อาหารและโภชนาการ ป ว ช จบมา ทำงาน อะไร

หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชา คหกรรม

ประเภทวิชา: คหกรรม
สาขาวิชา: อาหารและโภชนาการ
สาขางาน: อาหารและโภชนาการ

จุดประสงค์ สาขาวิชา อาหารและโภชนาการ

  1. เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะการคิดและการแก้ปัญหา และทักษะทางสังคมและการดำรงชีวิตในการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
  2. เพื่อให้มีความเข้าใจหลักการบริหารและจัดการวิชาชีพ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและหลักการของงานอาชีพที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการพัฒนาวิชาชีพอาหารและโภชนาการ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าของเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี
  3. เพื่อให้มีความเข้าใจในหลักการและกระบวนการทำงานในกลุ่มงานพื้นฐานด้านอาหารและโภชนาการ
  4. เพื่อให้สามารถวางแผนดำเนินงาน จัดการงานอาชีพด้านอาหารและโภชนาการตามหลักการและกระบวนการ
  5. เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานวิชาชีพด้านอาหารและโภชนาการ
  6. เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานด้านอาหารและโภชนาการในสถานประกอบการและประกอบอาชีพอิสระ รวมทั้งการใช้ความรู้และทักษะเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นได้
  7. เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัย เป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ต่อต้านความรุนแรงและสารเสพติด

มาตรฐานการศึกษาวิชาชีพ ด้านสมรรถนะวิชาชีพ

  1. วางแผน ดำเนินงาน จัดการและพัฒนางานอาชีพตามหลักการและกระบวนการ โดยคำนึงถึงการบริหารงานคุณภาพ การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และหลักความปลอดภัย
  2. ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่อพัฒนางานอาชีพ
  3. แสดงความรู้ในหลักการทฤษฎีของสาขาวิชาอาหารและโภชนาการอย่างกว้างขวาง
  4. ใช้หลักการจัดการและกระบวนการ วางแผน ดำเนินงาน จัดการงานอาชีพด้านอาหารและโภชนาการ
  5. ประกอบอาหาร แปรรูปอาหาร ตามหลักโภชนาการด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์
  6. พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารโดยใช้กระบวนการวิจัย
  7. พัฒนาอาชีพด้านอาหารและโภชนาการสู่มาตรฐานสากล
  8. คิด วิเคราะห์ เสนอแนวทางการแก้ปัญหาตามหลักการของงานอาชีพด้านอาหารและโภชนาการ
  9. ดูแลรักษาและเสริมสร้างสุขอนามัยในการจัดเตรียม ประกอบ เก็บรักษา ควบคุมคุณภาพอาหารตามมาตรฐานสากล
  10. ประยุกต์ ใช้ อุปกรณ์เครื่องมือและบำรุงรักษาพื้นที่สำหรับผลิตอาหาร โดยคำนึงถึงความประหยัดและความปลอดภัย
  11. มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีในการทำงานระหว่างผู้ร่วมงานและผู้รับบริการ

จุดประสงค์ สาขางาน อาหารและโภชนาการ

  1. วางแผน ควบคุมการดำเนินงานในการประกอบอาหาร การจัดตกแต่ง บรรจุภัณฑ์เก็บรักษา ตรวจสอบคุณภาพอาหารตามหลักการและกระบวนการสู่มาตรฐานสากล
  2. วางแผน ควบคุมการจัดจำหน่ายอาหารตามหลักการและกระบวนการ
  3. พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารตามหลักการและกระบวนการ
  4. เลือก ใช้ และหรือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการดำเนินงานด้านอาหารตามหลักการและกระบวนการ

เน้นการลงมือปฏิบัติจริง มุ่งเน้นการเรียนการสอนให้ตรงกับความต้องการของตลาดครัวโลก จบแล้วสามารถเรียนต่อปริญญาตรีกับมหาวิทยาลัยหลายแห่งทั้งในและต่างประเทศ และหากต้องการทำงาน มีโอกาสเข้ารับการพิจารณาเพื่อทำงานที่สถานประกอบการ ร้านอาหาร โรงแรม ทั้งในและกว่า 45 ประเทศทั่วโลก

มีการจัดการเรียนการสอนเป็น 2 ประเภทคือ

  1. หลักสูตรปกติ มีการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย
  2. หลักสูตร Mini English Program มีการจัดการเรียนการสอน สำหรับกลุ่มทักษะวิชาชีพ เป็นภาษาอังกฤษ

หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาคหกรรม สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ Co-Op (Co-Operative Education)

ประเภทวิชา: คหกรรม
สาขาวิชา: อาหารและโภชนาการ Co-Op
สาขางาน: อาหารและโภชนาการ Co-Op

จุดประสงค์

  1. เน้นการเรียนการสอนเชิงบูรณาการและเรียนปฏิบัติอาหารอย่างจริงจัง อย่างน้อย 1-2 คนต่อกลุ่ม
  2. มีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะด้านอาหารอย่างมืออาชีพ
  3. ฝึกงานกับร้านอาหารและโรงแรมชั้นนำในต่างประเทศ
  4. หลักสูตรมาตรฐานเทียบเท่าสถาบันฝึกสอนและการบริหารจัดการงานโรงแรมระดับโลก
  5. ห้องปฏิบัติการอาหารและอุปกรณ์การเรียนที่ครบวงจร ทันสมัย ได้มาตรฐานเดียวกับครัวระดับโลก
  6. ได้รับวุฒิการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จากกระทรวงศึกษาธิการ
  7. มีโอกาสทำงานในร้านอาหารและโรงแรมชั้นนำทั้งในประเทศและอีก 50 ประเทศทั่วโลกภายใต้สัญญาความร่วมมือกับวิทยาลัยฯ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น และจีน ฯลฯ
  8. มีโอกาสศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาชั้นนำทั้งในและต่างประเทศในเครือข่ายของวิทยาลัยฯ
  9. เป็นองค์กรรับรองมาตรฐานสาขาผู้ประกอบอาหารในร้านอาหารรายแรกในกรุงเทพฯ จากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคาร และร้านอาหาร
  10. เป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ จากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน

หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชา อุตสาหกรรมท่องเที่ยว

ประเภทวิชา: อุตสาหกรรมท่องเที่ยว
สาขาวิชา: การโรงแรม
สาขางาน: ครัวโรงแรม

จุดประสงค์ สาขาวิชา อาหารและโภชนาการ

เน้นการลงมือปฏิบัติจริง มุ่งเน้นการเรียนการสอนให้ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการการโรงแรมชั้นนำในและต่างประเทศ จบแล้วสามารถเรียนต่อปริญญาตรีกับมหาวิทยาลัยหลายแห่งทั้งในและต่างประเทศ และหากต้องการทำงาน มีโอกาสเข้ารับการพิจารณาเพื่อทำงานที่สถานประกอบการ ร้านอาหาร โรงแรม ทั้งในและกว่า 45 ประเทศทั่วโลก

เนื้อหาของหลักสูตร

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช 2557

ประเภทวิชา คหกรรม
สาขาวิชา อาหารและโภชนาการ
สาขางาน อาหารและโภชนาการ

ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชา คหกรรม สาขาวิชา อาหารและโภชนาการ สาขางาน อาหารและโภชนาการ
ภาษาอังกฤษ Vocational Diploma, Home Economics, Food and Nutrition

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็มภาษาไทย ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชา อาหารและโภชนาการ
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Vocational Diploma in Food and Nutrition
ชื่อย่อภาษาไทย ปวส. อาหารและโภชนาการ
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ Voc. Dipl. (Food and Nutrition)

จุดประสงค์ สาขาวิชา อาหารและโภชนาการ

  1. วางแผน ควบคุมการดำเนินงานในการประกอบอาหาร การจัดตกแต่ง บรรจุภัณฑ์เก็บรักษา ตรวจสอบคุณภาพอาหารตามหลักการและกระบวนการสู่มาตรฐานสากล
  2. วางแผน ควบคุมการจัดจำหน่ายอาหารตามหลักการและกระบวนการ
  3. พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารตามหลักการและกระบวนการ
  4. เลือก ใช้ และหรือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการดำเนินงานด้านอาหารตามหลักการและกระบวนการ

โครงสร้างหลักสูตร

ผู้สำเร็จการศึกษา จะต้องศึกษารายวิชาจากหมวดวิชาต่างๆ รวมไม่น้อยกว่า 83 หน่วยกิต และเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ดังโครงสร้างต่อไปนี้

วิชาปรับพื้นฐาน สำหรับรักศึกษาที่จบ ม.612 หน่วยกิต1. หมวดวิชาทักษะชีวิต21 หน่วยกิต 1.1 กลุ่มทักษะภาษาและการสื่อสาร9 หน่วยกิต1.2 กลุ่มทักษะการคิดและการแก้ปัญหา6 หน่วยกิต1.3 กลุ่มทักษะทางสังคมและการดำรงชีวิต6 หน่วยกิต2. หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ56 หน่วยกิต2.1 กลุ่มทักษะวิชาชีพพื้นฐาน15 หน่วยกิต2.2 กลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะ21 หน่วยกิต2.3 กลุ่มทักษะวิชาชีพเลือก12 หน่วยกิต2.4 ฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ4 หน่วยกิต2.5 โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ4 หน่วยกิต3. หมวดวิชาเลือกเสรี6 หน่วยกิต4. กิจกรรมเสริมหลักสูตร2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

รายวิชาในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

รายวิชาในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช 2562

ประเภทวิชา: คหกรรม
สาขาวิชา: อาหารและโภชนาการ
สาขางาน: อาหารและโภชนาการ
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร: 83 หน่วยกิต

รายวิชา หน่วยกิต
การประกอบอาหาร 3 หน่วยกิต
ถนอมอาหารเบื้องต้น 3 หน่วยกิต
อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในงานอาหาร 2 หน่วยกิต
ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 3 หน่วยกิต
วิทยาศาสตร์งานธุรกิจและบริการ 3 หน่วยกิต
ศาสตร์พระราชา 3 หน่วยกิต
การพัฒนาสุขภาพ 2 หน่วยกิต
มนุษยสัมพันธ์ในการทํางาน 2 หน่วยกิต
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ 3 หน่วยกิต
กฎหมายทั่วไปเกี่ยวกับงานอาชีพ 1 หน่วยกิต
การควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยในงานอาหาร 3 หน่วยกิต
วิทยาศาสตร์การประกอบอาหาร 3 หน่วยกิต
อาหารไทย 3 หน่วยกิต
ขนมไทย 3 หน่วยกิต
อาหารร่วมสมัย 3 หน่วยกิต
งานใบตองและแกะสลักเพื่อการโรงแรม 3 หน่วยกิต
การบริการอาหารและเครื่องดื่ม 2 หน่วยกิต
การสุขาภิบาลอาหาร 2 หน่วยกิต
ทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ 3 หน่วยกิต
ภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจบริการ 3 หน่วยกิต
คณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะการคิด 3 หน่วยกิต
การบริหารงานคุณภาพในองค์กร 2 หน่วยกิต
เทคนิคการบริหารคหกรรม 3 หน่วยกิต
เทคนิคการสัมมนาและการนําเสนอผลงาน 3 หน่วยกิต
การแปรรูปอาหาร 3 หน่วยกิต
โภชนาการเพื่อชีวิต 3 หน่วยกิต
ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่และการแต่งหน้าเค้ก 3 หน่วยกิต
การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร 3 หน่วยกิต
ศิลปะการออกแบบ ตกแต่งอาหารและโต๊ะอาหาร 3หน่วยกิต
การจัดการอาหารเพื่อการจัดเลี้ยง 3 หน่วยกิต
อาหารและวัฒนธรรม 3 หน่วยกิต
วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาอาชีพธุรกิจและบริการ 2 หน่วยกิต
การประกอบอาหารว่างไทย 3 หน่วยกิต
โครงการ 4 หน่วยกิต

โภชนาการและการกําหนดอาหาร ทํางานอะไร

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา นักโภชนาการ/นักกำหนดอาหาร ในหน่วยงานของรัฐและเอกชน ที่ปรึกษาโภชนาการในสถานประกอบการที่เกี่ยวกับการใช้อาหารเพื่อสุขภาพ ผู้ช่วยวิจัยสาขาโภชนาการและนักกำหนดอาหาร ทั้งในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชน เจ้าหน้าที่และพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ

นักโภชนาการ ทํางานที่ไหน

นักโภชนาการ หรือ โภชนากร สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยจะทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ต่างหน่วยงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการทำงาน เช่น นักวิทยาศาสตร์การอาหาร นักเทคโนโลยีอาหาร (Food Technologist) นักวิทยาศาสตร์สาขาจุลชีวะ และนักวิชาการเกษตร

นักโภชนาการ มีหน้าที่อะไรบ้าง

หน้าที่หลักของนักโภชนากร คือ การใช้โภชนบำบัด ได้แก่ การทำอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเฉพาะโรค ซึ่งจะต้องมีการคำนวณค่าของสารอาหารให้เหมาะสมตามที่แพทย์ต้องการ โดยนักโภชนากรจะต้องดูว่า ผู้ป่วยที่เข้ามาแต่ละคนมีภาวะขาดสารอาหารชนิดใดบ้าง หรือ เป็นโรคอะไรมา เช่น ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ซึ่งอาจจะต้องมีการควบคุม ...

คหกรรมศาสตร์ สาขาอาหารและโภชนาการ สอบอะไรบ้าง

คะแนนที่ใช้ในการสอบ GPAX 20% ONET 30% GAT ความถนัดทั่วไป 20% PAT2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ 30%

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก