ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม ปวดหลัง

Home > ปวดตรงนี้ ป่วยตรงไหน? 9 ตำแหน่งปวดท้อง บ่งบอกโรคได้!

ถ้าคุณมีอาการปวดท้องจุดเดิมบ่อยๆ นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บอกได้ว่ามีความผิดปกติบางอย่างของอวัยวะในช่องท้อง ดังนั้น ต้องหมั่นสังเกตตำแหน่งที่มักปวดท้อง เพราะจะช่วยให้ทราบเบื้องต้นว่า เราเสี่ยงโรคใดบ้าง? กับ 9 ตำแหน่งปวดท้อง บ่งบอกโรคได้!
 

  • ปวดใต้ลิ้นปี่ : กระเพาะอาหาร ตับอ่อน ตับ

มักมีอาการปวดเวลาหิวหรืออิ่ม อาจเป็นโรคกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารอักเสบ ปวดรุนแรง และคลื่นไส้อาเจียน อาจเป็นโรคตับอ่อนอักเสบ

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ – รู้ทันอาการ และการรักษาอย่างถูกวิธี

  • ปวดชายโครงซ้าย : ม้าม ตับอ่อน

อาการปวดบริเวณนี้ อาจเป็นเพราะม้ามแตก กรวยไตซ้ายอักเสบ หรือนิ่วในไตซ้าย

  • ปวดชายโครงขวา : ตับ ถุงน้ำดี

หากมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง อาจเป็นโรคตับอักเสบ นิ่วในถุงน้ำดี

  • ปวดรอบสะดือ : ลำไส้เล็ก

ปวดแบบมีลมในท้อง เป็นอาการท้องเดิน แต่หากปวดรุนแรงทนไม่ได้ อาจเป็นอาการลำไส้อักเสบ หรือไส้ติ่งอักเสบ

เช็กอาการ “ท้องเสียง่าย” หรือ ลำไส้อักเสบเรื้อรัง กันแน่

  • ปวดปั้นเอวขวาและซ้าย : ท่อไต ไต ลำไส้ใหญ่ ปวดเอวด้านหลัง 

รวมถึงมีอาการร่วมคือ รู้สึกแสบเวลาปัสสาวะ มีไข้ หากเคาะเบาๆ ตรงส่วนเอวด้านหลังก็ทำให้เจ็บมากได้

  • ปวดเหนือหัวหน่าว : กระเพาะปัสสาวะ มดลูก

ปวดเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะกะปริบกะปรอย อาจเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ปวดเกร็งช่วงมีรอบเดือน ปวดเรื้อรัง หรือคลำพบก้อน ควรพบแพทย์เฉพาะทาง อาจเป็นอาการของมดลูกอักเสบ หรือเนื้องอกมดลูก

  • ปวดท้องน้อยซ้าย : ท่อไต ปีกมดลูกด้านซ้าย

ปวดเกร็ง และร้าวมาที่ต้นขา อาจเป็นนิ่วในท่อไต หรืออาการปวดมีไข้ร่วมด้วย หนาวสั่น มีตกขาว อาจเป็นปีกมดลูกอักเสบ

  • ปวดท้องน้อยขวา : ไส้ติ่ง ท่อไต ปีกมดลูกด้านขวา

หากปวดเกร็งเป็นระยะ ๆ แล้วร้าวมาที่ต้นขา หมายถึงกรวยไตมีความผิดปกติ ปวดเสียด ๆ กดแล้วเจ็บ อาจเป็นไส้ติ่งอักเสบ หรืออาการปวดมีไข้ร่วมด้วยอาจเป็นปีกมดลูกอักเสบ หรือหากคลำแล้วเจอก้อนเนื้อ เบื้องต้นอาจเป็นก้อนไส้ติ่งหรือรังไข่ผิดปกติ

ไส้ติ่งอักเสบ! ใครก็เป็นได้ อาจทำให้มีอันตรายถึงชีวิต

หากท่านใดมีอาการปวดท้องตรงจุดเดิมอยู่บ่อยครั้ง ควรเข้าได้รับการตรวจวินิจฉัย เพราะอาจจะเป็นโรคที่อันตรายมากกว่าที่คุณคิด

โปรแกรมเหมาจ่ายส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร

      อาการของภาวะโรคไตเรื้อรัง

มีอาการบวมในร่างกาย อาการบวมนั้น เกิดได้จาก 2 สาเหตุหลัก ที่เกี่ยวข้องกับโรคไต คือ เกิดจากไตไม่สามารถขับน้ำและเกลือได้อย่างปกติ จนเกิดการคั่งของน้ำและเกลือ จนเกิดอาการบวมหรืออาจเกิดจากโปรตีนไข่ขาวรั่วออกไปทางปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการบวม เช่น โรคไตชนิดเนฟโฟรติก ดังที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้

อาการคันตามตัว /คลื่นไส้อาเจียนเบื่ออาหาร /ภาวะโลหิตจาง

อาการเหล่านี้นั้นไม่จำเพาะต่อโรคไต เป็นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจไม่เกี่ยวกับโรคไต แต่ในโรคไตเรื้อรังนั้น จะทำให้มีอาการเหล่านี้ได้ โดยอย่างไรก็ตามถ้ามีอาการเหล่านี้ที่เกี่ยวข้องกับโรคไต มักเกิดในโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไต

อาการอื่นๆ

ปวดเอว อาการปวดนั้นอาจจะพบที่บริเวณเอวเกิดจากรอยโรคที่บริเวณไต ซึ่งอยู่บริเวณหลังเอวทั้ง 2 ข้าง โดยสาเหตุมักเกิดจาก นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ หรืออาจเกิดจากโรคถุงน้ำที่ไต หรือเนื้องอกของไตได้

ความดันโลหิตสูงมากผิดปกติ ความดันโลหิตสูงมากผิดปกติหรือความดันโลหิตสูงที่คุมได้ยากโดยจำเป็นต้องใช้ยาหลายชนิดในการควบคุม สาเหตุอาจเกิดจากโรคไตโดยโรคไตที่นึกถึงคือ ภาวะเส้นเลือดแดงของไตตีบ โรคไตอักเสบหรือโรคไตเรื้อรัง

อย่างไรก็ตามการรักษาผู้ป่วยโรคไต ควรได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการ เพื่อที่แพทย์จะวินิจฉัยสาเหตุของการเกิดโรค ควบคุมรักษาที่สาเหตุ และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรัง สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวข้างต้น แนะนำต้องรีบเข้ารับการการวินิจฉัยและรักษาจากแพทย์ เพื่อนำไปสู่แนวทางการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม

บทความโดย

นพ. ธาวิน ศรีนุต แพทย์ผู้ชำนาญการอายุรศาสตร์และโรคไต

ประจำศูนย์อายุรกรรมเฉพาะทาง และศูนย์ล้างไต

โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล ถนนแจ้งวัฒนะ (WMC)

โทร 02 836 9999 ต่อ 3521-2

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก