การต่อแผงโซล่าเซลล์ใช้ในบ้าน

จากกระแสมาแรง ก็ตามมาด้วยข้อสงสัยมากมาย

ให้ข้อมูลเพิ่มเติมครับก่อนที่จะบิดเบือนมากกว่านี้

Offgrid Hybrid 2400w 24v System ชุดโซล่าเซลล์สําหรับใช้ในบ้าน ติดตั้งบ้านสวนคุณสุณี ที่ จังหวัดขอนแก่น ผลิตไฟฟ้าใช้เอง ไม่ต้องลากสายไฟเป็น 100,000 (ไม่ต้องขออนุญาติใคร) ด้วยอินเวอร์เตอร์รุ่นใหม่สุด ดีสุด ทนสุด ประหยัดไฟสุด โดยกลางวันที่มีแสงแดดอินเวอร์เตอร์ Offgrid Hybrid จะแปลงพลังงานจากโซล่าเซลล์เป็นไฟบ้าน แล้วจ่ายไปที่เครื่องใช้ไฟฟ้าก่อน ส่วนที่เหลือจะช่ร์จลงแบตเตอรี่เก็บไว้ พอถึงตอนเย็นไม่มีแสงแดดแล้ว ก็จะดึงไฟจากแบตเตอรี่มาใช้งานทั้งคืน Offgrid Hybrid 2400w สามารถรองรับอนาคตโดยสมารถ เพิ่มแผงโซล่าเซลล์ 300w ได้สูงสุดถึง 6 แผ่น แบตเตอรี่ 200a ถึง 6 ลูก.

***ถ้าใช้ในบ้านที่มีไฟฟ้าใช้ ยังสามารถใช้ร่วมกับการไฟฟ้าได้ถ้าหาก ไฟจากแบตเตอรี่หมดก็จะดึงไฟจากการไฟฟ้าจ่ายไฟต่อ และยังชาร์จแบตให้อีกด้วย สินค้าชุดนี้ประกอบด้วย - แผงโซล่าเซลล์ Poly 300w 4 แผ่น - Offgrid Hybrid Inverter 2400w รุ่น PV-1800 Solar Charg 60a MPPT 1 ตัวแบตเตอรี่ Battery Deep Cycle 200a 4 ลูก ตู้ควบคุมการทำงานมาตรฐาน 1 ชุด - ควบคุมการติดตั้งโซล่าเซลล์ โดยทีมวิศวกร

1. ใช้ได้จริงหรือ คำตอบคือ  จริงครับมีรายการคำนวณให้ดูครับ

2. แบต 100a 4 ลูกไม่พอหรอก

(ในคลิปเราใช้แบต 200a 4 ลูกนะครับ)

3. แบต 200a 4 ลูกยังไม่พอเลย

(แบต 200a 4 ลูกเราคำนวณใช้งาน DOD แค่ 50% เองพอ)

4. ถ้าใช้ตู้เย็น..อีก 6 เดือนเตรียมฟื้นฟูแบตได้เลย

(ตู้เย็น 6 คิวค่าไฟเฉลี่ยเดือนละ 180 บาท ลองหารกลับดูแล้วคุณจะรู้ว่ามันกินไฟแค่ 50 วัตต์/ชม. เอง หรือประมาณวันละ 1200 วัตต์ต่อวัน)

5. แบตเตอรี่ใช้ 6 ลูกยังเสี่ยงเลย

(น่าจะมองว่าเราใช้แบต 100a 4 ลูก ถ้าเป็นเช่นนั้นเสี่ยงแน่นอน)

6. (บางคนแผงโซล่าเซลล์คำนวณไว้เยอะกว่านี้อีก ให้ผลิตไฟได้วันละ 5 ชม. ต่อวันเลย แต่เราคำนวณไว้ที่ 4 ชม. ซึ่งหลายคนก็ใช้ค่านี้กัน)

7. ชุดนี้ใช้แอร์ได้ใหม

(แผ่น 300w 4 แผ่น = 1200w*4 ชม. ผลิตไฟได้ 4800w ต่อวันในวันที่แดดดีนะ แอร์ 1200btu กินไฟเฉลี่ยโดยประมาณ 1000w/ชม. ก็ใช้งานได้นะประมาณ 5 ชม. ถือว่าใช้ได้หรือเปล่า)

8. แบตเตอรี่ใช้งานได้นานแค่ใหน

(แบตใช้ได้นานแค่ใหน..อยู่ที่เราใช้งานครับว่าเราจะใช้งานแบตเตอรี่ลงไปต่ำแค่ใหน ถ้าใช้ลงไปต่ำมากบ่อยๆ ก็จะใช้งานได้สั้นลง ลองดูค่าตารางนะครับ)

สุดท้าย :

ขอบคุณทุกคนที่สอบถามเข้ามา และมีความสนใจในพลังงานทางเลือกนะครับ

อีกนิด...ถ้าวันใหนที่ไม่มีแดดหรือมีน้อย แผงโซล่าเซลล์ก็จะผลิตไฟได้น้อยลง ก็คงต้องประหยัดการใช้งานลงตามส่วนนะครับอยู่

***เพราะแดดดีไม่ได้มีทุกวัน***

พอไม่พอ อยู่ที่เราบริหารจัดการพลังงานของเราเอง...

จากทีมงาน Solartech Center

Y o u t u b e :

www.youtube.com/c/solartechcenter

W e b s i t e :

www.solartech-center.com

บทความที่จะมาแนะนำให้รู้จักกับโซล่าเซลล์บ้านพร้อมเรื่องน่ารู้ก่อนการติดตั้งและข้อดีต่างๆ อีกมากมาย

ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าหลายคนหันมาสนใจติดโซล่าเซลล์บ้านมากยิ่งขึ้น เนื่องจากสามารถช่วยลดค่าไฟได้ และยังเป็นการช่วยประหยัดการผลิตพลังงานไฟฟ้าได้อีกด้วย ซึ่งเหมาะกับผู้ที่ใช้ไฟฟ้าเยอะๆ ในช่วงกลางวัน สำหรับกระบวนการทำงานของแผงโซล่าเซลล์นั้น จะทำหน้าที่เก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานกระแสไฟฟ้า และทำการเก็บสำรองไฟฟ้าไว้ในแบตเตอรี่ จากนั้นจะมีการเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าตรงให้เป็นกระแสไฟฟ้าสลับ ทำให้คุณสามารถนำกระแสไฟฟ้ามาใช้ได้กับอุปกรณ์ภายในบ้านทั่วไปได้

ทั้งนี้ ก่อนที่จะตัดสินใจติดตั้งโซล่าเซลล์ยังต้องมีอีกหลายปัจจัยที่ควรรู้ เพราะเป็นการติดตั้งในระยะยาวถึง 25-30 ปี หากพิจารณาไม่ดีอาจจะทำให้การติดตั้งโซล่าเซลล์ของคุณนั้นไม่คุ้มค่า เพราะฉะนั้น ในบทความนี้จึงรวบรวม 5 สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนตัดสินใจติดโซล่าเซลล์ในบ้าน! มาดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง

1.สำรวจความพร้อมของสถานที่ก่อนติดโซล่าเซลล์บ้าน

การสำรวจความพร้อมของสถานที่ จะทำให้คุณรู้ว่าสามารถทำการติดโซล่าเซลล์บ้านได้หรือไม่ ซึ่งการตรวจสอบในเบื้องต้นสามารถทำได้ ดังนี้

ตรวจสอบกำลังไฟบ้าน

การตรวจสอบกำลังไฟภายในบ้าน ทำให้รู้ว่าในแต่ละเดือนคุณใช้กำลังไฟอยู่ที่เท่าไร และควรเลือกติดโซล่าเซลล์ขนาดเท่าไรจึงจะเหมาะสม ในการตรวจสอบสามารถใช้หลักการคร่าวๆ อย่างการคำนวณด้วยค่าไฟที่ชำระในแต่ละเดือน ตัวอย่างเช่น

  • ค่าไฟเดือนนี้ 5,000 บาท ให้คุณทำการแบ่งค่าไฟออกเป็นตอนกลางวัน 70% และตอนกลางคืน 30% ดังนั้น ค่าไฟตอนกลางวันที่ใช้ไปจะอยู่ที่ 3,500 บาท และเฉลี่ยค่าไฟฟ้าจะอยู่ที่ประมาณ 4 บาทต่อหน่วย
  • นำจำนวนค่าไฟตอนกลางวันทำการหารด้วยค่าไฟฟ้าต่อหน่วย จะได้ 3,500÷4= 875 หน่วย
  • เอาเลขจำนวนหน่วยที่ได้ หารด้วยจำนวนวัน และจำนวนชั่วโมงที่มีแสงอาทิตย์เป็น (875÷30)÷9= 3.2 หน่วยต่อชั่วโมง

ดังนั้น การติดตั้งโซล่าเซลล์ที่เหมาะสมคือ ขนาดที่ 3-5 กิโลวัตต์ (3KW) แต่วิธีนี้จะเป็นการคำนวณในเบื้องต้นเท่านั้น แนะนำว่าก่อนการติดตั้ง คุณสามารถขอคำปรึกษาเพิ่มเติมได้จากผู้ให้บริการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์

ความแข็งแรงของหลังคาบ้าน

มาตราฐานของแผ่นโซล่าเซลล์จะมีขนาดอยู่ที่ 1x2 เมตร และ 1 แผ่น จะมีน้ำหนักประมาณ 22 กิโลกรัม ดังนั้น คุณควรทำการตรวจสอบหลังคาบ้าน และวัสดุที่ใช้ปูหลังคา หากเกิดรอยแตก รอยร้าว รอยรั่ว หรือตรวจสอบดูแล้วว่าเป็นวัสดุที่ไม่แข็งแรง ไม่มั่นคง ควรทำการรีโนเวทใหม่ เพราะการติดโซล่าเซลล์บ้านเป็นการติดตั้งในระยะยาวหลายสิบปี หากไม่ตรวจสอบจุดนี้อาจจะเกิดผลกระทบจากการรับน้ำหนักเกินได้

รูปทรงของหลังคาบ้าน

  • หลังคาทรงจั่ว เป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศไทย เพราะสามารถระบายความร้อนได้ดี ลักษณะของทรงหลังคาจะสูง ลาดชัน ทำให้สามารถติดโซล่าเซลล์ได้ง่ายที่สุด
  • หลังคาทรงปั้นหยา จะมีลักษณะลาดเอียงเล็กน้อย และเป็นทรงที่นิยมใช้กันทั่วโลก ข้อดีของหลังคาประเภทนี้ที่สามารถปะทะลม กันแดด กันฝนได้ดี แต่การระบายความร้อนทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร ในการติดโซล่าเซลล์บ้านสามารถติดตั้งได้ทุกทิศของหลังคา
  • หลังคาทรงเพิงแหงน สามารถติดตั้งโซล่าเซลล์ได้ง่ายเช่นเดียวกับหลังคาทรงจั่ว เพราะมีพื้นที่หลังคาเยอะและกว้าง แต่ต้องระวังในเรื่องของการรั่วซึมเมื่อฝนตก เนื่องจากความลาดเอียงของหลังคาประเภทนี้น้อยมาก ส่งผลให้ระบายน้ำฝนได้ไม่ดีเท่าที่ควร

จะเห็นได้ว่าการติดตั้งโซล่าเซลล์สามารถทำการติดตั้งได้กับหลังคาทุกๆ ประเภท แต่จะมีบางประเภทที่ทำการติดตั้งได้ง่ายกว่าประเภทอื่นๆ และบางประเภทมีข้อจำกัดในเรื่องของการระบายน้ำที่จะส่งผลต่อการรั่วซึม

ทิศทางที่เหมาะสมกับการติดตั้ง

  • ทิศเหนือ เป็นทิศที่ได้รับแสงแดดน้อยที่สุด เพราะในประเทศไทยนั้นดวงอาทิตย์จะขึ้นทางด้านทิศตะวันออกและอ้อมไปทางทิศใต้ แนะนำว่าไม่ควรติดโซล่าเซลล์บ้านหันแผงไปทางทิศเหนือ
  • ทิศใต้ เป็นทิศที่ควรหันแผงโซล่าเซลล์ไปทิศทางนี้ เพราะจะได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน ในการติดตั้งสามารถเอียงแผงเล็กน้อยประมาณ 13.5 องศา เพื่อให้แผงสามารถรับแสงได้อย่างเต็มที่
  • ทิศตะวันออก จะได้รับแสงแดดปานกลาง แต่ข้อจำกัดการรับแสงจะอยู่ในช่วงเช้า-เที่ยงเท่านั้น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับทางทิศใต้ การรับแสงของทิศตะวันออกจะได้รับแสงน้อยกว่า 2-16% จะส่งผลให้แผงโซล่าเซลล์ทำงานได้ไม่เต็มที่
  • ทิศตะวันตก ประสิทธิภาพการรับแสงจะเท่ากับทางด้านทิศตะวันออก

2.ทำความรู้จักแผงโซล่าเซลล์แต่ละประเภท

ก่อนที่จะไปทำความรู้จักกับแผงโซล่าเซลล์ ต้องแนะนำระบบการติดโซล่าเซลล์บ้านที่นิยมมากที่สุด จะเป็นระบบออนกริด ซึ่งเป็นระบบที่เหมาะสำหรับการติดตั้งกับสถานที่อยู่อาศัย และราคาที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ทำให้หลายคนเลือกที่จะติดตั้งระบบนี้

ทั้งนี้ แผงโซล่าเซลล์ที่นิยมใช้ในประเทศไทย จะแบ่งออกเป็น 3 แบบ ซึ่งคุณสมบัติจะแตกต่างกันออกไปเพื่อรองรับการใช้งานที่ต่างกัน

แผงโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells)

วิธีการสังเกตแผงโซล่าเซลล์ประเภทนี้ รูปทรงของเซลล์จะมีสีเข้ม มุมทั้งสี่มุมจะเป็นสี่เหลี่ยมมุมตัด ทำมาจากซิลิคอนทรงกระบอกบริสุทธิ์

  • ข้อดี มีคุณภาพสูง สามารถผลิตไฟได้ดีแม้ว่าแสงแดดจะน้อย และอายุการใช้งานที่ยาวนานถึง 25-40 ปี
  • ข้อเสีย ในกรณีที่มีคราบสกปรกบนแผงเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลให้ระบบอินเวอร์เตอร์ไหม้ได้ และแผงโซล่าเซลล์ชนิดนี้มีราคาสูง

แผงโพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells)

วิธีการสังเกตแผงโซล่าเซลล์ประเภทนี้ รูปทรงของเซลล์เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ไม่มีการตัดมุม สีแผงเข้มออกไปทางสีน้ำเงิน ทำมาจากผลึกซิลิคอน

  • ข้อดี ราคาไม่แพง และแผงโพลีคริสตัลไลน์สามารถใช้งานในพื้นที่ที่อุณหภูมิสูงกว่าแผงคริสตัลไลน์เล็กน้อย
  • ข้อเสีย ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 13-16% และมีอายุการใช้งานที่ค่อนข้างสั้นเพียง 20-25 ปี

แผงโซล่าเซลล์ชนิด ฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cells)

วิธีการสังเกตุแผงโซล่าเซลล์ประเภทนี้ สีแผงจะเข้ม มีสีดำ ฟิล์มจะมีลักษณะบางกว่าชนิดอื่น

  • ข้อดี ราคาถูกที่สุด มีน้ำหนักเบา สามารถโค้งงอได้ดี ทนต่ออากาศร้อนได้ดี
  • ข้อเสีย ผลิตไฟฟ้าได้น้อยที่สุด อายุการใช้งานสั้น และไม่เหมาะนำมาติดตั้งในภาคอุสาหกรรมและบ้านเรือน

3.เลือกผู้ให้บริการในการติดโซล่าเซลล์

การเลือกผู้ให้บริการที่จะทำการติดโซล่าเซลล์บ้านให้กับคุณ เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาในการพิจารณาด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น เรื่องของความเชี่ยวชาญ การได้รับมาตรฐาน ราคาการติดตั้ง และการบริการหลังการขาย เป็นต้น

งบประมาณในการติดตั้ง

หากเทียบกับสมัยก่อนการติดตั้งโซล่าเซลล์จะมีราคาที่ค่อนข้างสูง แต่ในปัจจุบันราคาการติดตั้งนั้นลดลงโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 100,000 บาท ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดของแผ่นโซล่าเซลล์ ความยากง่ายในการติดตั้ง และจำนวนแผ่นที่จะติดตั้ง

ทั้งนี้ ผู้ให้บริการหลากหลายบริษัทก็จะมีการบริการ และราคาที่แตกต่างกันออกไป คุณควรทำการเลือกผู้ให้บริการอย่างน้อย 2-3 บริษัท จากนั้นทำการเปรียบเทียบราคา ข้อดี ข้อเสีย การให้บริการอื่นๆ เพิ่มเติมก่อนตัดสินใจ

เลือกผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้ง

เนื่องจากหลายคนหันมาสนใจติดโซล่าเซลล์บ้านมากขึ้น ทำให้ในตลาดมีผู้ให้บริการติดตั้งโซล่าเซลล์ค่อนข้างเยอะ แต่คุณควรเลือกผู้ให้บริการที่เชี่ยวชาญ และมีความน่าเชื่อถือ เพราะหากเลือกผู้ให้บริการที่ไม่มีคุณภาพ หรือไม่เชี่ยวชาญจริงๆ จะทำให้เกิดปัญหาที่ตามมาได้ อย่าลืมว่านี่เป็นการลงทุนในระยะยาว ดังนั้น การเลือกผู้ให้บริการที่มีความชำนาญจริงๆ และได้รับมาตรฐานเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ

การให้บริการหลังการขายและการรับประกัน

ปัจจัยสำคัญในการเลือกผู้ให้บริการติดตั้งโซล่าเซลล์ควรศึกษาการให้บริการหลังการขายและการรับประกันให้ถี่ถ้วน เพื่อเป็นการป้องกันหากแผงโซล่าเซลล์เกิดปัญหา โดยปกติแล้วการรับประกันจะแบ่งออกเป็น2 ส่วนดังนี้

  • รับประกันสินค้า 10 ปี
  • รับประกันประสิทธิภาพของแผง 25 ปี

แต่บางผู้ให้บริการก็จะมีระยะเวลาในการรับประกันแตกต่างกัน และมีการรับประกันอุปกรณ์อื่นๆ ร่วมด้วย เช่น คอนโทรลเลอร์ ชาร์เจอร์, อินเวอร์เตอร์ ออฟกริด ,ไฮบริด ออฟกริด,อินเวอร์เตอร์ ออนกริด เฉลี่ยการรับประกันประมาณ 1 ปี

4.ทำเรื่องขอติดตั้งแผงโซล่าเซลล์

หลังจากที่ตรวจความพร้อมของสถานที่ รู้ชนิดของแผงโซล่าเซลล์ และเลือกผู้ให้บริการในการติดตั้งไปแล้ว มาสู่ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือ การทำเรื่องขอติดโซล่าเซลล์บ้าน ขั้นตอนนี้อาจจะต้องใช้เวลา 1-2 เดือนเลยทีเดียว และรายละเอียดของการขออนุญาตนั้น อาจจะแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ แต่หากเป็นการติดโซล่าเซลล์ที่ใช้สำหรับบุคคลจะมีขั้นตอนดังนี้

  • ก่อนเริ่มการติดตั้งต้องให้ผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เข้าไปทำการสำรวจสถานที่ ทำการวัดขนาด และทิศทางของการติดตั้ง
  • ผู้ขออนุญาตติดตั้งต้องเตรียมเอกสารต่างๆ เข้าไปยื่นที่การไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยเอกสารที่ต้องนำไปยื่นคือ 
      • รูปถ่ายแสดงการติดตั้งของอุปกรณ์
      • สำเนาหลักฐานการยื่นแจ้งราชการส่วนท้องถิ่น ในขั้นตอนนี้คุณสามารถทำเรื่องขอไปที่ สำนักงานเขต เพื่อทำการแจ้งขอติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนที่พักอาศัย
      • ในกรณีต่อเดิม เปลี่ยนแปลงอาคารไม่เป็นไปตามกฎกระทรวง ต้องแจ้งให้ทางวิศวกรโยธาเข้ามาตรวจสอบและเซ็นรับรอง เพื่อนำเอกสารชุดนี้ไปยื่นขอใบอนุญาต อ.1 ที่สำนักงานเขต
      • แจ้งทางโยธาพร้อมวิศวกรโยธาที่มีใบ กว. เข้าไปตรวจความพร้อมในการติดตั้ง เพื่อทำการรับรองว่าสถานที่อยู่อาศัยมีความพร้อม
      • เอกสาร Single line Diagram ที่ถูกลงนานด้วยวิศวกรไฟฟ้าที่มีใบ กว. รับรอง
      • รายละเอียดของแผงโซล่าเซลล์
      • รายการตรวจสอบมาตรการด้านการออกแบบ

จะเห็นได้ว่าการทำเรื่องขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์นั้น จะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากพอสมควร และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอีกด้วย แต่ถึงอย่างไร ก็มีผู้ให้บริการหลายบริษัทที่รับเป็นตัวแทนในการดำเนินการขออนุญาตกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้คุณสามารถประหยัดเวลาได้

5.การดูแลแผงโซล่าเซลล์

เมื่อติดโซล่าเซลล์บ้านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คุณควรหมั่นดูแล ตรวจสอบสภาพแผงโซล่าเซลล์อยู่เสมอ ซึ่งหากขาดการดูแลและตรวจสอบเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลให้การทำงานและประสิทธิภาพการรับแสงน้อยลง ในการดูแลรักษาสามารถตรวจสอบได้ตามนี้

  • หมั่นตรวจสอบสภาพของแผงโซล่าเซลล์ว่ามีรอยร้าว รอยแตก สีของแผงต่างไปจากเดิมหรือไม่
  • ทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์เป็นประจำ เพื่อขจัดคราบฝุ่นและสิ่งสกปรกที่ติดบนแผง อุปกรณ์ที่สามารถใช้ทำความสะอาดได้ควรเป็นอุปกรณ์ที่ไม่ทำให้เกิดรอยข่วน เช่น แปรงขนไนลอน ผ้า หรือฟองน้ำ นำไปชุบด้วยน้ำเปล่า เพื่อล้างทำความสะอาดได้ ความถี่ในการทำความสะอาดควรอยู่ที่ 4-5 ครั้งต่อปี และควรเลือกล้างในช่วงเช้า
  • เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่เกิดจากแมลง หรือสัตว์ตัวเล็ก คุณควรทำการตรวจสอบอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับแผงโซล่าเซลล์อยู่เสมอ เช่น แบตเตอรี่ สายไฟ กล่องอุปกรณ์ต่างๆ
  • การเลือกใช้บริการผู้เชี่ยวชาญในตรวจสอบและทำความสะอาด มีผู้ให้บริการหลายบริษัทที่เปิดรับตรวจสอบและทำความสะอาด แต่ราคาในการให้บริการก็จะแตกต่างกันออกไป

ได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในเบื้องต้นไปแล้ว คงทำให้หลายๆ คนสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้น แต่ถึงอย่างไรก็ตาม หากคุณไม่แน่ใจว่าสถานที่อยู่อาศัยของคุณสามารถติดโซล่าเซลล์บ้านได้หรือไม่ ก็สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมไปยังบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการติดตั้งโซล่าเซลล์ได้ เพื่อเป็นการขอคำแนะนำและปรึกษาก่อนการติดตั้งจริงอีกครั้ง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก