วิจิตรศิลป์ มช สาขาการแสดง

คณะวิจิตรศิลป์ จัดตั้งขึ้นตามเจตนารมณ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีจุดมุ่งหมายเป็นแหล่งการศึกษาของทุกสาขาวิชาชีพ ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และศิลปศาสตร์ โดยสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้อนุมัติให้จัดตั้งคณะวิจิตรศิลป์ขึ้น เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2525 เพื่อให้เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตทางด้านศิลปะ และเป็นศูนย์กลางการศึกษา ค้นคว้า วิจัย อนุรักษ์ สร้างสรรค์ พัฒนา และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ในท้องถิ่นภาคเหนือ และในประเทศไทย รวมทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน

 

คณะวิจิตรศิลป์ ได้รับอนุมัติหลักสูตรจากทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2525 และสำนักนายกรัฐมนตรีได้มีประกาศแบ่งส่วนราชการเป็นคณะ เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2526 เป็นคณะลำดับที่ 12 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

สีประจำคณะ คือ สีแดงชาด เปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2526 โดยเปิดสอน 2 หลักสูตร คือ สาขาวิชาศิลปะไทย และสาขาวิชาจิตรกรรม

หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบ
BACHELOR OF FINE ARTS PROGRAMME IN DESIGN

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ศิลปบัณฑิต (การออกแบบ)
Bachelor of Fine Arts (Design)

โครงสร้างหลักสูตร (คลิกลิงค์เพื่อดูรายละเอียด)

เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี และใช้เวลาศึกษาอย่างมากไม่เกิน 8 ปี

ลักษณะการเรียนการสอน

  • นำศักยภาพของพื้นที่ตั้ง (เชียงใหม่/ภาคเหนือ) ที่มีความโดดเด่นทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญางานหัตถกรรมมาเป็นฐานในการออกแบบ และฝึกปฏิบัติจริงของนักศึกษา เน้นการฝึกปฏิบัติทักษะเฉพาะทาง : ไม้, ผ้า, โลหะ, เซรามิก, ผลิตภัณฑ์ร่วมกับศิลปิน นักออกแบบทั้งในและต่างประเทศตลอดจนสล่าท้องถิ่นใน Studio ที่มีประสิทธิภาพมาตรฐานสากล

  • มีการบูรณาการหลักสูตรการออกแบบด้านกราฟิกกับผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเข้าด้วยกัน ทำให้นักศึกษามีมุมมองรอบด้าน สามารถสร้างงานและนำเสนองานได้อย่างครอบคลุม

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • นักออกแบบ (Designer)

  • นักออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Designer) : หัตถกรรม (Craft) หัตถอุตสาหกรรม (Industrial craft) อุตสาหกรรม (Industry)

  • นักออกแบบเครื่องแต่งกาย (Fashion Designer)

  • นักออกแบบเครื่องประดับ (Jewelry Designer)

  • นักออกแบบสิ่งทอ (Textile Designer)

  • นักออกแบบเครื่องเรือน (Furniture Designer)

  • นักออกแบบเครื่องปั้นดินเผา (Ceramic Designer)

  • นักออกแบบเลขศิลป์ (Graphic Designer)

  • นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Research and Product Developer)

  • เจ้าของกิจการ (Business Owner)

  • ผู้กำหนดแนวโน้มผลิตภัณฑ์ (Trend Setter)

  • ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ (Product Producer)

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก