ตัวอย่างความขัดแย้งกับเพื่อน

ช่วงเวลาทำงานถือว่าเป็นเวลาหลักของใครหลายคนในหนึ่งวัน เป็นช่วงเวลาที่เราต้องใช้การโฟกัส ใช้ความคิด ใช้พลัง เพื่อทุ่มเทกับทำงาน จึงไม่แปลกใจที่หลายองค์กรออกแบบออฟฟิศให้สามารถอำนวยความสะดวกและสร้างบรรยากาศการที่ดีต่อพนักงานของตนเอง

 

แต่จะเกิดไรขึ้นถ้าบรรยากาศการทำงานนั้นกลับต้องเสีย เพราะเพื่อนร่วมทีมด้วยกันเอง

 

การขัดแย้งกับคนในที่ทำงานถือเป็นเรื่องปกติที่พบได้ทั่วไป โดยเฉพาะงานที่จำเป็นต้องมีการตัดสินใจและแสดงความคิดเห็นจากคนส่วนใหญ่ เมื่อความคิดเห็นแตกต่างกันจนเกิดเป็นความอคติที่ตัวบุคคลขึ้นมา สุดท้ายผลลัพธ์ก็จะนำมาสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงขึ้น ที่สำคัญอาจจะส่งผลต่อสุขภาพจิตของตัวเราและอาจทำให้ประสิทธิภาพของงานลดลงไปด้วย

 

บทความของ Fairygodboss ได้เขียนบทความถึง วิธีในการโต้แย้งกับเพื่อนที่ทำงานแบบมีประสิทธิภาพไว้ดังนี้

 

1. อย่าปล่อยให้ไฟลามทุ่ง

เราต้องลองพิจารณาเหตุการณ์ดูก่อนว่า ความขัดแย้งนั้นเป็นเรื่องเล็กน้อยที่เราสามารถเพิกเฉยหรือปล่อยผ่านมันไปได้ไหม ถ้าทะเลาะต่อไปอาจจะส่งผลเสียมากกว่าที่ควรจะเป็นหรือเปล่า แต่หากเหตุการณ์นั้นใหญ่มากเกินกว่าที่เราจะนิ่งเฉยและปล่อยผ่านได้ เราอาจจะแก้ปัญหาโดยการขอเข้าไปพูดคุยส่วนตัว อธิบายถึงสิ่งที่คุณคิดและรู้สึก ซึ่งคุณต้องพยายามบังคับและควบคุมไม่ให้เกินเลยไปสู่การถกเถียง

 

2. เริ่มต้นประโยคด้วย “ฉัน”

เมื่อเกิดการพูดคุยกันขึ้น เราอาจจะต้องเริ่มบทสนทนาเพื่อแสดงความคิดในมุมมองของตัวเองก่อน โดยใช้คำเริ่มต้นประโยคว่า “ฉัน” ก่อน เช่น ฉันรู้สึกไม่ดีในสิ่งที่คุณพูดระหว่างการประชุม, ฉันรู้สึกอารมณ์เสียเล็กน้อยเพราะงานออกมาไม่ดีเท่าที่ควร เป็นต้น แทนการเริ่มต้นประโยคว่า “คุณ” เช่น คุณทำแบบนั้นมันไม่ถูกต้อง เพราะมันเหมือนคุณกำลังตำหนิและกล่าวโทษอีกฝ่าย ผลที่ตามมาคือ จะนำไปสู่การทะเลาะที่รุนแรงได้

 

3. ควบคุมอารมณ์ได้ มีชัยไปกว่าครึ่ง

การโวยวายหรือตอบโต้กลับ ถือเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของคนที่กำลังจะแพ้ แต่ถ้าเรายึดมั่นในความถูกต้องและอธิบายถึงเหตุผลท่าทีที่สุขุม ไม่ใช้อารมณ์เป็นที่ตั้ง มันจะส่งผลให้เหตุผลของคุณน่าเชื่อถือมากขึ้นและช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นอย่างมาก

 

4. ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย

ถ้าปัญหาที่เกิดเป็นเรื่องที่มีฝั่งถูกและฝั่งผิด และคุณได้อธิบายถึงความจริงและเหตุผลแล้ว คุณต้องก้าวไปอีกขั้นหนึ่งคือ การอธิบายถึงพฤติกรรมของฝ่ายตรงข้าม เพื่อเพิ่มน้ำหนักความจริงของคุณขึ้นมา

 

5. หลีกเลี่ยงความเย่อหยิ่ง

ต่อให้คุณเป็นฝ่ายที่ถูกต้องก็ตาม แต่การเคารพเพื่อนร่วมงานก็ยังต้องมีอยู่ เพราะถ้าคุณแสดงท่าทีที่เย่อหยิ่ง มันจะส่งผลให้คุณดูมีทัศนคติที่ใช้ความคิดตัวเองเป็นใหญ่และไม่มืออาชีพมากพอที่จะแยกแยะระหว่างเรื่องงานกับเรื่องส่วนตัว

 

6. เข้าใจฝ่ายตรงข้าม

เราไม่ควรนำความขัดแย้งครั้งเดียวมาตัดสินตัวตนของใคร เช่น ถ้าคุณเห็นต่างกับคนหนึ่ง คุณไม่ควรมองว่าเขาเป็นคนที่คิดในแง่ลบหรือเป็นพวกขวางโลก แต่คุณควรจะพยายามทำความเข้าใจว่า ทำไมคนนั้นถึงกระทำอย่างนั้น เขามีมุมมองและหลักการคิดอะไรถึงส่งผลให้เขาคิดแบบนั้น

 

7. เปิดใจรับฟัง

บางครั้งการเปิดใจรับฟังฝ่ายตรงข้ามถือเป็นสิ่งที่ดี เพราะคุณจะได้เห็นถึงอีกมุมมองหนึ่ง และบางครั้งความคิดเห็นของฝ่ายตรงข้าม อาจจะเป็นข้อเสนอแนะที่นำมาแก้ปัญหาในอนาคตได้

 

8. ปล่อยมันไป

เมื่อสรุปข้อตกลงได้แล้ว ควรให้จบที่ตรงนั้น ไม่ควรนำเรื่องนั้นไปนินทาต่อภายหลังเพราะอาจจะส่งผลให้เกิดการทะเลาะต่อภายหลังได้

 

สุดท้ายนี้ การขัดแย้งกับคนที่ทำงานถือเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว เพราะเราไม่สามารถทำให้ทุกคนมีความคิดที่เหมือนกับเราได้และเราก็ไม่สามารถทำให้ทุกคนพอใจได้เช่นกัน แต่สิ่งสำคัญของการทำงานคือ การทำงานแบบมืออาชีพ รู้ว่าควรทำอย่างไร รู้ว่าต้องปฏิบัติตัวและหาทางออกอย่างไรเป็นเรื่องที่สำคัญกว่า

การทะเลาะกับเพื่อนร่วมงานนั้นเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ในบางครั้ง และสิ่งที่แย่ที่สุดเท่าที่คุณทำได้คือ ทำเฉยกับมันไปซะ

เริ่มแรกเรามาทำความเข้าใจกันก่อน ความขัดแย้ง หรือ การทะเลาะกัน ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเสมอไป เพราะเราเป็นมนุษย์ไม่ใช่เครื่องจักร จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่การคิดเห็นตรงข้าม ความเครียดจากสภาวะการแข่งขัน ปัญหาส่วนตัว หรือแม้กระทั่งวันที่ไม่เป็นใจ ก็สามารถนำไปสู่ความขัดแย้งในที่ทำงานได้

จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรทำความเข้าใจว่า ความขัดแย้งนั้นมีอยู่ 2 แบบ คือ

  • การทะเลาะกัน หรือ การมีความขัดแย้งแบบสร้างสรรค์ กรณีนี้จะไม่กระทบต่อขวัญกำลังใจในการทำงาน ทั้งยังนำไปสู่แนวทางการแก้ปัญหาเชิงนวัตกรรม ส่วนใหญ่แล้วคนจะไม่มองว่ามันคือความขัดแย้ง แม้จริงๆ จะใช่ก็ตามที มุมมองที่ตรงกันข้าม ช่วงเวลาแห่งการระดมความคิด และพูดคุยเรื่องกลยุทธ์ สิ่งเหล่านี้คือความขัดแย้งเชิงสร้างสรรค์ในรูปแบบต่างๆ
  • การทะเลาะกัน หรือความขัดแย้งแบบบั่นทอน นี่คือสิ่งที่ส่งผลต่อการทำงาน ขวัญกำลังใจและความมีประสิทธิภาพในระยะยาว และรู้อะไรไหม หากจัดการไม่ดีแล้ว ความขัดแย้ง หรือการทะเลาะกันอย่างสร้างสรรค์ก็สามารถกลายเป็นความขัดแย้งแบบบั่นทอนได้ง่ายๆ เลย

เมื่อมีคนที่เราเห็นด้วย ก็ย่อมมีคนที่เราไม่เห็นด้วยเสมอ ไม่เป็นไรหรอก เคยกลอกตาเวลาต้องฟังใครพูดไหม? นั่นแหละสัญญาณแรกของปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข

เลิกหนีเสียเถอะ เพราะมันไม่มีวันไปไหน

ปัญหาส่วนใหญ่ไม่อาจแก้ไขได้ด้วยตัวเอง ที่จริงมันมักจะบานปลายอย่างรวดเร็วด้วยซ้ำ อย่ามัวแต่หลบหน้า ยิ่งคุณลงมือเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งแก้ได้ไวเท่านั้น มาดูวิธีกันเลย

1. ไม่เกี่ยวว่าใครจะถูกหรือผิด แต่คำถามคือ อะไรคือสิ่งที่ถูกที่ควรทำ

ใครๆ ก็ย่อมอยากเป็นฝ่ายถูก เป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะสนับสนุนความคิดของตัวเองเพราะว่ามันเป็นของคุณ ไม่สำคัญว่าจะใช้เวลาเพื่อแก้ต่างให้มันแค่ไหน แต่วิธีของคุณอาจไม่ใช่ทางที่มีประสิทธิภาพที่สุดก็ได้

การเป็นผู้ชนะไม่ได้พิสูจน์ว่าเพื่อนร่วมงานของคุณนั้นผิด แต่มันคือการหาประโยชน์เพื่อส่วนร่วม และแนวทางการแก้ไขให้เจอ จงจำไว้ว่าคุณไม่ได้กำลังต่อสู้กับฝ่ายตรงข้าม แต่คุณทั้งคู่กำลังต่อสู้กับปัญหาที่เกิดขึ้นต่างหาก หากทั้งสอง ทั้งคุณและเพื่อนร่วมงาน มีแนวความคิดนี้ ถึงแม้ว่าความคิดของคุณทั้งสองไม่ได้เหมือนกันสะทีเดียว แต่ เป้าหมายของคุณนั้นเหมือนกัน จากการทะเลาะกันเพื่อเอาชนะ ก็จะกลายเป็นการทะเลาะกันอย่างสร้างสรรค์เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดให้กับบริษัทของคุณ

2. ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน

ยึดเอาเป้าหมายในการสื่อสารเป็นที่ตั้ง

ก่อนจะเข้าไปมีส่วนร่วมในสงครามนี้ ลองถอยออกมาตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนในสิ่งที่คุณพยายามทำให้สำเร็จ การยึดเอาเป้าหมายของการสนทนานี้เป็นหลัก จะช่วยให้คุณวางเรื่องอารมณ์เอาไว้ แล้วมาสนใจสิ่งที่สำคัญจริง ๆ ได้

คุณแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นยังไง? ลองกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน และหาทางที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย เช่น 

  1. ต้องการรวบรวมข้อมูล – รับฟัง
  2. ต้องการวิเคราะห์ถึงปัญหา – ทำความเข้าใจ
  3. ต้องการเสนอทางแก้ – พูดคุย

การตั้งเป้าหมายตอนจบเอาไว้ เป็นวิธีที่ดีสำหรับเข้าหาความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้น มองมันเป็นเรื่องของธุรกิจ อย่ามองเป็นปัญหาส่วนตัว

3. พูดคุยกันต่อหน้ากับเพื่อนร่วมงาน

ทำไมถึงพูดเรื่องนี้ในเมื่อเราสามารถโต้ตอบกันผ่านอีเมล์ที่จงใจยั่วโมโหได้เป็นสัปดาห์?

การจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นแบบเผชิญหน้าอาจเป็นเรื่องน่ากลัว แต่นั่นคือส่วนสำคัญอย่างยิ่งยวดของกลยุทธ์การแก้ปัญหาของคุณ

วิธีสื่อสารนั้นมีหลายทาง แต่การส่งอีเมล์หรือข้อความผ่าน Slack อาจทำให้เกิดการตีความที่ผิดพลาดได้ง่าย พยายามพัฒนาทักษะการเจรจาและทักษะการแก้ไขปัญหาด้วยการเผชิญหน้า และพูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน ไม่ใช่หลบหน้า

การสื่อสารผิดพลาด คือหนึ่งในสาเหตุหลักของความขัดแย้งในที่ทำงาน ซึ่งเราสามารถเลี่ยงปัญหานี้ได้ง่ายๆ ด้วยการเจอหน้ากัน หรือโทรศัพท์หาไปเลย

4. ยึดเอาความจริงเป็นหลัก

การยึดเอาความจริงเป็นหลักและตรวจดูให้แน่ใจว่าไม่มีความรู้สึกส่วนตัวหรือวาระอื่นใดเข้ามาอยู่ในสมการคือเรื่องที่สำคัญมาก ข้อเท็จจริงของเหตุการณ์นี้คืออะไร? พยายามจับสถานการณ์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ราวกับคุณมีกล้องวิดีโอสำหรับบันทึกภาพ ขอให้ฝ่ายตรงข้ามตรวจสอบข้อเท็จจริง แล้วดูว่าคุณเห็นด้วยกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงรึเปล่า

จู่ๆ ก็เป็นเรื่องส่วนตัว

ถ้าคุณเห็นด้วยกับความจริงที่เกิดขึ้น และพบว่าปัญหาเดียวที่มีคือเรื่องทัศนคติ ก็ถึงเวลาแล้วที่จะจัดการอารมณ์ของคุณ จงเลี่ยงคำว่า “คุณพูดว่า” อย่างสุดกำลัง เรามักจำความรู้สึกของตัวเองในสิ่งที่ถูกพูดถึงได้ แต่ไม่ใช่ข้อความจริง ลองใช้คำว่า “ฉันรู้สึกว่า…” แทนคำว่า “คุณพูดว่า” มันช่วยลบทุกแง่มุมของการกล่าวโทษออกจากบทสนทนา และไม่คาดเดาจุดประสงค์ของอีกฝ่ายด้วย พูดอีกแง่ก็คือพยายามพูดคุยเพื่อแก้ปัญหา ไม่ใช่พูดคุยเพื่อทำให้อีกฝ่ายผิด

5. ป้องกันความขัดแย้งในอนาคต

การเปลี่ยนการโต้เถียงที่เผ็ดร้อนให้กลายเป็นบทเรียนอันมีค่าไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ลองดูว่าคุณสามารถมองปัญหานั้นให้เป็นโอกาสสำหรับความเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาในเชิงบวกหรือไม่ คุณสามารถเรียนรู้อะไรได้บ้าง? ตัวคุณและสมาชิกในทีมจะได้ประโยชน์จากประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาได้อย่างไรบ้าง?

คราวหน้าคุณจะทำอะไรให้ต่างออกไป?

บางทีอาจถึงเวลาแล้วที่จะปรับรูปแบบการสื่อสารและระบบการจัดการตัวเอง หรือแค่ชัดเจนกับเจตจำนงของคุณให้มากขึ้น สิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ นี่แหละสำคัญ หรือบางทีคุณแค่อยากลาไปพักผ่อน อยากทานข้าวเที่ยงกับทีมกับเพื่อนร่วมงาน? ไม่ก็วิธีที่ต่างออกไปในการรับมือกับเรื่องยุ่งยากซับซ้อน?

การจัดการความขัดแย้งยังก่อให้เกิดความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างคุณกับความขัดแย้งเอง  นี่เป็นทักษะสำคัญด้านสังคมที่ควรมี และคุ้มค่าที่จะพัฒนา

6. ปล่อยมันไป

บางครั้งก็เป็นไปไม่ได้ที่จะเปลี่ยนผลลัพธ์ของปัญหาที่เกิดขึ้น แต่คุณสามารถเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อมันได้ เพื่อนร่วมงานบางคน หรือ เรื่องบางเรื่องก็ไม่คุ้มค่าที่คุณจะเปลืองพลังของคุณหรอกนะ

ยอมรับความผิดพลาด อย่าพูดขอโทษตามมารยาท แต่จงขอโทษเมื่อคุณรู้สึกอย่างนั้นจริง ๆ จิตสำนึกความรับผิดชอบเป็นทักษะทางสังคมที่สำคัญ และมันอาจเปลี่ยนความสัมพันธ์ของคุณกับเพื่อนร่วมงานได้อย่างมาก แถมยังช่วยให้สภาพแวดล้อมในการทำงานดีขึ้นได้ด้วย

สรุปง่ายๆก็คือ อะไรที่คุณเปลี่ยนไม่ได้ก็จงปล่อยผ่านมันไปซะ มาหาทางออกที่ดีที่สุดในการพูดถึงปัญหากวนใจนั้นดีกว่า เนื่องจากเพื่อนร่วมงานบางคนนั้นอาจจะทำงานในสไตล์ที่คนหลาย ๆ คนอาจจะรับมือยากจนเกินไป

ส่วนใครที่เจอปัญหาที่หนักเกินไป และกำลังมองหางานใหม่อยู่ GetLinks ก็มีเทคนิคดี ๆ ในการสัมภาษณ์งานมาแนะนำ คลิกเลย

อาชีพในฝันคืออาชีพที่ไม่ต้องเจอกับเรื่องดราม่า
มาค้นหาโอกาสในการทำงานที่ดีที่สุดกับ GetLinks กันเถอะ

เริ่มออกแบบอาชีพของคุณตั้งแต่วันนี้เลย

อย่ามัวแต่รอให้โอกาสเข้ามาหา คุณสามารถเข้าหาโอกาสดีๆ ได้ด้วยตัวเอง! เราพร้อมช่วยเหลือในก้าวแรกบนหนทางสู่การผจญภัยในอนาคตของคุณ มาออกตามหาโอกาสทางอาชีพใหม่ๆ บนความก้าวหน้าและนวัตกรรมที่ทันสมัย ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ GetLinks ตั้งแต่วันนี้เลย!

ความขัดแย้งกับเพื่อนมีอะไรบ้าง

สาเหตุความขัดแย้งในกลุ่มเพื่อน ป.5.
มีการเข้าใจผิดกันแล้วไม่ทำความเข้าใจกันหรือไม่พูดคุยกันให้รู้เรื่อง.
มีความคิดเห็นไม่ตรงกันและไม่ยอมรับความคิดเห็นของเพื่อน.
เล่นกันโดยใช้กำลังความรุนแรง หรือทำให้อีกฝ่ายเจ็บ แล้วไม่ขอโทษ.
ถูกเพื่อนรังแกหรือแกล้งให้ได้รับความอับอาย.

ผลกระทบความขัดแย้งกับกลุ่มเพื่อนมีอะไรบ้าง

ความขัดแย้งระหว่างนักเรียนหรอเยาวชนในชุมชนเมื่อเกินขึ้นจะทำให้เกินผลกระทบทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม ดังนี้.
ทำให้โกรธเคือง เกิดความบาดหมางกันและเลิกคบหากัน ทำให้เสียมิตร.
ทำให้เกิดการทำร้ายร่างกายกัน จนทำให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับบาดเจ็บพิการทุพพลภาพ หรืออาจเสียชีวิต.

การทะเลาะวิวาทกันในกลุ่มเพื่อนมีสาเหตุจากอะไร

3. สาเหตุที่เกิดจากเพื่อน เช่น การถูกเพื่อนชักชวนให้กระทำผิด รักเพื่อนรักสถาบัน ต้องการช่วยเพื่อนเพราะคนในกลุ่มเพื่อนเคยถูกทำร้ายมาก่อนและต้องการแก้แค้น 4. สาเหตุที่เกิดจากสภาพแวดล้อม เช่น สถานบันเทิง บนท้องถนน หรือสถานที่จัดงานตามเทศกาลต่างๆ เป็นต้น และ 5. สาเหตุอื่นๆ ได้แก่ การดื่มสุรา แอลกอฮอล์ หรือการใช้สารเสพติด ...

เมื่อเรามีปัญหาความขัดแย้งกับเพื่อนเราจะแก้ไขอย่างไร

จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรทำความเข้าใจว่า ความขัดแย้งนั้นมีอยู่ 2 แบบ คือ.
1. ไม่เกี่ยวว่าใครจะถูกหรือผิด แต่คำถามคือ อะไรคือสิ่งที่ถูกที่ควรทำ ... .
2. ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน ... .
3. พูดคุยกันต่อหน้ากับเพื่อนร่วมงาน ... .
4. ยึดเอาความจริงเป็นหลัก ... .
5. ป้องกันความขัดแย้งในอนาคต ... .
6. ปล่อยมันไป.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก