ลักษณะทั่วไปของสังคมไทยในปัจจุบัน

วัตถุประสงค์ทั่วไป 
      1. รู้จักลักษณะที่ีสำคัญของสังคมไทย
      2. เข้าใจลักษณะเด่นของสังคมไทย
      3. เข้าใจการเปรียบเทียบลักษณะแตกต่างระหว่างสังคมชนบทกับสังคมเมือง    

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
      1. อธิบาย ลักษณะที่ีสำคัญของสังคมไทยได้
      2. ยกตัวอย่าง ลักษณะเด่นของสังคมไทย ได้
      3. เปรียบเทียบลักษณะแตกต่างระหว่างสังคมชนบทกับสังคมเมืองได้     

เนื้อหาสาระ 
      สังคมไทย เป็นสังคมเกษตรกรรม มีโครงสร้างแบบหลวม ๆ มีหลากหลายในเรื่องชาติพันธ์ ศาสนา และ
วัฒนธรรม แต่ สามารถผสมผสานกันได้อย่างกลมกลืน จนเป็นสังคมที่มีลักษณะเฉพาะ รักอิสระ ยึดมั่น
ในสถาบันศาสนา พระมหากษตริย์ มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ยอมรับ
ในระบบอาวุโสและระบบอุปถัมภ์ ไม่นิยมความรุนแรง ชอบการประนีประนอมและใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย
ในปัจจุบันได้รับอธิพลจากสังคมต่างชาติ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในวิถีการดำเนินชีวิตบางประการ
โดยเฉพาะ ในสังคมเมือง

 ลักษณะทั่วไปของสังคมไทย 
     ลักษณะของสังคมไทย(The Characteristics of Thai Society) 
    เป็นสังคมที่บุคคลสามารถเลือกปฎิบัติในสิ่งที่ตนพอใจ ไม่ยึดถือว่าต้องปฎิบัติเป็นแบบเดียวกัน สังเกตได้
จาก ค่านิยมของคนไทยหลายประการที่ขัดกันเองเช่น " ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาท" ในขณะเดียวกันก็มีค่านิยมว่า
"น้ำขึ้นให้รีบตัก" หรือ "มือใครยาว สาวได้สาวเอา" เป็นการแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ที่ยึดมั่นในสิ่งใดหรือ
ไม่จริงจังต่อสิ่งใด ขอให้สบายก็แล้วกัน บุคคลจะทำตามความพอใจมากกว่าสังคม มีการยืดหยุ่น ไมีมีกฎตายตัว
แต่ก็ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง หรือถึงกับทำให้เดือดร้อนจนอยู่ในสังคมนี้ได

   สังคมไทย (Thai Society) จัดเป็นรูปแบบสังคมเกษตรกรรม
(Agratian Society) ประเภทมาณ ร้อยละ 80 ของประชากร
ทั่วประเทศทำการเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์ ระบบสังคมไทย
(Society system) อาจแบ่งเป็น 2 ระบบคือ
       - สังคมชนบท (Rural Society)
       - สังคมเมือง (Urban Society)
 ทั้งสองระบบนี้เป็นตัวกำหนดบทบาทหน้าที่ และวิถีชีวิต ของคน
ในสังคม
ไทยซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงน้อย จะเปลี่ยน แปลงน้อย
จะเปลี่ยนแปลงเฉพาะ ผู้อยู่ในเมืองเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งถือว่าเป็น
เพียงคน กลุ่มน้อย ของ สังคมไทย เพราะประชากรส่วนใหญ่จะอยู่
ในชนบททำ การเกษตร ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี
มีการศึกษา น้อยฐานะยากจน ไม่ค่อยยอมรับความคิดเห็นใหม่ ๆ
ยึดถือเงินตรา เกีย    รติ อำนาจ มีโครงสร้างของชนชั้น
ยกย่อง
ความเป็นเจ้าคนนายคน ยึดบุคคลเป็นหลัก ยกย่องผู้อาวุโส

ลักษณะที่สำคัญของสังคมไทย
       1. ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นอาชีพหลัก
       2. มีนิสัยประนีประนอม
       3. มีนิสัยพึ่งพาอาศัยกัน ให้ความสำคัญระบบอุปถัมภ์
       4. มีลักษณะนิสัยเรื่องเป็นเจ้าคนนายคน คือ ให้ความสำคัยกับลาภยศ
       5. มีความรักเทอดทูลพระมหากษัตริย์
       6. นับถือพุทธศาสนา
       7. ไม่มีความขัดแย้งทางด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรม


      ลักษณะเด่นของสังคมไทย
       จากลักษณะสำคัญของสังคมไทยที่กล่าวมาแล้ว พอสรุปลักษณะเด่นของสังคมไทยได้ดังนี้
       1. สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม ประชากรร้อยละ 80 เป็นเกษตรกร
       2. มีพระมหากษัตริย์เป็นศุนย์รวมจิตใจ ความรัก ความสามัคคี ของชาวไทย
       3. พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่คนไทยส่วนใหญ่นับนับถือ ประมาณร้อยละ 95 ส่วนศาสนาอื่นรองลงมา
คือ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู และศาสนาซิกข์
      4. มีการอพยพแรงงานเข้าสู่ตัวเมือง เนื่องจากภัยแล้ง ทำการเกษตรไม่ได้
      5. ประชาชนมีฐานะยากจน การศึกษาและโภชนาการยังอยู่ในระดับต่ำ
      6. ความเจริญส่วนใหญ่จะอยู่ในเมืองหลวงและเขตเมืองใหญ่
      7. ชอบความสนุกสนานรื่นเริง

       ลักษณะสังคมชนบทและสังคมเมือง 
      ลักษณะสังคมชนบท (Rural Society)
     
 บางทีเรียกว่า สังคมแบบชาวบ้าน (Folk Society) ซึ่งจัดว่ามีความสำคัญที่สุดในสังคมไทย เพราะเป็น
โครงสร้างหลักเกลือบทั้งหมดของประเทศไทย อันมีผลมาจากพฤติกรรมทั้งทางขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม พอสรุปเป็นข้อ ๆ ดังนี้

 

     1. ประชากรมีความสัมพันธ์แบบปฐมภูมิ ประชากรอยุู่ตามธรรมชาติ ไม่หนาแน่นมีการแข่งขันกันน้อย
สภาพการครองชีพต่ำ

      2. ส่วนใหญ่ยังประกอบอาชีพทางการเกษตร ทำให้ต้องพึ่งพาอาศัยแรงงานแลกเปลี่ยนกัน มีความใกล้
ชิดกัน จึงมีความสนิทสนมกัน

อาชีพเกษตรกร

     3. ลักษณะครอบครัวมีความสัมพันธ์กันแน่นแฟ้มเป็นหน่วยที่สำคัญทางเศษฐกิจช่วยกันทำงาน
ทำเครื่องมือ เครื่องใช้ทอผ้าเอง ทำอาหารเอง

      4. ชุมชนมักตั้งอยู่นอกเมือง เป็นหมู่บ้าน ตำบล กระจายอยู่ห่างกัน มีประชากรไม่หนาแน่น

     5. วัดและศาสนสถาน เป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีกรรมศาสนา ในสมัยก่อนวัดเป็นแหล่งความรู้ อบรม
บ่มนิสัย ปัจจุบันวัดก็ยังมีความสำคัญอยู่ไม่น้อย

     6. ส่วนใหญ่ยึดมั่นอยู่กับขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงง่าย ๆ มีชีวิตความเป็นอยู่
ที่เรียบง่าย

     7. ค่านิยมในเรื่องคุณงามความดีในทางศาสนา เป็นตัวควบคุมความประพฤติทางสังคม

        

  ลักษณะสังคมเมือง (Urban Society)

สังคมเมืองมีความแตกต่างจากสังคมชนบทมาก

    

 จัดว่าเป็นสังคมที่มีความซับซ้อน เป็นศูนย์กลางทางความเจริญ และความเสื่อมรวมอยู่ด้วย เมืองเป็น
สถานที่ตั้งถิ่นฐานอันถาวร หนาแน่นด้วยประชากร และเป็นที่รวมของคนที่มีความแตกต่างทางพื้นเพ ซึ่งอยู่ในเขตเมือง เทศบาล เป็นต้น สังคมเมืองมีลักษณะดังนี้
       1. ประชากรมีคว่ามสัมพันธ์กันแบบทุติยภูมิ ประชากรอยู่อย่างหนาแน่น มีการแข่งขันสูง มีชุมชน
อุตสาหกรรม ฐานัร่ำรวยและยากจนแตกต่างกัน
       2. มีอาชีพหลายหลาย ทั้งธุรกิจ การค้า ราชการ ลูกจ้าง อุตสาหกรรม อาชีพบริการ ฯลฯ 
ความสัมพันธ์
ของกลุ่มคนมีความผูกพันธ์กันน้อยมาก ต่างรักษาผลประโยชน์ของตนเอง 
       3. ครอบครัวมีความผูกพันน้อย เพราะความจำเป็นในเรื่องของเศษฐกิจ สมาชิกในครอบครัวมีภาระ
ต้องทำ ไม้่ค่อยมีเวลาให้แก่กัน อีกทั้งความผูกพันกับเพื่อนบ้านก็มีน้อย
      
4. ชุมชนตั้งอยู่ในเขตที่มีผู้อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นศูนย์กลางความเจริญ มีประชากรหนาแน่นกว่า
ชนบท มักเกิดปัญหาขึ้นในสังคมมากมาย
      5. วัดและศาสนสถานยังเป็นที่สักการะเครารพ
 แต่คนไทยในปัจจุบันเห็นสถาบันทางศาสนาเป็นเพียง
สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และสั่งวสอนหลักธรรม จริยธรรม แก่คนในสังคมเท่านั้น
      6. 
มีการละเมิดขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีที่ดีงาม รับอธิพลจากวัฒนธรรมตะวันตกสูง
      7. ค่านิยมจะเน้นหนักใรเรื่องอำนาจ ความมั่นคง การย่องย่องสังคมชั้นสูง และมีความต้องการในการ
เลื่อนชั้นทางสังคมสูง

ตารางเปรียบเทียบลักษณะของเมืองในอดีตและปัจจุบันของไทย

ลักษณะของเมือง

อดีต

ปัจจุบัน

ความหนาแน่น น้อย มาก
ความเป็นคนเมือง น้อย คิดถึงส่วนรวม มาก ตัวใครตัวมัน
ความสัมพันธ์ทางสังคม ไกล้ชิด แน่นแฟ้น ไม่ค่อยมั่นคง
ความหลายหลาย - มีอาชีพแตกต่างกันน้อย
- มีคนต่างเชื้อชาติน้อยมาก
-มีอาชีพหลายหลาย
- มีคนต่างเชื้อชาติมาก
ความเป็นศูนย์กลาง เป็นศูนย์กลางทางการเมือง
ทหาร การปกครอง ศาสนา
เป็นศูนย์กลางทางการเมือง ทหาร
การปกครอง ศาสนา การอุตสาหกรรม
การคมนาคมขนส่ง การติดต่อกับพวกอื่น
การศึกษา วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี

ที่มา : ปรัชญาพฤทธ์.การบริหารการพัฒนา : ความหมาย เนื้อหา แนวทางและปัญหา. หน้า 316. 
       จากปรากฎการณ์ทางสังคม จะพบว่า ปัจจุบันนี้โลกของการสื่อสารได้ก้าวไปไกลมาก ระบบข้อมูลข่าวสาร
การติดต่อเป็นไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้น จะพบว่า บริเวณที่อยู่ใกล้ ๆ กับเมือง หรือบริเวณที่ติดต่อกันสะดวก
ชุมชนจะเปลี่ยนสถาพชีวิตความเป็นอยู่แบบเมืองได้อย่างรวดเร็วเพราะการถ่ายทอดและการเผยแพร่ทาง
วัฒนธรรมเป็นไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต และวัฒนธรรมเลียนแบบตะวันตก
จึงเป็นเรื่องไม่ยากสำหรับคนยุคใหม่
 

สังคมไทยในปัจจุบันมีลักษณะเป็นอย่างไร

สังคมไทย (Thai Social) หมายถึง กลุ่มชนชาติที่อาศัยอยู่ร่วมกันในประเทศไทย มีขนบ ธรรมเนียมประเพณีแบบไทย มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นต่างจากสังคมอื่น ได้แก่ ภาษาพูด ภาษาเขียน การแต่งกาย ความเชื่อ มารยาท อาหาร การด าเนินชีวิตที่มีพุทธศาสนาเป็นพื้นฐาน เป็นต้น

ลักษณะของค่านิยมของสังคมไทยมีอะไรบ้าง

1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม 3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ 4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม

ลักษณะทั่วไปของสังคมมีอะไรบ้าง

6. ลักษณะทั่วไปของสังคม แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ ดังนี้ 1. สังคมเป็นนามธรรม (Abstractness of Society) 2. การพึ่งพาอาศัยกันมีอยู่ในสังคม (Interdependence in Society) 3. สังคมเกี่ยวข้องกับความเหมือนและความแตกต่างกัน (Society Involves Likeness and Difference) 4. สังคมมีทั้งการร่วมกันและการขัดแย้งกัน (Society Involves Both Co- ...

สังคมไทยในปัจจุบันมีแนวโน้มเป็นสังคมประเภทใด

2. แนวโน้มด้านสังคม มีลักษณะสำคัญดังนี้ 2.1 คนไทยมีการเปลี่ยนแปลงค่านิยมเรื่องของสิทธิสตรีมากขึ้น สตรีจะมีบทบาทในสังคมไทยมากขึ้น 2.2 แนวโน้มครอบครัวมีขนาดเล็กลง ความสัมพันธ์ในครอบครัวระบบเครือญาติลดลง หน้าที่การอบรมเลี้ยงดูบุตร หรือการขัดเกลาทางสังคมลดลง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก