หูฟังบลูทูธ ต้องชาร์จแบต ไหม

หูฟังไร้สาย หูฟัง Bluetooth กำลังเป็นที่นิยม ไม่ว่าจะไปบ้านไหนเมืองไหนก็ฮิตกันสุดๆ แต่หูฟังแต่ละยี่ห้อทำมาไม่เหมือนกัน นี่คือ 5 ข้อที่รู้ก่อนตัดสินใจซื้อพี่หมีขอบอก

#1 เลือกให้ถูกกับการใช้งาน [ Sport, Travel, Casual ]

หลายคนเลือกหูฟังจากรูปลักษณ์การดีไซน์ก่อนโดยที่ไม่ได้ดูว่ามันถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานยังไง การใช้งานที่ผิดวิธีจะส่งผลให้อายุการใช้งานของหูฟังสั้นลงนะครับ เช่น จากปกติ 2 ปี อาจะเหลือไม่ถึง 6 เดือน

หูฟัง Sport จะถูกออกแบบมาเพื่อทนทานต่อการใช้งานอย่างหนักหน่วง และ จุดเด่นคือกันน้ำกันเหงื่อ เมื่อใช้เสร็จสามารถนำไปล้างได้โดยหูฟังไม่เสียหาย และวัสดุที่มากับหูฟังประเภทนี้จะช่วยป้องกันเรื่องแบคทีเรียด้วย

หูฟัง Travel ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานที่ยาวกว่าปกติ โดยที่ใส่แล้วไม่รู้สึกอึดอัด โดยมาตรฐานที่ทุกคนพยายามทำให้ได้คือ การนั่งเครื่องบินระยะไกลที่ใช้เวลาบิน 20 – 30 ชั่วโมง หูฟังกลุ่มนี้เลยจะมีแบตอึด อยู่ได้นานกว่า 30 ชั่วโมง ตัว earcupใส่สบายไม่อึดอัด และที่สำคัญน้ำหนักต้องเบา เพื่อไม่ทำให้น้ำหนักไปลงที่คอจนเกิดความเครียด

หูฟัง Casual คือหูฟังไร้สายทั่วไป เน้นไว้ใส่เล่น เดินห้าง ช็อป ชิม ชิล ใส่สวยๆ เก๋ๆ ชิคๆ โดนละอองน้ำได้บ้าง แบตพอประมาณ ดีไซน์สวย … นี่คือหูฟังไร้สายในตลาดส่วนใหญ่คือหูฟัง Casualนี่ล่ะ

คำแนะนำจากพี่หมี เลือกหูฟังให้เหมาะกับการใช้งาน แล้วชีวิตจะดีครับ แถมได้อายุการใช้งานที่คุ้มค่าด้วย เช่น บางคนเอาหูฟัง Travel ไปออกกำกายในยิม มันก็ใช้ได้ครับ แต่ถ้าเหงื่อทะลักเป็นน้ำตก โดยบ่อยๆ ก็แพ็ดเปื่อย ลำโพงดับ หมดประกันครับ ส่วนหูฟังสำหรับใช้งานจริงจัง อย่างหูฟัง Monitor เค้าไม่ค่อยทำเป็น Bluetooth ครับ ไม่ต้องตามหากัน

Jaybird RUN Sport Earphone

#2 Battery Life [ 2 – 30 ชั่วโมง]

หูฟัง Bluetooth แต่ละตัวมากับขนาดที่ต่างกัน จริงๆ เราสามารถบอกถึงความจุ Battery ได้จากขนาดหูฟังนี่ล่ะ โดยทั่วไประยะเวลาการใช้งานของหูฟัง Bluetoothจะอยู่ที่ 2, 7, 30 ชั่วโมง ก็จะมากจะน้อยยังไงขึ้นกับการใช้งาน

เราคงไม่อยากพกหูฟังหนักๆ ไปออกกำลังกาย แล้วก็คงมีไม่กี่คนที่ออกกำลังกายมากกว่า7 ชั่วโมงต่อครั้ง เพราะงั้นหูฟังขนาดเล็ก และหูฟัง Sportจะมีแบตไม่เกิน 7 ชั่วโมง

ส่วนหูฟัง True Wireless ส่วนใหญ่แบตอยู่ที่ 2 – 4 ชั่วโมง (เมื่อใช้หูฟังอย่างเดียว)

ถ้าใครอยากได้หูฟังที่มีแบตยาวๆ ให้ดูพวกหูฟังสำหรับใช้ระยะเดินทาง Travel ครับ รับรองได้แบตยาว 20-30 ชั่วโมงแน่นอน

คำแนะนำจากพี่หมี ตัวเลขที่บอกเป็นระยะเวลาการใช้งานนะครับ ส่วนระยะเวลา standby หลายๆ ตัวอยู่ได้เป็นสัปดาห์โดยไม่ต้องปิด แต่ก็มีหลายรุ่น โดยเฉพาะรุ่นใหม่ๆ จะฉลาดมาก ถ้าเราไม่ได้ใช้งานเป็นระยะเวลานึง หูฟังมันก็จะปิดตัวเอง

#3 ประสิทธิภาพการกันน้ำ [ Water Resistant / Water Proof / IPX ]

เจ้า 3 คำนี้อ่านผ่านๆ เหมือนจะไม่ต่างกัน แต่ความหมายมันต่างกันค่อนข้างมาก จะสำคัญสำหรับคนที่กำลังมองหาหูฟังไปใช้ออกกำลังกาย

Water Resistant หมายความว่า สามารถโดนน้ำได้ แต่ไม่สามารถกันน้ำได้ ยกตัวอย่างเช่น เหงื่อไหลไปโดน โดนฝนน้ำนิดหน่อย เอาผ้าชุบน้ำเช็ด หรือบางทีเปิดน้ำก็อกล้าง ก็จะไม่เป็นอะไรไม่ทำให้อุปกรณ์เสียหาย

Water Proof คือมีความสามารถในการกันน้ำและต้านทานไม่ให้น้ำเข้าไปภายในอุปกรณ์ได้ เช่น เปิดน้ำก็อกใส่ตรงๆ หรือ ใส่ว่ายน้ำได้เป็นต้น

IPX คือค่ามาตรฐานสากลที่บอกถึงความสามารถในการต้านทานการรุกล้ำจากสิ่งภายนอก (ทั้งของแข็ง และ ของเหลว)​ หูฟังส่วนใหญ่เดี๋ยวนี้จะมาพร้อมกับ IPX6, IPX7 ซึ่งหมายความว่าทนต่อการแทรกซึมของน้ำได้อย่างดี เช่น หูฟัง IPX7 สามารถใส่ลงสระน้ำได้ (แต่ไม่แนะนำให้ใส่ดำน้ำลึกเกิน1 เมตรนะ) ใครอยากเข้าใจเรื่อง IPX Index ลองอ่านที่บทความ IPX มาตรฐานความอึด ไม่รู้คือเชย ของพี่หมีเลยจ้า

คำแนะนำจากพี่หมี ถ้าเราไม่ได้มองหาหูฟังออกกำลังกาย ค่าพวกนี้จะไม่ค่อยสำคัญเท่าไหร่ เพราะเมื่อหูฟังสามารถกันน้ำได้ดีๆ มันก็จะเสียคุณภาพเสียงไปด้วย เพราะการที่จะป้องกันน้ำเข้าให้ได้ก็ต้องปกป้องลำโพงหูฟังเป็นพิเศษ ทำให้ช่องลำโพงผิดเพี้ยน เสียงส่งออกมาได้ไม่ดีอย่างที่ควร

#4 มาตรฐานในการรับส่ง [ SBC, LDAC, aptX, aptX HD]

หลายคนอาจจะงงว่าไอ้พวกนี้มันคืออะไร แล้วสำคัญด้วยเหรอ มันคือสิ่งที่คนหูทองและคนที่ต้องการฟังเสียง hi-res ตามหาครับ เจ้าค่าพวกนี้มันเป็นชื่อของ CODEC ที่ทำงานบนอุปกรณ์ Bluetooth แต่ละตัวดีแตกต่างกันไป

SBC คือ CODEC ที่อุปกรณ์ Bluetooth ทุกตัวบนโลกต้องมี CODEC ตัวนี้จะเน้นที่การรองรับอุปกรณ์หลากหลายยี่ห้อ เน้นการประหยัดพลังงาน แลกกับจุดด้อยเรื่องคุณภาพเสียงที่ด้อยกว่าตัวอื่น

LDAC เป็น CODEC ที่ถูกพัฒนาโดยบริษัท Sony สำหรับรับส่งเสียงเพลงระดับ Hi-Res รองรับรายละเอียดสูงสุดที่ 24-bits / 96 kHz และมันสามารถปรับลดคุณภาพเสียงลง เพื่อประหยัดไฟและเพิ่มระยะห่างในการรับส่งคลื่นได้อีกด้วย CODEC ตัวนี้อาจจะเห็นได้น้อยหน่อย ส่วนมากจะพบในอุปกรณ์ของ Sony

aptX และ aptX HD เป็น CODEC ที่คนหูทองปัจจุบันกำลังพูดถึงกันมาก มันกลายมาเป็นมาตรฐานในวงการหูฟังไปแล้วโดย aptX รองรับความละเอียดเสียงเพลงเทียบเท่ากับแผ่น CD (16-bits / 44.1 kHz) และ aptX HD รองรับไปสูงถึง 24-bits / 48 kHz เลยทีเดียว นี่คืออนาคตของเสียงไร้สายครับ

คำแนะนำจากพี่หมี พอถามถึงเรื่องคุณภาพเสียง บางทีแค่ CODEC ต่างกัน อาจจะบอกไม่ได้ว่าเสียงที่เราได้ยินมันจะออกดีหรือแย่ ตัวอย่างเช่น หลายๆ คนฟัง SBC เทียบกับ aptX แล้วไม่ค่อยพบความแตกต่างกันเท่าไหร่ หรือ อุปกรณ์บางตัวใช้ SBC แต่มีการปรับปรุงภาคแอมพ์ใหม่ ทำให้ได้เสียงที่ไพเราะกว่า อุปกรณ์ที่รองรับaptX แต่ไม่ปรับปรุงอย่างอื่นเลยก็สามารถเป็นไปได้ พอมาเรื่องเสียงให้ดูที่ผลลัพธ์นะครับ ดูสมการมากๆ บางทีก็ไม่ได้คำตอบ ส่วนพอมาเป็น aptX HD เสียงแตกต่างกันชัดเจนครับ อันนี้ไม่เถียง

#5 Warranty – 6เดือน, 1, 2 ปี

ข้อสุดท้ายที่สำคัญไม่น้อย คือ การรับประกัน ส่วนใหญ่ก็อยู่ที่ 1 ปี บางยี่ห้อใจดีให้ 2 ปี อย่างแบรนด์ Plantronics ให้ประกันยาวๆ 2 ปี ถ้าเสียเปลี่ยนใหม่ ไม่เรื่องมาก

คำแนะนำจากพี่หมี ใครที่จะซื้อหูฟัง Bluetooth ให้ดูเรื่องประกันไว้นะครับ เพราะหูฟังพวกนี้เสียแล้วซ่อมไม่ได้ ต้องเคลมเปลี่ยนตัวใหม่อย่างเดียว ซื้อของหิ้ว ของไม่มีประกัน หรือซื้อ AliExpress แล้วมีปัญหา เคลมกันจนถอดใจกันเยอะแล้ว

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก