งานวิจัยการสอนภาษาอังกฤษ full text

อภิวันทน์ เพชรแสนค่า. 2562. ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาภาษาอังกฤษ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. , มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์;

อภิวันทน์ เพชรแสนค่า. (2562) ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาภาษาอังกฤษ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 . มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์/บุรีรัมย์.

อภิวันทน์ เพชรแสนค่า. ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาภาษาอังกฤษ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. . บุรีรัมย์:มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 2562.

อภิวันทน์ เพชรแสนค่า. (2562) ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาภาษาอังกฤษ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 . มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์/บุรีรัมย์.

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดสมดุลภาษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6The Development of the English Instructional Model Based on Balanced Approach for Prathomsuksa 6 Studentsผู้จัดทำปัณณิศา ไชยลือชา รหัส 533JCe123 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา วิจัยหลักสูตรและการสอนปี พ.ศ.2559ที่ปรึกษาผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประยูร บุญใช้บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดสมดุลภาษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน  วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ  1) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดสมดุลภาษา  2) การสร้างและพัฒนาเครื่องมือในการวิจัย  และ 3) การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนอนุบาลศรีวิไล จำนวน 53 คน  แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 22 คน  กลุ่มควบคุม 31 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและแบบวัดเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษ  วิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ Dependent Samples t-test และ One Way ANCOVA 

ผลการวิจัยพบว่า

1.  รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่  1) แนวคิดทฤษฎีพื้นฐาน  2) หลักการ  3) วัตถุประสงค์  4) เนื้อหา  5) กระบวนการเรียนการสอน และ 6) การวัดและประเมินผล โดยกระบวนการเรียนการสอนมี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นสาธิต 2) ขั้นเรียนรู้ 3) ขั้นฝึกทักษะ 4) ขั้นนำไปใช้ และ 5) ขั้นสรุปและประเมินผล 

2.  ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสรุปได้ ดังนี้

2.1  นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดสมดุลภาษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.2  นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีปกติมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.3  นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดสมดุลภาษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.4  นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดสมดุลภาษามีเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.5  นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีปกติมีเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.6  นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดสมดุลภาษามีเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Abstract

The purposes of this research were  1)  to develop the English instructional model based on Balanced Approach for Prathomsuksa 6 students, and  2) to examine the effects after the implementation of the instructional model based on Balanced Approach for Prathomsuksa 6 students. The research method consisted of three stages: 1) the development of the instruction model  2) the development of research instruments, and 3) the implementation of the developed instructional model.  The samples of this research were 53 Prathomsuksa 6 students of Anuban Sriwilai School.  The participating students were divided into two groups, 22 as the experimental group and 31 as the control group.  The instruments of this research included the English achievement tests and the attitude questionnaires toward English subject.  Both quantitative and qualitative data analysis approaches were employed.  Statistics used included mean, standard deviation, t-test for Dependent Samples, and One Way ANCOVA.  

The research findings were as follows:

1.  The developed instructional model contained six components: 1) fundamental concepts and theories,  2) principles,  3) objectives,  4) contents,  5) learning and teaching process, and  6) assessment and evaluation.  The learning and teaching process involved five stages: 1) demonstration, 2) learning, 3) practice, 4) knowledge application, and 5) summarization and evaluation.  

2.  The implementation of the developed instructional model can be summarized as follows: 

2.1  The learning achievement scores of the students after learning through the English instructional model based on Balanced Approach were higher than before the experiment at the .01 level of significance.

2.2  The learning achievement scores of the students after learning through a normal classroom approach were higher than that of before the experiment at the .01 level of significance.

2.3  The learning achievement scores of the students after learning through the English instructional model based on Balanced Approach were higher than that of the students who were taught through a normal classroom approach at the .01 level of significance.

2.4  The attitudes scores of the students after learning through the English instructional model based on Balanced Approach were higher than that of before the experiment at the .01 level of significance.

2.5  The attitudes scores of the students after learning through a normal classroom approach were higher than that of before the experiment at the .01 level of significance.

2.6  The attitudes scores of the students after learning through the English instructional model based on Balanced Approach were higher than that of the students who were taught through a normal classroom approach at the .01 level of significance.

คำสำคัญรูปแบบการเรียนการสอน, รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ, แนวคิดสมดุลภาษาKeywordsไฟล์วิทยานิพนธ์วันที่นำเข้าข้อมูล18 ธันวาคม 2560 - 15:37:28

View 2229 ครั้ง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก