ตัวอย่าง บทนำ รายงานเชิงวิชาการ

ความหมายของรายงานเชิงวิชาการ

            รายงานเชิงวิชาการ หมายถึง เอกสารซึ่งเป็นผลจากการค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งในทาง วิชาการ โดยเรียบเรียงจากการเก็บข้อมูล การค้นคว้าข้อมูลสารสนเทศและประสบการณ์ต่าง ๆ นํามาเรียบ เรียงอย่างมีแบบแผนที่สมบูรณ์และใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงทางวิชาการได้

            งานเขียนทางวิชาการมักจะเขียนอยู่ในรูปร้อยแก้วที่เป็นความเรียงในลักษณะการบรรยายหรืออธิบาย ความ มีการใช้ภาพ แผนภูมิ กราฟ ตารางและตัวเลขสถิติต่าง ๆ มาประกอบเพื่อช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหา ที่เป็นนามธรรมได้ง่ายขึ้น

ลักษณะของรายงานเชิงวิชาการที่ดี มีลักษณะดังนี้

๑. รูปเล่ม มีองค์ประกอบที่สําคัญต่าง ๆ ครบถ้วน การพิมพ์จัดตําแหน่งข้อความประณีตสวยงาม อ่านง่าย ใช้รูปแบบตัวอักษรแบบเดียวกันทั้งเล่ม

๒. เนื้อหา มีการนําเสนอผลการศึกษาค้นคว้าที่น่าสนใจ นําเสนอความรู้ที่เป็นปัจจุบันทันสมัย ประสบการณ์และทรรศนะที่เป็นเหตุเป็นผล ครอบคลุมเรื่องได้อย่างสมบูรณ์ การเรียบเรียงเนื้อหาเป็นไป ตามลําดับไม่วกวน แสดงให้เห็นถึงความสามารถในลําดับความคิดและเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ

๓. สํานวนภาษา มีการใช้ภาษาที่ถูกต้องเหมาะสมที่จะใช้เป็นภาษาในการเขียนรายงานเชิงวิชาการ กล่าวคือ มีความสละสลวย ชัดเจน ลําดับความได้ต่อเนื่อง มีการเว้นวรรคตอน สะกดการันต์ถูกต้อง

๔. การอ้างอิงและบรรณานุกรม มีการแสดงหลักฐานที่มาของข้อมูลอย่างละเอียดถี่ถ้วนและถูกต้อง ตามแบบแผน การเลือกใช้ข้อมูลที่อ้างอิงมีความเชื่อถือได้ หลักฐานอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจะสามารถบ่งบอก ถึงคุณภาพทางวิชาการของรายงานฉบับนั้นได้

ขั้นตอนการเขียนรายงานเชิงวิชาการ

ขั้นที ๑ การเลือกเรื่อง

การเลือกเรือง หากผู้เขียนรายงานเลือกหัวข้อเรื่องเองควรเลือกเรื่องที่ตนสนใจที่สุด เรื่องทีมประโยชน์และค้นคง ที่กําหนดให้ โดยมีและค้นคว้าได้สะดวก มีเอกสารให้ค้นคว้าเพียงพอ และที่สําคัญคือ เลือกเรื่องที่เหมาะสมกับเวลา หนดให้ โดยมีหลักในการเลือกหัวข้อเรื่อง ดังนี้

                • ควรเป็นเรื่องที่ตนเองสนใจมากที่สุด

                • ควรเป็นหัวข้อเรื่องที่สามารถค้นคว้าหาข้อมูลได้ง่าย หัวข้อรายงานที่ไม่สามารถหาข้อมูลอ้างอิงได้                            จะทําให้รายงานขาดความน่าเชื่อถือ

                • ไม่ควรเป็นหัวข้อเรื่องที่มีขอบเขตกว้างจนเกินไป

คําว่า “หัวข้อเรื่อง” หมายถึง การกําหนดหัวข้อเรื่องเพื่อกําหนดแนวเรื่องที่จะเขียน เมื่อเขียนเสร็จแล้ว อาจตั้งชื่อใหม่ให้น่าสนใจยิ่งขึ้นก็ได้

ขั้นที่ ๒ การกําหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขตของเรื่อง

            การกําหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขตของเรื่อง กระทําหลังจากที่ได้เขียนรายงานทางวิชาการแล้ว กล่าวคือ ผู้เขียนต้องคิดว่าจะเขียนในแนวไหนแง่มุมใดและต้องการเสนออะไรแก่ผู้อ่าน ลักษณะที่กล่าวมานี้คือ การหาจุดมุ่งหมายและขอบเขตของเรื่อง ซึ่งทั้งจุดมุ่งหมายและขอบเขตของเรื่องต้องมีความสัมพันธ์กัน คือ ต้องไม่เขียนเกินขอบเขตที่กําหนดไว้และต้องครอบคลุมจุดมุ่งหมายของผู้เขียน เช่น

ตัวอย่าง หัวข้อที่มีจุดมุ่งหมายและขอบเขตของเรื่องที่สัมพันธ์กัน

หัวข้อเรื่องรายงาน มะแว้ง : สมุนไพรไทย

๑. จุดมุ่งหมาย อธิบายถึงสิ่งต่อไปนี้

๑) เพื่อให้ทราบความเป็นมา

๒) เพื่อให้ทราบรูปร่างลักษณะ

๓) เพื่อให้ทราบคุณสมบัติทางยา

๒.ขอบเขต จะต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย ดังนี้

๑) ประวัติการศึกษาด้านสมุนไพร

๒) รูปร่างลักษณะของมะแว้ง

๓) สรรพคุณของมะแว้งที่ใช้รักษาโรคต่าง ๆ

ขั้นที่ ๓ วิธีการค้นคว้าและบันทึกข้อมูล

            ๑. วิธีการค้นคว้า ผู้เขียนจะต้องสํารวจดูว่าจากหัวข้อเรื่อง จุดมุ่งหมาย และขอบเขตที่กําหนดไว้แล้ว นั้น สามารถหาข้อมูลได้จากที่ใดบ้าง ซึ่งอาจหาได้จากหนังสือ วารสาร เอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ หรือจากการ สัมภาษณ์ จากการไปสังเกตด้วยตนเอง จากประสบการณ์ตรง ฯลฯ ผู้ศึกษาค้นคว้าจะต้องมีทักษะเรื่องการ สืบค้นข้อมูลสารสนเทศเป็นอย่างดี และมีการกําหนดหัวข้อเรื่อง จุดมุ่งหมาย และขอบเขตของเรื่องไว้ชัดเจน จึงจะค้นคว้าได้รวดเร็ว

            แหล่งข้อมูลเบื้องต้นควรเริ่มที่ห้องสมุดและการสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต ในการสํารวจควรใช้เครื่องมือที่ แหล่งนั้นจัดเตรียมไว้ให้ เช่น การสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุดควรใช้บัตรรายการ บัตรดัชนีวารสารและระบบ สืบค้นข้อมูล (OPAC) เป็นต้น

            การสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต ควรใช้เว็บไซต์ Google, Yahoo เป็นต้น ผู้เขียนต้องเรียน ใช้เครื่องมือและคําสั่งในการสืบค้นให้เข้าใจ เสียก่อน จึงจะช่วยให้ค้นคว้าได้รวดเร็ว และได้ เนื้อหาสาระครบถ้วน

            ๒. วิธีการบันทึกข้อมูล

                    ๑) เมื่อได้ข้อมูลที่ต้องการแล้ว ผู้เขียน จะต้องจัดเก็บรวบรวมให้เป็นระบบเป็นหมวดหมู่ เอกสารที่รวบรวมได้ทุกรายการจะต้องเขียน บรรณานุกรมบอกแหล่งที่มาไว้ด้วย เพื่อใช้ค้นกลับ คืนไปยังแหล่งเดิมได้อีกในภายหลัง

                    ๒) ขั้นต่อไปก็คือ อ่านและพิจารณาว่า ข้อมูลส่วนใดที่จะนํามาใช้อ้างอิงได้ ก็ให้บันทึกไว้ ในบัตรจดบันทึก กระดาษบันทึกที่นิยมกันมาก คือ บัตรบันทึกขนาด 4" x 6" หรือ 5" x 7" ในการจด บันทึกควรลงรายละเอียดของหนังสือหรือเอกสารที่ ค้นคว้ามานั้นไว้ด้วย เช่น ชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ ปีที่ พิมพ์ สํานักพิมพ์ วัน เดือน ปีที่พิมพ์ เพื่อที่ไว้ใช้ใน การเขียนอ้างอิง

ขั้นที่ ๔ การทําโครงเรื่อง

                การทําโครงเรื่อง คือ การแยกหัวข้อเรื่องออกเป็นหัวข้อย่อย ๆ ซึ่งเมื่อเขียนรายละเอียดของแต่ละ หัวข้อแล้ว ก็จะได้รายงานทางวิชาการทั้งเรื่อง การทําโครงเรื่องจะช่วยป้องกันไม่ให้เขียนออกนอกเรื่อง เป็น แนวทางให้รู้ว่าจะเขียนเกี่ยวกับอะไร เขียนไปในทางใด สั้นยาวขนาดไหน ทําให้เรียบเรียงเรื่องได้ถูกต้องตาม ลําดับ ทําให้แต่ละหัวข้อย่อยต่อเนื่องกัน การทําโครงเรื่องควรตามขั้นตอน ดังนี้

            ๑. การระดมความคิด โดยเขียนหัวข้อใหญ่ หัวข้อย่อยหรือประเด็นต่าง ๆ ที่เราคิดว่าจะเขียนลงไปใน รายงานของเราให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

            ๒. การคัดเลือกความคิด จากหัวข้อที่เราระดมมาทั้งหมด พิจารณาดูว่า หัวข้อใดสามารถรวมกันเป็น หัวข้อเดียวได้ ก็รวมให้อยู่ในหัวข้อเดียวกัน หัวข้อใดที่ไม่เกี่ยวข้องก็ตัดออกไป หัวข้อใดที่ยังขาดอยู่ก็เพิ่มเข้า มาแล้วนํามาจัดหมวดหมู่

            ๓. การเรียงลําดับหมวดหมู่ความคิด ดูว่าหมวดหมู่ใดควรมาก่อนหรือหลัง แล้วเรียงตามลําดับ ความสําคัญ จากนั้นเพิ่มบทนําและบทสรุปเข้าไปก็จะได้โครงเรื่องตามต้องการ ตรวจดูและแก้ไขภาษาให้ สละสลวยตามต้องการ

            ๔. การจัดทําโครงเรื่องให้สมบูรณ์ ประกอบด้วย บทนํา หัวข้อใหญ่ หัวข้อรอง หัวข้อย่อยและบทสรุป สําหรับหัวข้อเหล่านี้อาจจะใช้ระบบตัวเลขหรือระบบตัวอักษร ร่วมกับตัวเลขช่วยในการเรียงลําดับก็ได้

ขั้นที่ ๕ การเสนอผลงาน

            ๑.ผู้เขียนรายงานจะต้องนําข้อมูลต่าง ๆ ที่จดบันทึกไว้ มาเขียนเรียบเรียงเข้าให้เป็นระเบียบตาม โครงเรื่องที่วางไว้ใช้ถ้อยคําสํานวนของผู้เขียนเอง

            ๒. ควรเขียนโดยใช้ภาษาที่เป็นทางการหรือภาษาแบบแผน โดยการเขียนให้กระชับถูกต้องตามหลัก ไวยากรณ์ อ่านเข้าใจแจ่มแจ้ง ชัดเจน ไม่วกวนสับสน

            ๓. เมื่อคิดว่ารายงานที่จัดทําสมบูรณ์แบบที่สุดแล้ว ควรจัดพิมพ์ให้สวยงามถูกต้องตามแบบฟอร์มที่ เป็นสากลหรือตามที่หน่วยงานต้นสังกัดกําหนด

ส่วนประกอบของการเขียนรายงานเชิงวิชาการ

    ๑. ส่วนน้ํา ประกอบด้วย

        ๑) ปกนอก ประกอบด้วย ชื่อเรื่องของรายงาน ชื่อผู้จัดทํา หน่วยงานที่จัดทํา ปีที่จัดทํา

        ๒) ปกใน มีข้อความเช่นเดียวกับปกนอก อาจมีใบรองปกคันระหว่างปกนอกกับปกในก็ได้

        ๓) คํานํา เป็นการกล่าวถึงวัตถุประสงค์ ขอบเขตของเนื้อหาและคําขอบคุณผู้ที่ให้ความช่วยเหลือ ในการจัดทํารายงาน ถือเป็นการเกริ่นนําเรื่องให้ผู้อ่านทราบคร่าว ๆ ด้วย

        ๔) สารบัญ ผู้เขียนรายงานจะนําหัวข้อสําคัญ ๆ ของเนื้อเรื่องในรายงานมาลําดับไว้ในสารบัญ พร้อมทั้งระบุเลขหน้าของแต่ละหัวข้อไว้ด้วย เพื่อสะดวกในการค้นหา

    ๒. ส่วนเนื้อความ ประกอบด้วย

        ๑) บทนํา เป็นการเกริ่นนําเพื่อปูพื้นฐานความเข้าใจของผู้อ่าน บทนําจะช่วยทําให้ผู้อ่านทราบ รายละเอียดเกี่ยวกับความเป็นมาบางประการของเนื้อหา

        ๒) เนื้อหา เป็นส่วนที่สําคัญที่สุดของรายงาน การเรียบเรียงเนื้อหาต้องเป็นไปตามลักษณะของ โครงเรื่องที่กําหนดไว้ หากเป็นรายงานขนาดยาวควรแบ่งเนื้อหาออกเป็นบท ๆ การเรียบเรียงเนื้อหาต้องมี การระบุแหล่งที่มาของข้อมูลไว้เป็นหลักฐานอ้างอิงอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

        ๓) บทสรุป ผู้เขียนต้องเขียนสรุปเมื่อจบเนื้อหาแต่ละบท การเขียนสรุปจะช่วยให้ผู้อ่านมองเห็น ประเด็นที่ผู้เขียนนําเสนอได้ง่ายขึ้น

    ๓. ส่วนท้าย ประกอบด้วย

        ๑) บรรณานุกรม เป็นรายชื่อหนังสือ เอกสาร ตลอดจนแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ที่ใช้ในการค้นคว้าเพื่อ จัดทํารายงาน เอกสารอ้างอิงเหล่านี้ต้องนํามาเรียงลําดับอย่างเป็นระเบียบตามหลักการเขียนบรรณานุกรม เพื่อให้ผู้อ่านค้นหาได้ง่าย

        ๒) ภาคผนวก เป็นเนื้อหาที่ไม่ใช่เนื้อเรื่องรายงานโดยตรง แต่เป็นส่วนประกอบที่ช่วยให้เข้าใจ เนื้อเรื่องมากขึ้น เนื่องจากไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับเนื้อหาในรายงาน ผู้เขียนจึงจัดทําไว้เป็นภาคผนวก เช่น แบบสอบถาม แบบทดสอบ คําอธิบายเพิ่มเติม เป็นต้น

การเขียนอ้างอิง

                การอ้างอิง (Citation) เป็นการให้ข้อมูลพร้อมทั้งแสดงแหล่งที่มาของข้อมูลไว้ด้วย ที่นิยมใช้มีอยู่ ๓ ลักษณะ ดังนี้

        ๑. การอ้างอิงแทรกอยู่ในเนื้อหา (In-Text Citation) แบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ

                ๑) ระบบนาม-ปี (Author-Date System) เป็นการอ้างอิงแทรกปนในเนื้อหา โดยระบุชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์และเลขหน้าของเอกสารที่ใช้ ส่วนรายละเอียดของรายการเอกสารที่ใช้อ้างอิงทั้งหมดจะไปปรากฎ ในตอนท้ายบทหรือท้ายเล่มก่อนหน้าบรรณานุกรมในส่วนที่เรียกว่า เอกสารอ้างอิง (References) โดย การเรียงลําดับตามหมายเลข และพิมพ์หมายเลขอยู่ในเครื่องหมาย ( ) และควรนําไปเขียนลงในหน้า บรรณานุกรม (Bibliography) ด้วย ระบบนี้นิยมใช้มากในปัจจุบัน มีส่วนประกอบที่สําคัญ ๓ ส่วน คือ

                                               (๑)             (๒)             (๓)

                                            ชื่อผู้แต่ง, ปีพิมพ์ : เลขหน้า

                ๒) ระบบตัวเลข (Number System) เป็นการอ้างอิงแทรกปนในเนื้อหา โดยระบุเพียงตัวเลขส่วนรายละเอียดแหล่งที่ใช้อ้างอิงทั้งหมดนั้น จะไปปรากฏรายการอ้างอิง (References) ท้ายบทหรือท้ายเล่ม ลอการเรียงลําดับตามหมายเลข และพิมพ์หมายเลขอยู่ในเครื่องหมาย [ ] หรือถ้าปรากฏในท้ายหน้า ต่อ ส่วนที่เป็นเชิงอรรถอ้างอิง (Footnote Citation) และต้องนําไปเขียนลงในส่วนของบรรณานุกรม(Bibliography) ด้วย

        ๒. การอ้างอิงท้ายหน้า (Footnote Citation) คือ รายละเอียดของข้อความที่เขียนลงไว้ในส่วนท้าย ของหน้า โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดทําแตกต่างกัน ๓ ลักษณะ ดังนี้

                ๑) เชิงอรรถอ้างอิง คือ การให้รายละเอียดของข้อมูลตามที่ได้อ้างอิงแทรกปนในเนื้อหาแบบ ระบบตัวเลขที่ระบุไว้ท้ายข้อความ ที่คัดลอกมาหรือเก็บแนวความคิดมา

                ๒) เชิงอรรถขยายความ คือ การให้คําอธิบายหรือขยายความหรือเรื่องราวบางตอนให้ชัดเจน ยิ่งขึ้น โดยที่ไม่ต้องการให้ปะปนอยู่ในส่วนของเนื้อหา จึงแยกมาไว้ท้ายหน้า

                ๓) เชิงอรรถโยง คือ เป็นการเชื่อมโยงเนื้อหาเพื่อสร้างความเข้าใจให้ผู้อ่าน

       ๓. การอ้างอิงท้ายบท (References)เป็นการอ้างอิงที่นํามาเรียงไว้เมื่อจบบทแต่ละบท (อาจขวาง ไปไว้ท้ายเล่มก็ได้) โดยการเรียงลําดับตามหมายเลขและพิมพ์หมายเลขอยู่ในเครื่องหมาย [ ] มีจดปะ เพื่อบอกรายละเอียดข้อมูลที่ได้อ้างอิงแบบแทรกปนในเนื้อหา

การเขียนบรรณานุกรม

            บรรณานุกรม เป็นรายชื่อเอกสารที่ผู้เขียนใช้ประกอบการศึกษาค้นคว้า รายการที่ได้มีการอ้างอิง แทรกปนในเนื้อหาทุกรายการต้องนํามาลงในบรรณานุกรม แต่บางรายการที่นํามารวบรวมไว้ไม่พบว่าได้มี การคัดลอกหรืออ้างอิงในเนื้อหาตอนใดของรายงาน ที่ทําเช่นนี้ก็เพื่อให้ผู้อ่านที่ต้องการทราบว่ามีเอกสาร ใดบ้างที่ผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้ามา จะได้ไปสืบค้นโดยง่ายในภายหลัง รายชื่อของเอกสารทั้งหมดจะรวบรวม เขียนไว้ท้ายเล่ม เรียกว่า “บรรณานุกรม" (Bibliography)

            ในปัจจุบันผลงานเขียนทางวิชาการและรายงานศึกษาค้นคว้าวิจัยนิยมการเขียนบรรณานุกรมแบบที่นํา ปีพิมพ์ไว้ต่อท้ายจากชื่อผู้แต่งเป็นส่วนใหญ่ เพื่อแสดงให้เห็นโดยง่ายว่าได้ศึกษาค้นคว้าผลงานของใคร ช่วง ปีใด มีความทันสมัยเพียงใดและสอดคล้องกับรูปแบบการอ้างอิงแบบนาม-ปีที่ได้กล่าวไว้แล้ว หลักเกณฑ์ ทั่วไปที่ควรทราบ มีดังนี้

๑. ชื่อผู้แต่ง

        ๑) ให้ลงรายการชื่อผู้แต่งได้ไม่เกิน ๓ คน ถ้ามีผู้แต่งมากกว่านี้ ให้ลงเฉพาะรายการที่เป็นชื่อแรก แล้วตามด้วยคําว่า และคณะ จบข้อความด้วยเครื่องหมายมหัพภาค ()

        ๒) ชื่อหน่วยงาน/หรือสถาบัน ให้ลงชื่อหน่วยงานตามที่ปรากฏในเอกสารที่นํามาอ้าง เป็นต้น และจบข้อความด้วยเครื่องหมายมหัพภาค ()

        ๓) ชื่อผู้แต่งคนเดิม แต่งหนังสือหลายเล่ม ให้เขียนชื่อผู้แต่งเฉพาะรายการแรกเท่านั้น รายการอื่น ชื่อผู้แต่งให้แทนด้วยเครื่องหมายสัญประกาศ ๗ ตัวอักษร แล้วตามด้วยมพ์ ตัวอักษรตามชื่อหนังสือเฉพาะผู้แต่งที่ชื่อซ้ํากัน

๒. ชื่อหนังสือ ชื่อวารสาร ชื่อวัสดุสารสนเทศ

        ๑) ให้พิมพ์ด้วยตัวอักษรเอนหรือตัวหนา เพื่อเน้นให้เด่นชัดว่าเป็นชื่อหนังสือ ชื่อวารสาร วัสดุสารสนเทศ จบข้อความด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.)

        ๒) ในกรณีที่วัสดุสารสนเทศไม่ปรากฏชื่อผู้รับผิดชอบชัดเจน ให้ลงชื่อหนังสือ ชื่อบทความหรือ ชื่อวัสดุสารสนเทศนั้นเป็นรายการหลักของบรรณานุกรม

        ๓. ชื่อบทความในวารสาร และชื่อวิทยานิพนธ์/ปริญญานิพนธ์ ให้พิมพ์อยู่ในเครื่องหมาย “อัญประกาศ”

๔. ปีที่พิมพ์ ให้พิมพ์อยู่ในเครื่องหมาย (วงเล็บ) หลังรายการชื่อผู้แต่ง จบข้อความด้วยเครื่องหมาย มหัพภาค (.) ถ้าไม่ปรากฏข้อมูลปีที่พิมพ์ให้ใช้คําย่อว่า ม.ป.ป. ในเครื่องหมายวงเล็บแทน หมายถึง ไม่ปรากฏ ปีที่พิมพ์

        ๕. ฉบับพิมพ์ การพิมพ์ครั้งที่ ๑ ไม่ต้องระบุ พิมพ์ครั้งที่ ๒ ขึ้นไปจึงจะระบุฉบับพิมพ์ จบข้อความด้วย เครื่อง   หมายมหัพภาค (.)

        ๖. สถานที่พิมพ์ ให้ระบุชื่อเมืองที่พิมพ์ เมื่อจบข้อความด้วยเครื่องหมายทวิภาค (2) ถ้าไม่ปรากฏ สถานที่พิมพ์ให้ใช้ คําย่อว่า ม.ป.ท. หมายถึง ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์

        ๗. สํานักพิมพ์ ให้ระบุเฉพาะชื่อของสํานักพิมพ์หรือโรงพิมพ์ ถ้าสํานักพิมพ์ที่เป็นสมาคม มหาวิทยาลัย ให้ระบุชื่อเต็มตามที่ปรากฏ ถ้าไม่ปรากฏสํานักพิมพ์ให้ระบุ คําย่อว่า ม.ป.ท. (ไม่ปรากฏสํานักพิมพ์) จบข้อความด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.)

        ๘. เลขหน้า ใช้ในกรณีเป็นบทความในหนังสือรวมเรื่อง สารานุกรม หนังสือพิมพ์ รายงานการประชุม การสัมมนาทางวิชาการ โดยใช้ คําว่า “หน้า” ตามด้วยเลขหน้า สําหรับบทความวารสารให้ระบุเลขหน้าได้ เลยโดยไม่ต้องใส่คําว่า “หน้า”

        ๙. การเรียงลําดับบรรณานุกรม บรรณานุกรมภาษาไทยเรียงตามลําดับอักษรชื่อผู้แต่งตาม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หากชื่อตัวซ้ํากันจึงเรียงลําดับตามอักษรชื่อสกุล

แบบแผนการเขียนบรรณานุกรม

๑. หนังสือทั่วไป

ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์), ชื่อหนังสือ ครั้งที่พิมพ์, เมืองที่พิมพ์ : สํานักพิมพ์ ตัวอย่าง จํานงค์ ทองประเสริฐ. (๒๕๒๘). ภาษาไทยไขขาน. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร : เฉลิมชาญการพิมพ์

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก