Double Diamond Design Process คือ

Design Thinking คือการนำกระบวนการคิดอย่างนักออกแบบมาใช้ทำความเข้าใจและความต้องการของมนุษย์เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเริ่มใช้ครั้งแรกในประเทศอังกฤษ

แนวคิดเรื่อง Design Thinking ถูกนำมาใช้ตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย Design Council ประเทศอังกฤษ ที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจของของการออกแบบอุตสาหกรรมในประเทศ ต่อมา นักเศรษฐศาสตร์ เฮอร์เบิร์ต ไซมอน (Herbert A. Simon) ได้เขียนหนังสือถึงรูปแบบของการออกแบบ ทำให้เกิดแนวคิดการให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้ใช้งาน นำไปสู่กระบวนการค้นหาความต้องการของผู้ใช้ เน้นการมีส่วนร่วมและการทดลองพัฒนาผลลัพธ์ที่เน้นความง่ายและความสนุก โดยการสื่อสารผ่านภาพ มีทั้งหมด 3 รูปแบบด้วยกัน

Double Diamond

Double Diamond คือ การคิดสร้างทางเลือกและการรวบประเด็น เป็นลักษณะเหมือนเพชรสองชิ้น โดยเริ่มจากการค้นคว้า ตั้งคำถามในหลายมิติ เพื่อลงลึกในประเด็นที่สนใจ เมื่อได้เนื้อหาแล้วจึงสรุปและทำการวิเคราะห์และตั้งคำถามเพื่อเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป จากนั้นเราก็พยายามหาคำตอบเพื่อตอบคำถามที่เราตั้งไว้ด้วยการระดมความคิดและประเมินร่วมกัน จนสุดท้ายเราสร้างแบบจำลองหรือทำการทดลองขึ้นมาเพื่อทดสอบคำตอบที่เราได้มาว่าเป็นอย่างไร  กระบวนการนี้เป็นกระบวนการคิดที่พัฒนาโดย Design Council ประเทศอังกฤษ

แผนภูมิ Double Diamond อ้างอิง Design Council 2020

d.school

กระบวนการออกแบบของ d.school สถาบันด้านการออกแบบของ มหาวิทยาลัยแสตนด์ฟอร์ด (Stanford University) มีความใกล้เคียงกับกระบวนการ Double Diamond แต่ได้เพิ่มขั้นตอนที่ใช้ในการสร้างความเข้าใจ (Empathy) เพื่อตอบสนองความต้องการมากขึ้น  โดยเริ่มจากการสร้างความเข้าใจ (Empathize) การระบุประเด็น (Define) การระดมความคิด (Ideate)  การสร้างต้นแบบ (Prototype) และการทดสอบ (Test) กระบวนการนี้สามารถคิดกลับไปมาตรวจสอบสมมติฐานและระดมความคิดใหม่เพิ่มเติมได้ตลอดเวลา เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สมบูรณ์ที่สุด

แผนภูมิกระบวนการคิดที่มีรูปแบบไม่เป็นเส้นตรง Friis Dam and Teo 2020

IDEO’s Design Process

กระบวนการคิดของ IDEO บริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจชื่อดังของโลก ผู้คิดค้นเมาส์ตัวแรกของโลกให้ Apple ทั้งยังช่วย IKEA ออกแบบเครื่องครัวสำหรับอนาคตด้วย (IDEO 2020c) ก่อตั้งโดย Tim Brown ผู้เขียนหนังสือ Change by Design ได้กล่าวถึงการสร้างสรรค์ทางออกใหม่ ที่ตั้งอยู่บนฐานของ ความต้องการ (Desirability) สามารถทำได้จริง (Viability) และความคุ้มค่า (Feasibility) โดยมีกระบวนการคิด 3 ขั้นตอน คือ การหาแรงบันดาลใจ (Inspiration) มองเห็นภาพรวมประเด็นปัญหาหรือประเด็นที่ต้องการแก้ไข การระดมความคิด (Ideation) หาความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหา ทำการสรุปแนวความคิดและหาความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ และการประยุกต์ใช้ (Implementation) สรุปจากการระดมความคิดให้ได้วิธีการแก้ไขปัญหา

วิธีการคิดแบบสร้างทางเลือกและการสรุปผล IDEO 2020b
แผนภูมิกระบวนการคิดของ IDEO

กระบวนการทำ Design Thinking ทั้ง 3 วิธีมีความคล้ายคลึงและแตกต่างกันตามประเด็นที่แต่ละสถาบันให้ความสำคัญ แต่จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก คือ การหาแรงบันดาลใจ (Inspiration) การระดมความคิด (Ideation) และการประยุกต์ใช้ (Implementation)

การเปรียบเทียบกระบวนการ Design Thinking 3 รูปแบบ

ประเด็นสำคัญของการทำกระบวนการ Design Thinking คือต้องพิจารณาความต้องการของผู้ใช้เป็นสำคัญและต้องมีการทดสอบผลลัพธ์ เพื่อพิสูจน์ว่าวิธีการที่คิดค้นขึ้นมานำไปใช้งานได้และตอบโจทย์อย่างแท้จริง หากพบว่าไม่ตอบโจทย์ที่ตั้งไว้ สามารถนำกลับไปเข้ากระบวนการคิดอีกครั้งได้

การนำเอาแต่ละแนวคิดมาประยุกต์เป็นกระบวนการ Design Thinking อ้างอิง (Nessler 2018)

ในกระบวนการ Design Thinking ส่วนสำคัญในการที่จะทำให้ได้โจทย์และผลลัพธ์ที่เหมาะสมที่สุด คือ การเลือกใช้เครื่องมือในการดำเนินกิจกรรมของกระบวนการ Design Thinking โดยต้องพิจารณาจากภูมิหลังของผู้เข้าร่วมกระบวนการ ระยะเวลาของกระบวนการและผลลัพธ์ที่คาดหวัง ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติม เรื่องเครื่องมือในกระบวนการ Design Thinking ได้ใน //www.designkit.org/methods

อ้างอิงข้อมูลจาก

Design Council. 2020. “What Is the Framework for Innovation? Design Council’s Evolved Double Diamond.” 2020. //www.designcouncil.org.uk/news-opinion/what-framework-innovation-design-councils-evolved-double-diamond.

Friis Dam, Rikke, and Yu Siang Teo. 2020. “5 Stages in the Design Thinking Process.” 2020. //www.interaction-design.org/literature/article/5-stages-in-the-design-thinking-process.

Gerber, Niklaus. 2020. “A Critical Review of Design Thinking.” 2020. //medium.com/@niklausgerber/a-critical-review-of-design-thinking-44d8aed89e90.

IDEO. 2020a. “Design Kit.” 2020. //www.designkit.org/methods.

———. 2020b. “Design Thinking.” 2020. //designthinking.ideo.com/.

———. 2020c. “Work: A Selection of Case Studies.” 2020. //www.ideo.com/work.

Kelley, David, and Tim Brown. 2018. “An Introduction to Design Thinking.” Iinstitute of Design at Stanford. //doi.org/10.1027/2151-2604/a000142.

Nessler, Dan. 2018. “How to Apply a Design Thinking, HCD, UX or Any Creative Process from Scratch—— Revised & New Version.” Digital Experience Design, 1–11. //uxdesign.cc/how-to-solve-problems-applying-a-uxdesign-designthinking-hcd-or-any-design-process-from-scratch-v2-aa16e2dd550b.

Content by Onkamon Nilanon

โมเดลเพชรคู่ มีอะไรบ้าง

โมเดลเพชรคู่ (Double Diamond) กระบวนการของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) ที่นำมาประยุกต์ใช้กับองค์กรได้อย่างเหมาะสม.
Empathize – เข้าใจปัญหา.
Define – กำหนดปัญหาให้ชัดเจน.
Ideate – ระดมความคิด.
Prototype – สร้างต้นแบบที่เลือก.
Test – ทดสอบ.

ขั้นตอนที่สาม (Ideate) คือขั้นตอนใด

3. Ideate. ในขั้นตอนที่สามของกระบวนการ Design Thinking เป็นขั้นที่เราจะเริ่มนำไอเดียที่ได้มาสร้างให้เป็นรูปธรรม จากขั้นแรกที่ทำให้เราเข้าใจผู้บริโภคมากขึ้น ส่วนขั้นที่สองเราได้วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล จากนั้นด้วยวัตถุดิบที่เรามีอยู่ในมือ สมาชิกทีมอาจเริ่มที่จะ “คิดนอกกรอบ” เพื่อมองหาวิธีแก้ปัญหาใหม่ๆ

หลักการ Design Thinking Process 5 ขั้นตอน มีอะไรบ้าง

Design Thinking หรือการคิดเชิงออกแบบ คือ กระบวนการทำความเข้าใจปัญหาของผู้ใช้ นำเสนอทางแก้ไข ปัญหาแบบใหม่ที่อาจไม่เคยคิดมาก่อน ผ่าน 5 ขั้นตอน ได้แก่การเข้าใจ นิยาม สร้างสรรค์ จำลอง และ ทดสอบ (Empathize Define Ideate Prototype & Test) โดย Design Thinking ถือว่าเป็นกระบวนการ สร้างนวัตกรรมอย่างหนึ่ง

Ideate มีความหมายว่าอย่างไร

ในการคิดเชิงออกแบบ หรือ Design Thinking จะมีขั้นตอนที่ต้องระดมสมองเพื่อค้นหาไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่เรียกว่า Ideate ซึ่งมาจากคำว่า Idea หรือ ความคิด กับคำว่า Creative สร้างสรรค์ เป็นคำว่า Ideate ซึ่งหมายถึงการค้นหาความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆนั้นเองค่ะ หรือเป็น Creatvie Thinking นั้นเองค่ะ Idea + Creative = Ideate.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก