การพัฒนาทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

เมนูโรงเรียน

งานประกันคุณภาพ

ฝ่ายบริหารงานงบประมาณ

แบบสำรวจความคิดเห็น

ทำไมต้องพัฒนาทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

ในปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากยุค Analog ไปสู่ยุค Digital และยุค Robotic จึงทำให้เทคโนโลยีดิจิทัลมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตและการทำงาน ข้าราชการซึ่งเป็นแกนหลักของการพัฒนาประเทศ จึงต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับบริบทของการเปลี่ยนแปลง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด culture shock เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี และเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม เช่น การสูญเสียการเป็นส่วนตัว ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การโจรกรรมข้อมูล การโจมตีทางไซเบอร์ เป็นต้น

Digital literacy หรือทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นทักษะด้านดิจิทัลพื้นฐานที่จะเป็นตัวช่วยสำคัญ สำหรับข้าราชการในการปฏิบัติงาน การสื่อสาร และการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นในลักษณะ “ทำน้อย ได้มาก” หรือ “Work less but get more impact” และช่วยส่วนราชการสร้างคุณค่า (Value Co-creation) และความคุ้มค่าในการดำเนินงาน (Economy of Scale) เพื่อการก้าวไปสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือช่วยให้ข้าราชการ สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองเพื่อให้ได้รับโอกาสการทำงานที่ดีและเติบโตก้าวหน้าในอาชีพราชการ (Learn and Growth) ด้วย

Cr.สำนักงาน ก.พ.  //www.ocsc.go.th/

โพสเมื่อ : 18 พ.ค. 2562,00:00   อ่าน 1732 ครั้ง

Digital literacy คืออะไร

             ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ หมายถึง ทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ

     ทักษะดังกล่าวครอบคลุมความสามารถ 4 มิติ

  • การใช้ (Use)
  • เข้าใจ (Understand)
  • การสร้าง (create)
  • เข้าถึง (Access) เทคโนโลยีดิจิทัล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การรู้ดิจิทัล (Digital Literacy)

  • 1. ความหมาย ความสำคัญและผลกระทบของการรู้ดิจิทัล (Digital Literacy)


           ‘การรู้’ (Literacy) หมายถึง ความสามารถอ่านและเขียนในภาษาที่ใช้ร่วมกันของวัฒนธรรม ส่วนการรู้ดิจิทัล หมายถึง การอ่าน และ การเขียนข้อความดิจิทัล เช่น สามารถ ‘อ่าน’ เว็บไซต์ โดยผ่านการเชื่อมโยงหลายมิติ และ   ‘การเขียน’ โดยการอัปโหลดภาพถ่ายดิจิทัลเพื่อเว็บไซต์เครือข่ายสังคม ทักษะการทำงานที่จำเป็นในการดำเนินการและการสื่อสาร ด้วยเทคโนโลยีและสื่อ 
          นอกจากนี้ยังหมายถึงความรู้เกี่ยวกับ ความสำคัญของเทคโนโลยีและสื่อที่มีผลกระทบ แต่ที่สำคัญกว่านั้น คือความสามารถที่จะวิเคราะห์และประเมิน ความรู้ที่มีอยู่ในเว็บไซต์


          

             การรู้ดิจิทัลในรายวิชาต่างๆ ไม่จำเป็นต้องนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงการสอนอย่างสิ้นเชิง ทักษะต่างๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของการเป็นความรู้แบบดิจิทัลโดยเฉพาะอย่างยิ่งการตั้งคำถามที่สำคัญ ทักษะของการศึกษาที่มีประสิทธิภาพและการวิเคราะห์ความผูกพันของผู้เรียนกับเนื้อหาวิชา จะยังคงช่วยให้ครูหาวิธีการสร้างสรรค์ ที่มีประสิทธิภาพและมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร
             การรู้ดิจิทัลมีความหมายมากกว่าทักษะด้าน เทคโนโลยีอย่างง่าย ความเข้าใจรวมถึงทักษะที่ซับซ้อน มากขึ้นขององค์ประกอบและการวิเคราะห์ ความสามารถ ในการสร้างความหลากหลายของเนื้อหาที่มีการใช้เครื่องมือ ดิจิทัลต่างๆ ทักษะและความรู้ที่จะใช้ความหลากหลาย ของการใช้งานซอฟต์แวร์สื่อดิจิทัลและอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ตความสามารถในการเข้าใจสื่อดิจิทัลเนื้อหา การใช้งานและความรู้ความสามารถในการสร้างด้วย เทคโนโลยีดิจิทัล

    รู้ใช้ รู้เข้าใจ รู้สร้างสรรค์ 

    เป็นคำที่แสดงลักษณะความรู้สามารถดิจิทัล

    ใช้ (Use) แสดงถึงความคล่องแคล่วทางเทคนิค ที่จำเป็นในการใช้กับคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

    เข้าใจ (Understand) คือความสามารถที่จะเข้าใจบริบทที่เกี่ยวข้อง และประเมินสื่อดิจิทัล

    สร้างสรรค์ (Create) ความสามารถในการสร้างเนื้อหา และมีประสิทธิภาพ โดยใช้สื่อดิจิทัล

    ความสำคัญของการเรียนรู้ดิจิทัล

            เทคโนโลยีให้โอกาสในการมีส่วนร่วมในชนิดใหม่ของการเรียนรู้ ชุมชน สังคม และกิจกรรมการทำงาน ทุกคนจะต้องมีความรู้ดิจิทัลเพื่อใช้ประโยชน์สูงสุด จากโอกาสเหล่านี้ หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าในขณะที่ เยาวชนคนหนุ่มสาว รู้สึกมั่นใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีนี้ ไม่ได้เป็นสิ่งบ่งบอกถึงสมรรถนะหรือความสามารถ ที่แท้จริง ในด้านทักษะการคิดวิจารณญาณ เช่น ความ ตระหนักถึงกลยุทธ์ทางการค้าหรืออคติจากสื่อต่างๆ ตลอดจนความปลอดภัยในการใช้งาน

            นอกจากนี้การเรียนรู้ดิจิทัลจะมีผลสำคัญ ต่อสังคมโดยรวม ต่อความเสมอภาคในการเข้าถึงข้อมูล การบริการและการจ้างงาน การเข้ากลุ่มทางสังคม และ โอกาสในการเรียนรู้เพิ่มเติม ตลอดจนอาจส่งผลกระทบ ต่อการขยายโอกาสทางธุรกิจ

            การพัฒนาการเรียนรู้ดิจิทัลเป็นเรื่องเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของความรู้ความเข้าใจ ครูทุกคนสามารถนำเสนอมุมมองที่แตกต่างกันในเรื่องวิธีการ ที่เทคโนโลยีสามารถเพิ่มคุณค่าในการเรียนของผู้เรียน

            นอกจากนี้ยังช่วยให้ออนไลน์อย่างปลอดภัยหากผู้เรียน มีความสามารถในการตัดสินใจที่เหมาะสมและมีข้อมูล เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีที่จะส่งผลกระทบ ต่อ การศึกษาตลอดชีวิต รวมถึงชีวิตการทำงานในอนาคต

    ผลกระทบของการรู้ดิจิทัล
    1) เมื่อไม่ใช้วิจารณญาณในการใช้ ก็จะทำให้เกิดปัญหาได้
    2) การหาข้อมูลเป็นเรื่องที่ง่ายและสะดวกสบาย ดังนั้นจึงอาจทำให้เกิดการค้นคว้า
    ข้อมูลที่เป็นเท็จ หากไม่วิเคราะห์หรือทำความเข้าใจให้ดี

    3) การใช้งานที่ง่ายและสะดวกสบาย อาจทำให้ติดนิสัยแล้วไม่อยากทำอะไรที่ยุ่งยาก

    2. วิเคราะห์แนวทางและวิธีการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเรียนรู้

       อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่าย ICT ที่เชื่อมโยง แผ่ขยายครอบคลุมทั่วโลก เป็นทั้งสิ่งแวดล้อมและ เครื่องมือสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพเป็นพลโลก การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียน การสอน กระทำได้สองลักษณะดังนี้

         1) แนวทางการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในด้านของนักเรียน
              - การศึกษาค้นคว้า  เป็นเครื่องมือในการสืบค้น ศึกษาวิจัยและจัดทำรายงาน
              - กิจกรรมเชิงปฏิสัมพันธ์  กิจกรรมแบบโต้ตอบระหว่างเว็บไซต์กับผู้ใช้ เช่น บทเรียนและแบบทดสอบออนไลน์  เป็นต้น
              - โครงงานบนเว็บ  การจัดทำโครงงานในชั้นเรียนทั้งระยะสั้นและระยะยาวเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต
              - การสร้างสรรค์งาน  นักเรียนที่เป็นรายบุคคล เป็นกลุ่ม หรือครูที่ดำเนินการร่วมกับนักเรียนสามารถสร้างหรือ จัดทำเนื้อหาสาระเป็นเว็บไซต์เผยแพร่แก่สาธารณชนได้


        2) แนวทางการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในด้านของครู 
              - การติดต่อสื่อสาร  เพื่อการติดต่อสื่อสารกับกลุ่มครูหรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาการที่ เกี่ยวกับงานในหน้าที่หรือตามความสนใจ
              - การค้นคว้าวิจัย  เป็นเครื่องมือสืบค้น ค้นคว้า วิจัย เพื่อการเตรียมการสอน การจัดหาสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอน
              - การสร้างงาน  ครูสามารถใช้อินเทอร์เน็ตสร้างเว็บไซต์ เพื่อการจัดการเรียนการสอนของตนเอง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผยแพร่ผลงาน แนวคิดกับเพื่อนร่วมวิชาชีพและผู้สนใจทั่วไป

                  

                  

ทักษะอะไรบ้างที่เราควรจะมีไปพร้อมกับการรู้ดิจิทัล

การที่เราจะเป็นพลเมืองที่สมบูรณ์ในยุค Thailand 4.0 นอกจากการรู้ดิจิทัล อาจจะไม่เพียงพอต่อการที่เราเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในเทคโนโลยี แต่ยังจะต้องมีอีก 6 ทักษะที่จะมาช่วยให้เราใช้ชีวิตบนโลกสังคมออนไลน์ อย่างกับกูรูผู้เชี่ยวชาญได้เลย

  1. การรู้สื่อ (Media Literacy) จะทำให้เรามีความสามารถในการเข้าถึง วิเคราะห์และผลิตสื่อต่างๆเพื่อถ่ายทอดความคิดของเรา  แต่ทั้งนี้เราจะต้องตระหนักถึงผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นและตามมาได้หากใช้สื่อแบบผิดวิธี ดังนั้น การเข้าใจประเด็นทางจริยธรรมและทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงและการใช้สื่อจึงเป็นเรื่องพื้นฐานที่ควรจะศึกษาไว้ให้ดี
  2. การรู้เทคโนโลยี (Technology Literacy) ทำให้เกิดความชำนาญในการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานไปจนถึงทักษะที่มีความซับซ้อนเพื่อต่อยอดและไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
  3. การรู้สารสนเทศ (Information Literacy) ทักษะนี้คือเรื่องสำคัญมากสำหรับคนที่ชอบหาคำตอบจากโลกออนไลน์ เพราะจะทำให้เรารู้จักคิดวิเคราะห์ถึงแหล่งที่มาของเนื้อหากลั่นกรองข้อมูลได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
  4. การรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เห็น (Visual Literacy) ความสามารถในการใช้สิ่งที่เห็นในการทำงานและดำเนินชีวิตประจำวัน ผ่านการคิดวิเคราะห์ เรียนรู้และตัดสินใจจากประสบการณ์ได้
  5. การรู้การสื่อสาร (Communication Literacy) รู้จักใช้แหล่งข้อมูลต่างๆ มาสื่อสารในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างดี เหมาะสมกับกาลเทศะ รู้ว่าอะไรควรโพสต์หรืออะไรที่ไม่ควรทำในโลกออนไลน์และใช้แลกเปลี่ยนความรู้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  6. การรู้สังคม (Social Literacy) ทักษะสำหรับการทำงานที่มี Connection เครือข่ายทางสังคม พื่อรวบรวมความรู้ มีความสามารถในการสื่อสาร  และแยกแยะได้หากมีความขัดแย้งของข้อมูล

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก