หน่วยงานที่เกี่ยวงกับการคุ้มครองผู้บริโภค

สภาองค์กรของผู้บริโภค

“เป็นตัวแทนของผู้บริโภคทุกด้าน เพื่อคุณภาพชีวิตของทุกคน

ปัจจุบัน การรับมือกับปัญหาสิทธิ ‘ผู้บริโภค’ ในประเทศไทยยังคงปรากฏให้เห็นตลอด ทั้งผลิตภัณฑ์สุขภาพโฆษณาเกินจริง สินค้าผิดกฎหมาย รถโดยสารไม่ได้มาตรฐาน ขนส่งสาธารณะราคาแพง หรือแม้แต่ปัญหาบริการสุขภาพและสาธารณสุข ทั้งที่ปรากฏในชีวิตจริงและออนไลน์ ขณะนี้ผู้บริโภคถูกแวดล้อมด้วยข้อมูลข่าวสารบนแพลตฟอร์มออนไลน์ แม้แต่การขายสินค้าก็เช่นเดียวกัน ปัญหาผู้บริโภคถูกเอาเปรียบ ไม่ได้รับความเป็นธรรมมีมากขึ้น ดังนั้น “สภาองค์กรของผู้บริโภค” จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นปาก เป็นเสียง แก้ปัญหาให้ผู้บริโภคอย่างเป็นมิตรและมีความเป็นมืออาชีพ ด้านงานคุ้มครองผู้บริโภค

สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) เป็นตัวแทนของผู้บริโภค ทำหน้าที่เสนอความคิดเห็น จัดทำนโยบาย มาตรการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค สะท้อนหลักการสำคัญที่ว่า “ผู้บริโภคมีส่วนร่วมจัดทำนโยบายและมาตรการเพื่อคุ้มครองตนเอง รวมทั้งเป็นตัวแทนในการให้ความคิดเห็นที่เป็นอิสระ รักษาผลประโยชน์ของทุกคน เพราะทุกคนคือผู้บริโภค อ่านทั้งหมด

สถาบันเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค

          1. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค (สคบ.) มีหน้าที่คุ้มครองประโยชน์ของประชาชน ที่มีปัญหาจากการอุปโภคและ บริโภค ส่งเสริมคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของผู้บริโภคที่ได้รับเกี่ยวกับความเป็นธรรมเรื่องราคา  การปลอมปนสินค้า  การผูกขาดตลาด  การโกงมาตราชั่ง  ตวง  วัด  ตลอดจนการโฆษณาชวนเชื่อเกินความเป็นจริง เผยแพร่ให้ความรู้แก่ผู้บริโภคให้ทราบถึงภัยอันตรายที่เกิดจาก สินค้าที่เป็นพิษ ประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ ตลอดจนติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ของเพื่อให้มีการปฏิบัติ งานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว

          2. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

                    2.1. คณะกรรมการอาหาร มีหน้าที่ กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของอาหาร ควบคุมเฉพาะตามชื่อ ประเภท ชนิด หรือลักษณะ ของอาหารนั้น และกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการผลิตเพื่อจำหน่าย นำเข้าเพื่อการจำหน่าย หรือการจำหน่าย
                    2.2. คณะกรรมการยา มีอำนาจหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการผลิตยาการขายยา การนำเข้าหรือสั่งยา เข้ามาในราชอาณาจักร การนำยามาเป็นตัวอย่างเพื่อการตรวจ การตรวจสอบสถานที่ผลิตยา สถานที่ขายยา และสถานที่เก็บยา
                    2.3. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมมีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม เพื่อเป็นเกณฑ์ขั้นต่ำสำหรับผู้ผลิต ในการผลิตสินค้า
                    2.4. องค์กรเอกชน ภาคเอกชนมีการจัดตั้งองค์กรที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค เช่น องค์กรพิทักษ์ประโยชน์ของผู้บริโภค โครงการสภา สตรีส่งเสริมผู้บริโภค เป็นต้น

          3. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)  มีหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค รักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ พัฒนา อุตสาหกรรมของประเทศให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ตลอดจนสร้างความเป็นธรรมในการซื้อขาย ขจัดปัญหาและอุปสรรคทางการค้า ที่เกิดจากมาตรการด้านมาตรฐาน
        กิจกรรมของ สมอ.

          1. การกำหนดมาตรฐาน
                    1.1. มาตรฐานระดับประเทศ กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ประเภทบังคับและไม่บังคับตามความต้องการ และการขยายตัวของอุตสาหกรรมการค้า และเศรษฐกิจของประเทศ  รวมทั้งนโยบายของรัฐบาล เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รักษาสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ และส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมไทยแข่งขันในตลาดโลก
                   1.2. มาตรฐานระดับสากล ร่วมกำหนดมาตรฐานกับองค์กรสากลที่สำคัญคือ องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน(International Organization for standardization : ISO) คณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานสาขาอิเล็กทรอนิกส์(International Electrotechnical Commission : IEC)

           2. การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์
                   2.1 การรับรองตามมาตรฐานของประเทศ   สมอ.ให้การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ โดยการอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน จำนวน แบบ คือ
                         1 เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป

                        เป็นเครื่องหมายที่แสดงกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมาตรฐานไม่บังคับ ผู้ผลิตสามารถยื่นขอใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน ได้ด้วยความสมัครใจ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่กำหนดออกมามากที่สุด โดยปัจจุบันมีกว่า 2,000 รายการ

                    2 เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ

                        เป็นเครื่องหมายที่แสดงบนผลิตภัณฑ์ที่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ผู้ บริโภค และป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่เศรษฐกิจของประเทศ ผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จำหน่ายจะต้องผลิต นำเข้าและจำหน่ายเฉพาะ ผลิตภัณฑ์ที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเท่านั้น ปัจจุบัน สมอ.กำหนดออกมาแล้ว 69 รายการ

                   2.2 การรับรองฉลากเขียว (Green Label)

                     สมอ.ร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยดำเนินโครงการฉลากเขียวเพื่อให้การรับรองโดยให้ใช้ฉลากเขียวสำหรับผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ เพื่อช่วยลดมลภาวะจากสิ่งแวดล้อม และเพื่อผลักดันให้ผู้ผลิตใช้เทคโนโลยี หรือวิธีการผลิตที่ให้ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย

                   2.3 รับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)                     

                     เป็นการให้การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนของผู้ผลิตในชุมชนที่เกิดจากการรวมกลุ่มกันประกอบกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง หรือชุมชนในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่ผ่านการคัดเลือกจากจังหวัด และ/หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามมาตรฐานผลิต ภัณฑ์ชุมชน ที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้ประกาศกำหนดไว้ และจะแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนกับผลิต ภัณฑ์ที่ได้รับ

ที่มา-//sites.google.com/site/kruticha/bth-reiyn/ngan-thurkic/hnwy-thi-3-ngein-thxng-khxng-mi-kha/kar-khumkhrxng-phu-briphokh

หน่วยงานใดที่รับผิดชอบการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นส่วนราชการมีฐานะการปกป้องและคุ้มครองสุขภาพประชาชนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านั้นต้องมีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัย มีการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องด้วยข้อมูลวิชาการที่มีหลักฐานเชื่อถือได้และมีความเหมาะสม เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยและสม ...

หน่วยงานใดที่มีหน้าที่รับผิดชอบตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคโดยตรงเมื่อผู้บริโภคถูกละเมิดสิทธิ

เมื่อผู้บริโภคถูกละเมิดสิทธิหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้ประกอบธุรกิจเนื่องจากการใช้สินค้าหรือบริการ ผู้บริโภคย่อมได้ รับความคุ้มครอง ตามกฎหมายโดยผู้บริโภคสามารถร้องเรียนได้ที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคคณะกรรมการคุ้มครองผู้ บริโภคคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ...

หน่วยงานภาครัฐมีบทบาทสําคัญในการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างไร

ที่ไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้รัฐบาล จึงต้องทำหน้าที่ดูแล และกำกับแก้ไข โดยมีจุดมุ่งหมายในการคุ้มครองผู้บริโภคดังนี้ 1. เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ให้เสียเปรียบผู้ผลิต 2. เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการโฆษณา 3. เพื่อควบคุมสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ปลอดภัย หรือเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

สถาบันเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคมีกี่หน่วยงาน *

1.สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค 2.สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 3.สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 4.กลุ่มพลังผู้บริโภค

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก