จริยธรรมในการ ทํา ธุรกิจ ดิจิทัล 13. ข้อ

 หลักจริยธรรมธุรกิจและจรรยาบรรณของบริษัท

1. ความซื่อสัตย์ (Honesty)
ผู้บริหารควรมีความซื่อสัตย์สุจริตต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องและไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดโดยเจตนาหรือหลอกลวงผู้อื่นโดยการบิดเบือนสารสนเทศ พูดเกินความจริง พูดความจริงบางส่วน เลือกปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ หรือโดยวิธีการอื่นๆ

2. คุณธรรม (Integrity)
ผู้บริหารควรแสดงออกถึงคุณธรรมของตนและมีความกล้าที่จะทำตามสิ่งที่ตนเองเชื่อโดยกระทำในสิ่งที่ตนคิดว่าถูกต้อง ถึงแม้ว่าจะมีแรงกดดันให้ทำตรงกันข้าม เป็นคนที่ยึดมั่นในหลักการ น่าเคารพนับถือ และมีความเที่ยงธรรม ผู้บริหารควรต่อสู้เพื่อความเชื่อของตนและไม่ยอมละทิ้งหลักการเพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่งจนกลายเป็นคนหลอกลวงหรือไม่มีคุณธรรม

3. ความน่าเชื่อถือไว้วางใจ (Trust Worthiness)
ผู้บริหารควรเปิดเผยและจัดหาสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง และแก้ไขความเข้าใจผิดจากข้อเท็จจริง ผู้บริหารควรพยายามในวิถีทางที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุคำมั่นสัญญาของตนและผู้บริหารไม่ควรใช้เครื่องมือที่มีอยู่ในทางที่ไม่ถูกต้องและใช้การตีความทางกฎหมายที่ไม่เหมาะสมใช้เป็นเหตุผลที่จะไม่ให้ความร่วมมือหรือหลีกเลี่ยงข้อตกลงที่วางไว้

4. ความจงรักภักดี (Loyalty)
ผู้บริหารควรแสดงความจงรักภักดีต่อบริษัทโดยการช่วยเหลือและอุทิศตนต่อหน้าที่ ผู้บริหารไม่ควรใช้หรือเปิดเผยสารสนเทศที่เป็นความลับเพื่อความได้เปรียบส่วนบุคคล แต่ควรดำรงไว้ซึ่งความสามารถในการตัดสินใจอย่างมืออาชีพที่เป็นอิสระโดยหลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่เหมาะสมและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และมีความซื่อสัตย์ต่อบริษัทและผู้ร่วมงาน นอกจากนี้ถ้าผู้บริหารมีความตั้งใจที่จะลาออก ผู้บริหารควรบอกกล่าวล่วงหน้าอย่างเหมาะสม รวมถึงให้ความสำคัญกับสารสนเทศของบริษัท และไม่กระทำกิจการที่ใช้ประโยชน์จากตำแหน่งหน้าที่การงานเดิมของตน

5. ความยุติธรรม (Fairness)
ผู้บริหารควรมีความยุติธรรมและคุณธรรมต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ และไม่ใช้วิธีการโกงหรือวิธีการที่ไม่เหมาะสมเพื่อให้ได้มาหรือรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์หรือข้อได้เปรียบจากความเข้าใจผิดหรือจากความทุกข์ของผู้อื่น โดยผู้บริหารที่มีความยุติธรรมควรเปิดเผยข้อตกลงเพื่อให้มีการพิจารณาและปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เปิดใจที่จะยอมรับความเห็นที่ไม่ตรงกันและเต็มใจที่จะยอมรับเมื่อทำผิด และพร้อมเปลี่ยนจุดยืนและความเชื่อที่มีอยู่ไปสู่สิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม

6. การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (Concern for Others)
ผู้บริหารควรเอาใจใส่ เห็นอกเห็นใจ เมตตาปราณีและหวังดีต่อผู้อื่นตามหลักการที่ว่า ให้ปฏิบัติต่อผู้อื่นเช่นเดียวกับที่ต้องการให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อเรา ผู้บริหารควรช่วยเหลือผู้อื่นในสิ่งที่บุคคลนั้นมีความจำเป็นและค้นหาวิธีที่ทำให้ธุรกิจบรรลุวัตถุประสงค์ของธุรกิจไปพร้อมกับวัตถุประสงค์ของผู้อื่น

7. การเคารพต่อหลักสิทธิมนุษยชนสากล (Respect for International Human Rights Principles)
ผู้บริหารควรเคารพในเกียรติของแต่ละบุคคล ความมีอิสระ ความเป็นส่วนตัว การมีสิทธิอันชอบธรรมตามกฎหมายและสิทธิมนุษยชน และผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย การตัดสินใจของผู้บริหารควร มีความเป็นกลางและปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่แบ่งแยกเพศ ชนชั้นหรือเชื้อชาติ

บริษัทนั้นต้องกำหนดให้ กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯทุกคนต้องปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัดโดยถือเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงานและไม่สนับสนุนกิจการที่ละเมิดหลักสิทธิมนุษยชนสากล

8. การปฏิบัติหน้าที่อย่างดี (Commitment to Excellence)
ผู้บริหารควรปฏิบัติตามหน้าที่อย่างดี กล่าวคือ เป็นผู้มีความรู้ ตระเตรียมการ มีความมุมานะ มีความรู้ความเชี่ยวชาญ เพื่อสามารถจัดการกับทุกเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบ

9. ภาวะผู้นำ (Leadership)
ผู้บริหารควรตระหนักถึงความรับผิดชอบและภาวะการเป็นผู้นำของตน และควรจัดหา รูปแบบของข้อพึงปฏิบัติที่เหมาะสม เพื่อประโยชน์สำหรับตนเองและองค์กร อีกทั้งผู้บริหารควรสร้างสภาพแวดล้อมที่ให้ความสำคัญต่อหลักการและการตัดสินใจที่มีจริยธรรมเป็นสำคัญ

10. ชื่อเสียงและคุณธรรม (Reputation and Morale)
ผู้บริหารควรหาทางสร้างชื่อเสียงให้บริษัทและสร้างคุณธรรมในหมู่พนักงาน โดยร่วมกันไม่ดำเนินการใดๆ ซึ่งอาจเป็นการทำลายความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทและพนักงาน ในทางกลับกันพนักงานต้องร่วมกันดำเนินการใดๆ ที่จำเป็นเพื่อแก้ไขหรือป้องกันพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมของคนอื่น

11. ความรับผิดชอบตามหน้าที่ (Accountability)
ผู้บริหารควรตระหนักและรับผิดชอบตามหน้าที่ของตนโดยคำนึงถึงจริยธรรมที่ใช้สำหรับการตัดสินใจ และในการละเว้นบางสิ่งเพื่อบริษัท ตนเอง ผู้ร่วมงาน และชุมชน

12. นโยบายการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Policy on Compliance with the Law and Relevant Rules and Regulations)
บริษัทนั้นต้องมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจสำหรับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานดังนี้

• ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและเคารพจารีตประเพณีของประเทศที่บริษัทฯ เข้าไปดำเนินธุรกิจ
• ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
• ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของบริษัทฯ อย่างเคร่งครัด
• ต้องไม่ช่วยเหลือหรือสนับสนุน การหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎระเบียบต่างๆ
• ต้องให้ความร่วมมือกับหน่วยงานกำกับดูแลและรายงานข้อมูลเกี่ยวกับการฝ่าฝืนหรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎระเบียบต่างๆ ต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง

13. นโยบายความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interest)
บริษัทนั้นต้องให้ความสำคัญต่อกิจกรรมที่อาจเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์และรายการที่เกี่ยวโยงกัน ตามแนวทางปฏิบัติสำหรับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานดังนี้

• หลีกเลี่ยงการทำรายการที่เกี่ยวโยงกับตนเอง ที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัทนั้น
• ในกรณีที่จำเป็นต้องทำรายการเช่นนั้น ให้คำนึงถึงผลประโยชน์ของบริษัทฯ และให้ทำรายการนั้นเสมือนการทำรายการกับบุคคลภายนอก โดยกรรมการ ผู้บริหาร พนักงานหรือผู้มีส่วนได้เสียในรายการนั้นต้องไม่มีส่วนในการพิจารณาอนุมัติ
• ในกรณีที่เข้าข่ายเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกันภายใต้ประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และการเปิดเผยข้อมูลรายการที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทจดทะเบียนอย่างเคร่งครัด
• ในกรณีที่กรรมการ ผู้บริหาร พนักงานหรือบุคคลในครอบครัวเข้าไปมีส่วนร่วมหรือเป็นผู้ถือหุ้นกิจการที่แข่งขันกับธุรกิจของบริษัทนั้น หรือกิจการใดๆ ที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัทนั้น จะต้องแจ้งต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
• ในกรณีที่กรรมการ ผู้บริหาร หรือ พนักงานไปเป็นกรรมการ หุ้นส่วน หรือที่ปรึกษาในบริษัท หรือองค์กรทางธุรกิจอื่นๆ การดำรงตำแหน่งนั้นจะต้องไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของบริษัทฯ และการปฏิบัติหน้าที่โดยตรงในบริษัทนั้น

14. นโยบายการรักษาข้อมูลความลับ (Confidentiality of Information)
บริษัทนั้นต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการใช้ข้อมูลของบริษัท โดยปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและสอดคล้องกับกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยบริษัทฯ ได้กำหนดให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานให้ความสำคัญต่อการเก็บรักษาข้อมูลความลับของบริษัทนั้น เช่น ข้อมูลภายในที่ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ หรือข้อมูลที่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจหรือราคาหุ้น เป็นต้น ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติดังต่อไปนี้

• กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานต้องไม่ใช้ข้อมูลภายในของบริษัทฯ ในการหาประโยชน์ส่วนตนและในเรื่องการทำธุรกิจแข่งขันกับบริษัทนั้น หรือทำธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง
• กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานต้องไม่ใช้ข้อมูลที่มิได้เปิดเผยให้ทราบโดยทั่วไปซึ่งอาจมีผลกระทบกับราคาหุ้น(ข้อมูลภายใน)และต้องละเว้นการทำธุรกรรมเกี่ยวกับหุ้นของบริษัทในช่วงเวลาที่จะมีการประกาศข้อมูลที่ที่สำคัญตามนโยบายที่ถูกกำหนดไว้ นอกจากนี้ข้อมูลภายในของบริษัทนั้น ไม่ควรถูกให้แก่บุคคลอื่น เพื่อประโยชน์ในการซื้อขายหุ้นของบริษัทฯ
• กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานต้องไม่เปิดเผยข้อมูลความลับทางธุรกิจของบริษัทนั้น ต่อบุคคลภายนอก โดยเฉพาะคู่แข่งของบริษัทฯ แม้หลังพ้นสภาพการเป็นกรรมการ ผู้บริหารหรือพนักงานของบริษัทนั้นไปแล้ว

15. นโยบายการปกป้องทรัพย์สินของบริษัท (Properties Protection)
บริษัทนั้นคาดหวังให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงาน มีความรับผิดชอบในการปกป้องดูแลทรัพย์สินของบริษัทฯ และใช้ทรัพย์สินอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและไม่นำทรัพย์สินของบริษัทนั้น ไปใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่น โดยมีแนวทางปฏิบัติดังต่อไปนี้
• ผู้บริหารและพนักงาน ต้องใช้ทรัพย์สินและทรัพยากรของบริษัท อย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่บริษัทนั้น
• ผู้บริหารและพนักงาน ต้องดูแลรักษาทรัพย์สินของบริษัทมิให้เสื่อมเสีย สูญหาย
• กำหนดแนวทางการป้องกันภัยหรือความเสี่ยงภัยที่เกิดต่อทรัพย์สินของบริษัท ที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงาน เช่น ภัยธรรมชาติ อุบัติเหตุ เป็นต้น

16. นโยบายเกี่ยวกับการรับ การให้ของขวัญและสิ่งตอบแทน
บริษัทนั้นต้องกำหนดให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงาน มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการให้และรับของขวัญ ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ดังนี้
• ผู้บริหารและพนักงานถูกห้ามไม่ให้เรียกผลประโยชน์ใดๆ จากคู่ค้าและหรือผู้ที่ทำธุรกิจกับบริษัท
• ผู้บริหารและพนักงานถูกห้ามไม่ให้เสนอผลประโยชน์ใดๆ ต่อบุคคลภายนอก คู่ค้า เพื่อจูงใจให้ปฏิบัติในทางที่มิชอบ
• ผู้บริหารและพนักงานควรหลีกเลี่ยงการให้หรือรับของขวัญหรือสิ่งตอบแทนอื่นใด จากคู่ค้า และ/หรือผู้ที่ทำธุรกิจกับบริษัท เว้นแต่ในโอกาสที่เป็นช่วงเทศกาลในมูลค่าที่เหมาะสม (ไม่เกิน 50 เหรียญดอลลาร์ สหรัฐอเมริกา ต่อคนโดยรวมทั้งหมด) และไม่เกี่ยวข้องกับการผูกมัดทางธุรกิจ

17. จรรยาบรรณว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา
บริษัทนั้นต้องกำหนดให้ กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯทุกคนต้องมีความรอบคอบและความระมัดระวังในงานทรัพย์สินทางปัญญารวมถึงต้องเคารพลิขสิทธิ์ของเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา

18. นโยบายเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตและการให้สินบน
บริษัทนั้นต้องกำหนดให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานมีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริต และการให้สินบน ดังนี้
• บริษัทกำหนดแนวทางในการรับหรือให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่อาจสร้างแรงจูงใจในการตัดสินใจอย่างไม่ชอบธรรมโดยกำหนดเงื่อนไขว่าควรดำเนินการอย่างถูกต้อง ตรงไปตรงมาและต้องมั่นใจได้ว่าการดำเนินการนั้นจะไม่ทำให้เกิดข้อครหาหรือทำให้บริษัทฯเสื่อมเสียชื่อเสียง สิ่งของที่กรรมการบริษัท ได้รับโดยปกติแล้วจะเก็บไว้ในสำนักงาน หรือแจกจ่ายให้กับพนักงานในบริษัทนั้น
• การจัดหาต้องดำเนินตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ตามระเบียบของบริษัทและมีความเป็นธรรมแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยที่การตัดสินใจต้องคำนึงถึงความสมเหตุสมผลด้านราคา คุณภาพและบริการที่ได้รับ รวมทั้งต้องสามารถตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส
• ในการทำธุรกรรมกับภาครัฐ บริษัทฯจะต้องหลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจจูงใจให้รัฐหรือพนักงานของรัฐดำเนินการที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมอย่างไรก็ดีการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันหรือการกระทำใดๆ ในขอบเขตที่เหมาะสมและเป็นธรรมเนียมปฏิบัตินั้นก็สามารถทำได้ เช่น การไปแสดงความยินดีหรือการให้ช่อดอกไม้ในโอกาสต่างๆ เป็นต้น

แนวทางปฏิบัติของบริษัท

1. แนวทางปฏิบัติของผู้บริหาร

• ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส เป็นธรรม เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าในการตัดสินใจและกระทำการใดๆ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องโดยภาพรวม
• ปฏิบัติหน้าที่อย่างมืออาชีพด้วยความรู้ความชำนาญ ความมุ่งมั่นและมีความรอบคอบระมัดระวัง มองเห็นปัญหาล่วงหน้าและหาวิธีการแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นและรักษามาตรฐานการปฏิบัติงานดังกล่าวไว้ รวมถึงมีการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะในการจัดการบริษัทฯ อย่างเต็มความรู้ความสามารถ
• ไม่หาประโยชน์ให้ตนเองหรือผู้ที่เกี่ยวข้องโดยการนำสารสนเทศภายในที่ยังไม่ได้เปิดเผยหรือที่เป็นความลับไปใช้หรือนำไปเปิดเผยกับบุคคลภายนอกหรือกระทำการอันก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
• จัดให้มีการดูแล การตรวจสอบ ทั้งภายในบริษัทและสภาพแวดล้อมของบริษัทโดยสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าได้มีการปฏิบัติตามนโยบายและกระบวนการที่กำหนด
• จัดให้มีการรายงานสารสนเทศที่ถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา และสม่ำเสมอ รวมถึงจัดให้มีการรายงานแนวโน้มในอนาคตของบริษัทบนพื้นฐานของความเป็นไปได้และมีข้อมูลสนับสนุนอย่างเพียงพอ
• ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รักษามาตรฐานอุตสาหกรรมและกำหนดแนวทางปฏิบัติให้ทันต่อเหตุการณ์ มีเอกสารหลักฐานที่เพียงพอและเหมาะสมสำหรับการดำเนินการควบคุมและการดูแลรักษาให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนดสำหรับนำไปใช้ปฏิบัติในทุกระดับของการจัดการ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าธุรกิจดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพเป็นไปตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง มีการแบ่งแยกกิจกรรมดำเนินธุรกิจ และจัดให้มีการอนุมัติการดำเนินการที่เหมาะสมเป็นไปตามที่กฎหมายและข้อกำหนด ที่เกี่ยวข้อง
• พัฒนาบริษัทให้บรรลุถึงเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และเป็นมาตรฐานที่ยอมรับ
• ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบริษัท

2. แนวทางปฏิบัติของคณะกรรมการบริษัท

• กำหนดทิศทาง เป้าหมาย นโยบายและกลยุทธ์ทางธุรกิจ
• ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ความระมัดระวังและรักษาประโยชน์ของบริษัทฯ
• พึงปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจรรยาบรรณและแนวทางกำกับดูแลกิจการที่ดีและข้อบังคับของบริษัท
• ติดตามการดำเนินงานของบริษัทฯ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
• พิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และกำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะอนุกรรมการให้ชัดเจนและเหมาะสม
• พิจารณาการทำรายการทางธุรกิจที่สำคัญของบริษัทด้วยความตั้งใจและขยันหมั่นเพียร
• จัดประชุมคณะกรรมการและพิจารณาวาระการประชุมอย่างเหมาะสม
• ประเมินผลการดำเนินงานของคณะกรรมการอย่างสม่ำเสมอ
• จัดทำแผนสืบทอดตำแหน่งสำหรับผู้บริหารระดับอาวุโสของบริษัท

3. แนวทางปฏิบัติของคณะอนุกรรมการ

• ปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท ด้วยความตั้งใจและขยันหมั่นเพียร
• ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ความระมัดระวังและรักษาประโยชน์ของบริษัทโดยปราศจากความขัดแย้งทางผลประโยชน์
• พึงปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจรรยาบรรณและแนวทางกำกับดูแลกิจการที่ดีและข้อบังคับของบริษัท
• รายงานผลการปฏิบัติงานให้คณะกรรมการรับทราบและพิจารณาอย่างสม่ำเสมอ

4. แนวทางปฏิบัติของกรรมการ

• ขยันหมั่นเพียรปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทฯ
• ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ความระมัดระวังและรักษาประโยชน์ของบริษัท
• พึงปฏิบัติตามกฎหมายกฎเกณฑ์ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจรรยาบรรณและแนวทางกำกับดูแลกิจการที่ดีและดำเนินธุรกิจเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัท
• ติดตามการดำเนินงานของฝ่ายจัดการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย วัตถุประสงค์ของบริษัท
• ดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่ามีการรักษาความลับของสารสนเทศที่เป็นความลับภายในบริษัทฯและยังไม่อนุญาตให้เปิดเผยต่อบุคคลภายนอก และไม่อนุญาตให้เปิดเผยข้อมูลต่อภายนอก และไม่ใช้ข้อมูลภายในของบริษัท ซึ่งยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของตนเอง
• หลีกเลี่ยงการกระทำหรือการตัดสินใจ ที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์

5. แนวทางปฏิบัติของเลขานุการบริษัท

• ขยันหมั่นเพียรปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท
• ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ความระมัดระวังและรักษาประโยชน์ของบริษัท
• ดูแลกิจกรรมต่างๆ ของคณะกรรมการและบริษัทฯ ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจรรยาบรรณและแนวทางกำกับดูแลกิจการที่ดีและดำเนินธุรกิจเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัท
• มีความพร้อมและตั้งใจในการจัดประชุมผู้ถือหุ้นการประชุมคณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการ และการจัดเตรียมรายงานการประชุม
• เป็นสื่อกลางการติดต่อสื่อสารที่ดีระหว่างกรรมการและผู้ถือหุ้น
• รักษาข้อมูลภายในบริษัทให้เป็นความลับ รวมถึงข้อมูลในรายงานการประชุมของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ ของบริษัท และไม่อนุญาตให้เปิดเผยข้อมูลต่อภายนอก และไม่ใช่ข้อมูลภายในของบริษัท ซึ่งยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของตนเอง

6. แนวทางปฏิบัติของพนักงาน

• ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีจรรยาบรรณและความรับผิดชอบต่อบริษัท
• พึงปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจรรยาบรรณและแนวทางกำกับดูแลกิจการที่ดีและข้อบังคับของบริษัท
• ดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่ามีการรักษาความลับของสารสนเทศที่เป็นความลับภายในบริษัทฯและยังไม่อนุญาตให้เปิดเผยต่อบุคคลภายนอก และไม่อนุญาตให้เปิดเผยข้อมูลต่อภายนอก และไม่ใช้ข้อมูลภายในของบริษัทฯ ซึ่งยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของตนเอง
• พึงรักษาและร่วมสร้างสรรค์ให้เกิดความสามัคคีในหมู่พนักงาน

7. นโยบายและแนวทางปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย

บริษัทต้องมีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าอย่างมืออาชีพ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความมีคุณธรรมและจริยธรรม รวมถึงการให้ความสำคัญของการปฏิบัติที่ดีต่อผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ทุกฝ่าย ด้วยเหตุนี้คณะกรรมการ และผู้บริหารระดับสูง จึงกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ดีต่อผู้มีส่วนได้เสียขึ้น เพื่อเป็น แนวทางการทำงานที่ดี และ ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีจรรยาบรรณ ดังต่อไปนี้

แนวทางปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้น

• บริษัทต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นและกลุ่มผู้ให้การสนับสนุนทางการเงินในเรื่องที่เกี่ยวกับการเปิดเผยสารสนเทศ วิธีการปฏิบัติทางบัญชี การใช้สารสนเทศภายใน ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยผู้บริหารจะต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต ตลอดจนตัดสินใจดำเนินการใดๆ ด้วยความสุจริตใจ และเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นทั้งรายใหญ่และรายย่อย และเพื่อผลประโยชน์โดยรวม

แนวทางปฏิบัติต่อลูกค้า

• บริษัทตระหนักเป็นอย่างดีถึงความสำคัญของลูกค้าของบริษัทและมั่นใจว่าเงื่อนไขทางการค้าต่างๆ เป็นไปด้วยความเป็นธรรมตามมาตรฐานการค้าโดยทั่วไป ความลับของลูกค้าควรเก็บเป็นความลับและใช้ในธุรกิจ โดยไม่มีการเปิดเผย ยกเว้นการบังคับตามกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ หรือการยินยอมจากผู้เป็นเจ้าของสารสนเทศ รวมถึงประเด็นทางด้านการตลาด การกำหนดราคา รายละเอียดบริการ คุณภาพและความปลอดภัยของการให้บริการ

แนวทางปฏิบัติต่อคู่ค้าและ/หรือเจ้าหนี้

• บริษัทควรแน่ใจว่ามีการปฏิบัติที่ดีต่อคู่ค้า ได้แก่ กระบวนการสั่งซื้อจากผู้ขายและการปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ต่อเจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้เงินกู้ยืม เช่น การเบิกใช้ การชำระหนี้ หลักประกัน และข้อตกลงทางธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

แนวทางปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้า

• บริษัทได้ปฏิบัติภายใต้กรอบกติกาของการแข่งขันที่ดี ไม่ทำลายชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้าด้วยการกล่าวหาบริษัทที่เป็นคู่แข่งทางการค้าด้วยข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง รวมถึงไม่เข้าถึงสารสนเทศที่เป็นความลับของคู่แข่งด้วยวิธีการที่ไม่สุจริตหรือไม่เหมาะสม

แนวทางปฏิบัติต่อพนักงาน

• บริษัทตระหนักเป็นอย่างดีว่า พนักงานเป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจของบริษัท จึงกำหนดวิธีการจ้างงาน ความเท่าเทียมกันในโอกาสของการจ้างงาน ความมั่นคงและความก้าวหน้าทางอาชีพ และหลักการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพนักงานและการจ้างงานและทำให้มั่นใจได้ว่าพนักงานมีความรู้ความชำนาญที่จำเป็นสำหรับการดำเนินงานในธุรกิจ รวมถึงความเข้าใจในข้อพึงปฏิบัติ มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง แนวทางปฏิบัติที่กำหนดไว้ และข้อตกลงในการที่จะปรับปรุงความรู้ความสามารถเพื่อทำให้การพัฒนาเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับแนวโน้มของอุตสาหกรรมในอนาคต

แนวทางปฏิบัติต่อชุมชนและสังคม

บริษัทควรตระหนักเป็นอย่างดีถึงความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม รวมถึงการสนับสนุนกิจกรรมของชุมชนและการเอาใจใส่ต่อผลกระทบต่อผู้ที่อยู่รอบข้างมากกว่าที่มีกำหนดไว้ในกฎหมาย และพยายามที่จะค่อยๆ ให้มีการซึมซับเกี่ยวกับความรับผิดชอบทางสังคม

บริษัทคาดหวังที่จะดำเนินธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม ให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีท้องถิ่นที่บริษัทฯ ตั้งอยู่หรือเข้าไปทำธุรกิจ และปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน มุ่งมั่นที่จะใช้ความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะดำเนินการยกระดับคุณภาพของสังคม ทั้งที่ดำเนินการเองและร่วมมือกับภาครัฐและชุมชน

8. นโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

บริษัทควรมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจตามมาตรฐานของความปลอดภัย ชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมอย่างสูงสุด ซึ่งได้มีแนวทางปฏิบัติดังต่อไปนี้

• ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ ในด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมของประเทศ ที่บริษัทฯ เข้าไปทำธุรกิจ
• ปฏิบัติตามมาตรฐานเพื่อก่อให้เกิดความปลอดภัยในสุขภาพและสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับพนักงานทุกคน
• ส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขอนามัย ความปลอดภัยในทุกระดับ ตลอดจนสนับสนุนวิธีการและการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายของอุตสาหกรรม
• เปิดเผยข้อมูลที่เป็นจริง ในเรื่องความปลอดภัย ชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของบริษัท

จริยธรรมในการในการทำธุรกิจดิจิทัลมีอะไรบ้าง

จริยธรรมในการทา ธุรกิจดิจิทัล 1. ขายสินค้าและบริการในราคายุตธรรมและตรงตามคุณภาพที่ระบุไว้ 2. ละเว้นการกลั่นแกล้ง ให้ร้าย ข่มขู่หรือกีดกัน ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม 3. ควรตรงไปตรงมาชัดเจนแน่วแน่น 4. ไม่ละเมิดสิทธิทางปัญญาของบุคคลอื่น 5. ไม่ส่งสแปมเมลหรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ขยะ เพื่อสร้างความราคาญ ให้แก่ผู้รับ

จริยธรรมในการทําธุรกิจ มีอะไรบ้าง

1.ความซื่อสัตย์ 2. ความยุติธรรม 3. ความรับผิดชอบ 4. ความน่าเชื่อถือ 5. การเคารพสิทธิของบุคคล 6. การบ ารุงรักษาสิ่งแวดล้อม

เพราะเหตุใดจึงต้องมีจริยธรรมทางธุรกิจ

1. ช่วยให้ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมได้ใช้วิชาชีพในทางที่ถูกต้องเหมาะสมต่อลูกค้า ลูกจ้าง พนักงานตลอดจนมีมีความสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบในงานของตน 2. ช่วยส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าและบริการให้มีคุณภาพเป็นที่เชื่อถือและไว้ใจได้ของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด

จริยธรรมทางธุรกิจคืออะไร

จริยธรรมทางธุรกิจ คือ แนวปฏิบัติหรือตัวกำหนดว่าสิ่งใดถูก สิ่งใดผิด หรือสิ่งใดเหมาะสมในที่ทำงาน เป็นการศึกษาว่าธุรกิจควรดำเนินการอย่างไรเมื่อต้องเผชิญกับประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม หรือสถานการณ์ความขัดแย้งต่างๆที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงวิธีการควบคุมธุรกิจ บทบาทของธุรกิจในประเด็นทางสังคม และอื่น ๆ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก