก็หมายความว่าสวมใส่ออกกำลังกายได้ไม่ต้องกลัวเหงื่อนั่นเอง

ระบบตัดเสียงรบกวนในหูฟังออกกำลังกาย ช่วยให้การออกกำลังกายดีขึ้นอย่างไร

และอีกหนึ่งฟังก์ชันยอดนิยมของหูฟังในยุคนี้นั่นก็คือฟังก์ชันตัดเสียงรบกวน ที่ต้องบอกเลยว่ามีส่วนช่วยในเรื่องการทำสมาธิขณะออกกำลังกายไม่มากก็น้อย เพราะบางครั้งการวิ่งในสวนสาธารณะหรือการใส่ออกกำลังกายในยิมก็อาจจะมีเสียงรบกวนจากรถริมถนน, บุคคลรอบข้าง, หรือเสียงคุยและเสียงต่างๆ ที่ดังวุ่นวายทำให้เราเสียสมาธิไม่สามารถจดจ่ออยู่กับการออกกำลังกายนั้นๆ ได้ ฟังก์ชันตัดเสียงรบกวนจึงเข้ามาทำให้เสียงรบกวนเหล่านี้หายไป คงเหลือแต่เพียงเสียงเพลงทำให้สามารถจับจังหวะการออกกำลังกายและยังทำให้สามารถจดจ่อกับการออกกำลังกายได้มากขึ้น ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า หูฟังออกกำลังกาย ที่มาพร้อมฟังก์ชันตัดเสียงรบกวนเป็นสิ่งที่ช่วยให้การออกกำลังกายเป็นไปได้อย่างราบรื่นจริงๆ

จำเป็นหรือไม่ที่ต้องมีระบบดูดเสียงรอบข้างใน หูฟังออกกำลังกาย

ต่อจากฟังก์ชันตัดเสียงรบกวน อีกฟังก์ชันที่มักจะมาด้วยกันก็คือฟังก์ชันดูดเสียงรอบข้าง ที่ฟังก์ชันนี้ต้องบอกเลยว่ามีความจำเป็นเป็นอย่างมากแม้จะมีหรือไม่มีฟังก์ชันตัดเสียงรบกวนก็ตาม เพราะการรับเสียงจากรอบข้างเข้ามาโดยไม่ต้องถอดหูฟังออกนั้นช่วยทำให้การใช้งาน หูฟังออกกำลังกาย ขณะวิ่งอยู่บริเวณริมถนนหรือบริเวณสวนต่างๆ นั้นมีความปลอดภัยมากขึ้น เนื่องจากการสวมใส่ หูฟังออกกำลังกาย In-Ear หรือ Over-Ear จะปิดกั้นเสียงจากสภาพแวดล้อมพอสมควรและยิ่งเมื่อเปิดเพลงไปด้วยจึงทำให้ไม่สามารถได้ยินเสียงจากรอบข้าง

นั่นหมายความว่าหากวิ่งอยู่ริมถนนแล้วมีรถยนต์พุ่งเข้ามาผู้ใช้งานก็จะไม่รู้ตัวทำให้เกิดอันตรายได้ รวมถึงหากใช้งานอยู่ในบริเวณที่เปลี่ยวก็อาจจะทำให้ถูกดักปล้นหรือทำร้ายได้โดยไม่รู้ตัว ฟังก์ชันรับเสียงจากภายนอกจึงควรมีขึ้นมาเพื่อใช้งานในสถานการณ์นั้นนั่นเอง และอีกประโยชน์ของฟังก์ชันนี้คือการทำให้ได้ยินเสียงประกาศและเสียงพูดของบุคคลรอบข้างโดยไม่ต้องถอดหูฟังออก หรือหยุดปิดเพลงเพื่อคุยสนทนาที่อาจจะทำให้การออกกกำลังกายต้องเสียจังหวะอีกด้วย

หูฟังมีสายถือว่าเป็น หูฟังออกกำลังกาย หรือไม่

ตามที่ได้กล่าวเอาไว้ในส่วนของประเภทของหูฟังออกกำลังกาย นั่นก็คือหูฟังทุกประเภทนั้นเพียงมีฟังก์ชันกันน้ำกันเหงื่อมาตรฐาน IPXX ต่างๆ หรือสามารถกันน้ำได้เท่านี้ก็นับเป็น หูฟังออกกำลังกาย แล้ว ดังนั้นแม้จะเป็นหูฟังมีสายแต่หากมากพร้อมมาตรฐานกันน้ำกันเหงื่อเท่านี้ก็นับเป็น หูฟังออกกำลังกาย แล้ว สามารถใส่ออกกำลังกายได้ เพียงแต่อาจจะมีส่วนของสายที่เกะกะในการใช้งานบ้างเล็กน้อยเท่านั้น

แนะนำหูฟังออกกำลังกาย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก