โครงการ ทำปุ๋ยหมัก ตามหลัก เศรษฐกิจ พอ เพียง

กิจกรรมการทำปุ๋ยหมัก

กิจกรรมที่ปฎิบัติ

อุปกรณ์การทำปุ๋ย 1.ปุ๋ยคอก(จากมูลสัตว์) จำนวน 100 กิโลกรัม 4 ถุงปุ๋ย 2.แกลบดำ จำนวน 100 กิโลกรัม 4 ถุงปุ๋ย 3.รำละเอียด 5-10 กิโลกรัม 4.ปุ๋ยชีวภาพน้ำ (น้ำหมักชีวภาพ) จำนวน 2 ลิตร
5.กากน้ำตาล จำนวน 2 ลิตร 6.น้ำ (ถ้าเป็นน้ำประปาควรตั้งทิ้งไว้ 2 วัน เพื่อให้กลิ่นคลอรีนระเหย) ใช้ จำนวน 25-30 ลิตร
7.บัวรดน้ำ ขนาด 20 ลิตร
8.ถังพลาสติกขนาด 50 ลิตร 1 ใบ

วิธีการทำ 1.เตรียมสถานที่ ใช้ลานที่มีพื้นเสมอกันเป็นที่ผสม 2.เทวัสดุ ในข้อ 1,2,3 กองรวมกัน บนลานที่ผสมปุ๋ย 3.ผสมวัสดุ 4,5,6 ผสมลงในถัง คนให้เข้ากัน
4.ใช้บัวรดน้ำ ตักน้ำที่ผสมแล้ว รดลงกองปุ๋ย แล้วคลุกเคล้าผสมให้เข้ากันกลับไปมา จนหมดน้ำที่ผสมไว้ ใช้มือบีบดู ถ้าเป็นก้อน ไม่มีน้ำไหลออกมาตามง่ามมือ ก็เป็นอันใช้ได้ 5.ทำกองปุ๋ยเป็น สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความสูงไม่เกิน 1 ฟุต (ถ้าสูงมากจะเกิดความร้อนจะทำให้จุลินทรีย์ตาย) คลุมด้วยกระสอบป่าน หรือกระสอบปุ๋ยทิ้งไว้ในที่ร่ม 48 ชั่วโมง สามารถนำไปใช้ได้

การนำไปใช้ 1.ในนาข้าว ควรหว่านก่อนทำการไถกลับ หรือหว่านขณะมีน้ำขัง ในอัตราส่วน 400 กิโลกรัม ต่อไร่ ประโยชน์ จะช่วยให้ข้าวเจริญเติบโต ผลผลิตดี ลดต้นทุนการซื้อปุ๋ย
2..ไม้ผล ควรใส่ โดยขุดรอบทรงพุ่ม 1 หน้าจอบ และใช้ดินเก่ากลบ ในอัตราส่วนพอประมาณ
ประโยชน์ ใช้แทนปุ๋ย รองก้นหลุมก่อนปลูกไม้ผล ช่วยเร่งการเจริญเติบโต ลดต้นทุน

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ปุ๋ยหมักชีวภาพในการใส่ต้นไม้

รายงานการใช้เงิน

ประเภทรายจ่ายรวมรายจ่ายสถานะค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุค่าสาธารณูปโภคอื่น ๆ
0.00 0.00 0.00 2,000.00 0.00 0.00 2,000.00

ประเภทของปุ๋ยหมัก ตัวอย่างปุ๋ยหมัก วิธีการทำปุ๋ยหมัก

ปุ๋ยหมักนั้นเป็นปุ๋ยที่มีการผลิตขึ้น จากการหมักสารอินทรีย์ เช่น ซากพืช ซากสัตว์ เศษอาหาร โดยมีจุดประสงค์ให้เกิดการสลายตัวตามธรรมชาติ มักเป็นการนำเอาวัตถุดิบมากองรวมกันแล้วรดน้ำให้เปียกชุ่ม แล้วจึงปล่อยไว้ให้เกิดกระบวนการย่อยสลายตัวเองตามธรรมชาติ

เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรทฤษฎีใหม่คือ โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ เศรษฐกิจพอเพียงทฤษฎีใหม่ แบบจําลองเกษตรทฤษฎีใหม่ โมเดลเกษตรทฤษฎีใหม่

เกษตรทฤษฎีใหม่ นั้นเป็นแนวคิดในการทำการเกษตรแบบใหม่ ที่ได้รับพระราชทานมาจาก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ บรมนารถบพิตร ซึ่งได้ทรงคิดค้นและศึกษาค้นคว้าเป็นระยะเวลายาวนาน กระทั่งมีการทดลองอย่างเห็นผล ในโครงการนาสาธิต

โครงการกังหันน้ำชัยพัฒนา โครงการพระราชดําริกังหันน้ําชัยพัฒนา โครงการกังหันชัยพัฒนา โครงการกังหันน้ําชัยพัฒนา พระราชกรณียกิจกังหันน้ําชัยพัฒนา โครงการพระราชดําริกังหันลมชัยพัฒนา

โครงการกังหันน้ำชัยพัฒนานั้นเป็นอีกหนึ่งโครงการในพระ ราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ บรมนารถบพิตร ที่ได้ทรงพระราชทานแนวคิดและทฤษฎีต่างๆ เพื่อนำมาปรับใช้ในการแก้ปัญหาน้ำเน่าเสีย ที่นับวันจะยิ่งส่งผลกระทบรุนแรงมากขึ้น

เกษตรอินทรีย์ เกษตรอินทรีย์เศรษฐกิจพอเพียง เกษตรอินทรีย์แบบพึ่งพาตนเอง

เกษตรอินทรีย์นั้นเป็นแนวทางการทำเกษตรรูปแบบหนึ่ง ที่เน้นการสร้างผลผลิตจากธรรมชาติโดยไม่ต้องใช้สารเคมีในกระบวนการ เพื่อหลีกเลี่ยงการตกค้างหรือการปนเปื้อนของสารพิษที่ใช้ในการทำการเกษตร นอกจากนั้นยังเป็นการบริหารจัดการการทำเกษตรโดยการใช้ปัจจัยเท่าที่มีอยู่ใน การทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ปลอดสารพิษ และการใช้ต้นทุนที่ต่ำในการผลิต

  • directions_run
  • beenhere
  • attach_money
  • assessment
  • lock

stars

1. รายละเอียดโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์การทำปุ๋ยหมักเกษตรอินทรีย์อย่างปลอดภัยมาใช้ในระบบครัวเรือนและชุมชน
รหัสโครงการ 65-L3365-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานสิ่งแวดล้อม ทต.อ่างทอง
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มกราคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 15,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาภากร เรืองแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place

stars

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

stars

3. งวดสำหรับการทำรายงาน

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 83 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ

stars

5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เพิ่มจำนวนครัวเรือนให้ทำปุ๋ยหมักและเกษตรอินทรีในชุมชน 60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เทศบาลตำบลอ่างทอง ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาถ่ายทอดความรู้ด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภาคการเกษตรแก่เกษตรกรโดยจัดโครงการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจซึ่งเน้นการพึ่งพาตนเอง โดยเลือกกิจกรรมการเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่และแรงงานในครัวเรือน ตามความรู้ความสามารถของตนเอง เพื่อการบริโภคในครัวเรือน เพื่อลดรายจ่ายเป็นอันดับแรกและเลือกกิจกรรมการเกษตรที่หลากหลายเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติและภาวะราคาผลผลิตที่มีความผันผวนการพัฒนาเกษตรกรและชุมชนเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง โดยผ่านการจัดกระบวนเรียนรู้ เพื่อสร้างการเรียนรู้และปฏิบัติร่วมกัน และนำมาปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง เพื่อส่งเสริมอาชีพภาคเกษตร เพื่อให้การทำการเกษตรของเกษตรกรมีความยั่งยืนต่อไป ทั้งนี้ ปุ๋ยหมักเป็นปุ๋ยอินทรีย์อีกชนิดที่ได้จากการหมักวัสดุเหลือทิ้งที่เป็นสารอินทรีย์บางชนิด โดยนำวัสดุเหล่านั้นมากองรวมกัน รดน้ำให้ชื้น ทิ้งไว้ให้เกิดการย่อยสลายโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ จากนั้นจึงนำไปปรับปรุงดิน ซึ่งนอกจากการทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารในครัวเรือนแล้ว ยังมีปุ๋ยหมักจากวัสดุอินทรีย์อื่น ๆ อีกมากมายที่หาได้ง่ายในแต่ละท้องถิ่นให้ลองไปทำกัน ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้จากการเพาะเห็ด ปุ๋ยหมักจากชานอ้อย ปุ๋ยหมักจากผักตบชวา ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน ปุ๋ยหมักปลา น้ำหมักชีวภาพ ฯลฯหนึ่งในทางเลือกที่ทุกคนและทุกบ้านทำได้โดยไม่ต้องรอรถขยะมาจัดเก็บก็คือ การนำเศษอาหารไปทำปุ๋ยหมัก โดยอาศัยการย่อยสลายจากจุลินทรีย์ นอกจากช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจ้างเก็บขยะมูลฝอยแล้ว ยังไม่เป็นภาระต่อสังคม ไม่ต้องเสียเวลาในการขุดหลุมฝัง แถมยังได้ปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใส่ต้นไม้ในบ้านช่วยประหยัดอีกต่อหนึ่งด้วย

stars

6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงภาคเกษตร
ตัวชี้วัดความสำเร็จ :

เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง

20.00 30.00
2 เพื่อให้เกษตรกร ได้รับการเรียนรู้แนวดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภาคเกษตร
ตัวชี้วัดความสำเร็จ :

เกษตรกรได้รับความรู้ด้านการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภาคเกษตร สามารถนำไปใช้กับชีวิตประจำวันได้

30.00 40.00
3 เพื่อพัฒนาเกษตรกร ให้สามารถประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการประกอบอาชีพ ของตนเองตามศักยภาพของครัวเรือน
ตัวชี้วัดความสำเร็จ :

ประชาชนสามารถประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการประกอบอาชีพ ของตนเองตามศักยภาพของครัวเรือน

30.00 45.00
4 เพื่อส่งเสริมการเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายให้กับเกษตรกร โดยการนำเศษอาหารและวัสดุอินทรีย์อื่น ๆ ที่เหลือใช้ มาทำปุ๋ยหมักเพื่อสนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์
ตัวชี้วัดความสำเร็จ :

ประชาชนคัดแยกขยะ ออกจากขยะชนิดอื่นๆ นำมาใช้ประโยชน์ในการทำปุ๋ยหมักและเพื่อลดปัญหาหมอกควันและลดการใช้สารเคมี ลดมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผาใบไม้ลดลง

50.00 70.00

stars

7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

stars

8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1มลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผาใบไม้ลดลง 2เพื่อนำเศษใบไม้เศษอาอาหารมาทำปุ๋ยหมักเพื่อสนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์ 3 ประชาชนคัดแยกขยะ ออกจากขยะชนิดอื่นๆ มาใช้ประโยชน์ 4เพื่อเพื่อให้ประชาชนมีทักษะในการทำปุ๋ยหมัก 5เพื่อลดปัญหาหมอกควันและลดการใช้สารเคมี

stars

9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2565 11:08 น.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก