กรณีศึกษา ปัญหาการสอบบัญชี

ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management) หมายถึง กระบวนการดำเนินการอย่างเป็นระบบ เพื่อผลักดันให้ผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการบรรลุเป้าหมาย โดยการเชื่อมโยงเป้าหมายผลการปฏิบัติราชการในระดับองค์กร หน่วยงานและระดับบุคคลเข้าด้วยกัน ซึ่งตั้งอยู่บนฐานกระบวนการความต่อเนื่อง ตั้งแต่

๑) การวางแผนการปฏิบัติงานที่จะต้องทำให้ชัดเจน และสอดคล้องกับทิศทางตามยุทธศาสตร์ขององค์กร 
๒) การติดตามผลการปฏิบัติงานเพื่อให้ผู้บังคับบัญชากำกับ ดูแล ให้คำปรึกษาแก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง 
๓) การพัฒนาผลการปฏิบัติงานเพื่อส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานได้ดียิ่งขึ้น 
๔) การประเมินผลการปฏิบัติราชการเพื่อวัดความสำเร็จของงาน โดยเทียบกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรก และ 
๕) การนำผลที่ได้จากการประเมินไปประกอบการพิจารณาตอบแทนความดีความชอบแก่ผู้ปฏิบัติงาน

นอกจากนี้ ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานยังเป็นกระบวนการที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ปฏิบัติงาน ในการผลักดันผลการปฏิบัติราชการให้สูงขึ้น และสอดคล้องกับทิศทาง เป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของ
ส่วนราชการ โดยมีการนำตัวชี้วัดผลงานหลัก (Key Performance Indicators - KPIs) มาใช้เป็นเครื่องมือกำหนดเป้าหมายการทำงานของบุคคลร่วมกัน ซึ่งผู้บังคับบัญชาสามารถติดตามผลการปฏิบัติงาน หาแนวทางในการพัฒนาผู้ปฏิบัติงาน และประเมินผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดผลงานหลักที่กำหนดนั้นๆ เพื่อจะได้ให้สิ่งจูงใจสำหรับการเสริมสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงานที่มีผลการปฏิบัติราชการดี เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ซึ่งระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานประกอบด้วยขั้นตอนหลักดังแผนภาพ

แผนภาพกระบวนการบริหารผลการปฏิบัติงาน

กระบวนการบริหารผลการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย ๕ ขั้นตอนหลัก ดังนี้

๑) ขั้นตอนการวางแผน
เป็นขั้นตอนในช่วงต้นรอบการประเมินที่ผู้บังคับบัญชาหรือผู้ประเมินจะได้มี
การมอบหมายงานให้แก่ผู้รับการประเมิน และร่วมกับผู้รับการประเมินวางแผนการปฏิบัติ
ราชการ พร้อมทั้งกำหนดเป้าหมายผลการปฏิบัติราชการร่วมกันในลักษณะตัวชี้วัดและ
ค่าเป้าหมายที่เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของงานที่คาดหวังในรอบการประเมินนั้นๆ ทั้งนี้ สามารถ
ปรับเปลี่ยนตามเป้าหมายและแผนงานของหน่วยงานหรือส่วนราชการได้ตามความจำเป็น

๒) ขั้นตอนการติดตาม
เป็นขั้นตอนในระหว่างรอบการประเมินที่ผู้บังคับบัญชาจะทำการติดตามความก้าวหน้าในการปฏิบัติราชการ เพื่อการกำกับดูแลการทำงานให้ได้ตามเป้าหมาย ทำให้ทราบและแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติงาน อันจะทำให้ผลการปฏิบัติงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ร่วมกัน

๓)ขั้นตอนการพัฒนา
เป็นขั้นตอนที่เป็นผลที่ได้จากการติดตามผลการทำงาน และเป็นการให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) ให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาว่างานที่ทำอยู่นั้นต้องมีการปรับปรุงหรือพัฒนาการทำงานอย่างไร และยังเป็นขั้นตอนที่สามารถกำหนดแนวทางการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานอีกด้วย

๔) ขั้นตอนการประเมินผลการปฏิบัติราชการเป็นขั้นตอนในช่วงสิ้นรอบการประเมิน เพื่อตรวจสอบความสำเร็จของงานอันเป็นผลมาจากการปฏิบัติงานของผู้รับการประเมินรายนั้นๆ ว่าผลการปฏิบัติราชการในระหว่างรอบการประเมินเป็นไปตามผลสัมฤทธิ์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามตัวชี้วัดผลงานหลัก (KPIs) ที่ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ต้นรอบการประเมินหรือไม่ เพียงใด ตามเกณฑ์มาตรฐานผลงานที่ผู้ประเมินและผู้รับการประเมินร่วมกันกำหนด

ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีความเกี่ยวพันกับนานาประเทศทั่วโลกและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะที่เกิดขึ้นในทวีปเอเชียและประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ธุรกิจซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาประเทศ จำเป็นต้องอาศัยการดำเนินกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกประเทศ ผ่านกลไกการค้าต่างๆ เพื่อสร้างความสำเร็จให้กับกิจการ ที่ส่งผลต่อการสร้างความสำเร็จของประเทศ ในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้นั้น ผู้บริหารจะต้องมีความรู้ความสามารถทั้งทางวิชาการ และมีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการธุรกิจที่สามารถใช้ได้กับสภาพแวดล้อมที่เป็นจริงอย่างเหมาะสม รวมถึงการมีโลกทัศน์ที่กว้างไกล มีความสามารถในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีความเข้าใจในปัญหาของสังคม มีความเป็นผู้นำที่ดีและเพียบพร้อมด้วยคุณธรรมอันดีงามที่จะสร้างคุณค่าแก่สังคมทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาคได้อย่างแท้จริง

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างผู้บริหารที่มีคุณสมบัติในอันที่จะตอบสนองต่อความต้องการของสังคม ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค จึงได้ปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตให้เหมาะสมและสอดคล้องกับเงื่อนไขทางธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

เส้นทางอาชีพในอนาคต

ผู้บริหารระดับต้น ผู้ที่ต้องการต่อยอดเป็นผู้บริหาร ผู้ประกอบการ บุคคลทั่วไป

  • เว็บไซต์: www.mba.tbs.tu.ac.th
  • อีเมล: mbatu@tbs.tu.ac.th
  • โทรศัพท์: 02-2264509, 02-613-2227-8

คุณสมบัติผู้สมัคร

เปรียบเทียบค่าธรรมเนียม

PDF Brochure

Apply Online

โครงการปริญญาโทบริหารธุรกิจ
เน้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์การ (MBA-HRM)

Master of Business Administration Program

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีความเกี่ยวพันกับนานาประเทศทั่วโลกและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะที่เกิดขึ้นในทวีปเอเชียและประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ธุรกิจซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาประเทศ จำเป็นต้องอาศัยการดำเนินกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกประเทศ ผ่านกลไกการค้าต่างๆ เพื่อสร้างความสำเร็จให้กับกิจการ ที่ส่งผลต่อการสร้างความสำเร็จของประเทศ ในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้นั้น ผู้บริหารจะต้องมีความรู้ความสามารถทั้งทางวิชาการ และมีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการธุรกิจที่สามารถใช้ได้กับสภาพแวดล้อมที่เป็นจริงอย่างเหมาะสม รวมถึงการมีโลกทัศน์ที่กว้างไกล มีความสามารถในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีความเข้าใจในปัญหาของสังคม มีความเป็นผู้นำที่ดีและเพียบพร้อมด้วยคุณธรรมอันดีงามที่จะสร้างคุณค่าแก่สังคมทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาคได้อย่างแท้จริง

หลักสูตร MBA – HRM เน้นการฝึกฝนนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้มีมุมมองในเชิงกลยุทธ์ เพื่อพร้อมพัฒนาไปสู่บทบาทการเป็น Strategic Partner หรือผู้บริหารระดับสูงในอนาคตและกำหนดให้มีการจัดทำการค้นคว้าอิสระ (Independent Study) เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในเชิงลึกในหน่วยงานต่างๆ และเน้นการใช้วิธีการวิจัยเชิงวิชาการขั้นสูง เพื่อมองปัญหาทรัพยากรมนุษย์และแสวงหาคำตอบเพื่อการแก้ไขอย่างเป็นระบบ

เส้นทางอาชีพในอนาคต

ผู้บริหารด้านทรัพยากรมนุษย์

  • เว็บไซต์: www.hrm.tbs.tu.ac.th
  • อีเมล: hrmtu@tbs.tu.ac.th
  • โทรศัพท์: 02-2264509, 02-613-2227-8

คุณสมบัติผู้สมัคร

เปรียบเทียบค่าธรรมเนียม

PDF Brochure

โครงการปริญญาโทสำหรับผู้บริหาร
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจสากล (XMBA)

Master of Business Administration Program in Global Business Management

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจสากล

จากยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ประเทศไทยต้องเร่งพัฒนา และยกระดับการบริหารจัดการภาคธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ มีนวัตกรรม และมีโอกาสในการแข่งขันในเวทีระดับภูมิภาค และระดับโลก ดังนั้นการพัฒนามหาบัณฑิตให้มีศักยภาพรองรับการขับเคลื่อนดังกล่าวสำหรับองค์กรภาคธุรกิจในระดับประเทศและระดับโลกจึงเป็นภารกิจที่สำคัญ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาผู้บริหารในภาคธุรกิจให้มีความพร้อมและมีทักษะที่สำคัญในการประกอบการและการบริหารจัดการที่เป็นสากล มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนานวัตกรรมด้านต่างๆ ขององค์กรทั้งด้านการผลิต การตลาด การเงิน รวมไปถึงการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ และการบริหารจัดการดิจิตอลมาประยุกต์ใช้ อันทำให้ธุรกิจและองค์กรสามารถแข่งขันได้ในระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยหลักสูตรมุ่งเน้นสร้างเจ้าของธุรกิจให้มีความพร้อมในการแข่งขันในตลาดนานาชาติ รวมถึงสร้างผู้บริหารให้กับองค์กรภาครัฐ และภาคเอกชนทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติให้มีความพร้อมและศักยภาพในการเติบโต และขับเคลื่อนให้องค์กรมีความยั่งยืนต่อไปในอนาคต

เส้นทางอาชีพในอนาคต

1. ผู้บริหารในองค์กรภาคเอกชน อาทิ บริษัทข้ามชาติ (Multinational Companies) หรือองค์กรธุรกิจในประเทศ และระหว่างประเทศ
2. ผู้บริหารในองค์กรภาครัฐ อาทิ หน่วยงานด้านอุตสาหกรรม พาณิชย์ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการธุรกิจในประเทศ และต่างประเทศ

  • เว็บไซต์: www.xmba.tbs.tu.ac.th
  • อีเมล: xmba@tbs.tu.ac.th
  • โทรศัพท์: 02-2264509, 02-613-2227-8

คุณสมบัติผู้สมัคร

เปรียบเทียบค่าธรรมเนียม

PDF Brochure

โครงการปริญญาโททางการบัญชี (MAP)

Master of Accounting Program

บัญชีมหาบัณฑิต สาขาบัญชี

หลักสูตรบัญชีมหาบัญฑิต มุ่งผลิตมหาบัณฑิตทางการบัญชีที่มีความรอบรู้เชิงลึกในวิชาชีพบัญชี เพื่อตอบสนองกับแนวโน้มของโลกในปัจจุบันที่จะผลักดันให้มีการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินเดียวกันในทุกประเทศ และวิชาการอื่นที่เกี่ยวข้อง และเพื่อเป็นการเสริมสร้าง พัฒนานักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีให้มีมุมมองกว้างไกล มีความคิดเชิงวิเคราะห์ และสามารถนำความรู้จากศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจมาใช้ในการตัดสินใจ และประยุกต์ใช้กับการประกอบวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ในปัจจุบันจริยธรรมในองค์กรเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด โครงการฯ จึงได้กำหนดเนื้อหาเกี่ยวกับธรรมภิบาลและจริยธรรมวิชาชีพไว้ในหลักสูตร เพื่อให้นักศึกษาทุกคนได้ตระหนักในความสำคัญของหลักธรรมาภิบาล และจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ

เส้นทางอาชีพในอนาคต

1. ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน
2. ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
3. ผู้ตรวจสอบบัญชีภายใน
4. ที่ปรึกษาทางด้านบัญชีและภาษีอากร
5. อาจารย์หรือวิทยากรด้านบัญชี ในสถาบันอุดมศึกษาและสถาบันการศึกษาอื่นๆ
6. เจ้าของสำนักงานบัญชีหรือสำนักงานสอบบัญชีอนุญาต
7. เจ้าของธุรกิจ

  • เว็บไซต์: www.map.tbs.tu.ac.th
  • อีเมล: map@tbs.tu.ac.th
  • โทรศัพท์: 02-613-2198, 02-226-4510

คุณสมบัติผู้สมัคร

เปรียบเทียบค่าธรรมเนียม

PDF Brochure

โครงการปริญญาโทธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (MRE)

Master of Science Program in Real Estate Business

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

หลักสูตรของโครงการฯ ออกแบบเพื่อที่จะปูพื้นฐานความรู้, ความเข้าใจเบื้องต้นที่มีความจำเป็นต่อการปฎิบัติงานในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เช่น
 • หลักการบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
 • เศรษฐศาสตร์ที่ดินและการพัฒนาเมือง
 • การวิเคราะห์สถิติสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
 • การวิเคราะห์การเงินการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น วิชาเหล่านี้จะมีความคล้ายกับวิชาของ Master of Business Administration (MBA) หากแต่ว่าจะเจาะลึก และเฉพาะเจาะจงสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ครั้นพอได้รับความรู้ขั้นพื้นฐาน นักศึกษาสามารถที่จะเลือกเรียนวิชาที่ตนอยากจะเน้น มีทั้งหมด 3 สายให้นักศึกษาได้เลือก ได้แก่
 • การบริหารและการจัดการ-ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
 • การประเมินราคาทรัพย์สิน
 • การลงทุนและการพัฒนา-ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แต่ละสายวิชานี้นักศึกษาจะได้รับความรู้ที่เน้นและเจาะลึกลงไปในสายวิชานั้นๆ เช่น ในสายของการบริหาร และการจัดการ ท่านจะได้รับความรู้ในการจัดการไม่เพียงแต่อสังหาริมทรัพย์ทั่วๆ ไป แต่อสังหาริมทรัพย์สมัยใหม่ การเป็นตัวแทนหรือนายหน้า และการจัดการ และบริหารชั้นสูง ส่วนการประเมินนักศึกษาจะได้รับความรู้ในการประเมินราคาทรัพย์สินขั้นสูง การประเมินเพื่อภาษี เพื่อการเวนคืน การประเมินมูลค่าธุรกิจ และสายสุดท้าย คือการลงทุน และการพัฒนา นักศึกษาจะได้รับความรู้ ในการพัฒนาที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว Apartment หรือ Condominium การพัฒนาทรัพย์สินทางการพาณิชยกรรม และการวิเคราะห์การลงทุน อสังหาริมทรัพย์ระหว่างประเทศ หลักสูตรได้ออกแบบให้มีการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติ โดยการเรียนภาคทฤษฎีเพื่อทำกรณีศึกษาต่างๆ โดยที่กรณีศึกษานี้จะปฏิบัติทั้งจากการเรียนในห้องเรียน และจากนอกสถานที่

เส้นทางอาชีพในอนาคต

ผู้ที่จบหลักสูตรสามารถที่จะใช้ความรู้ความสามารถในการทำงานทางด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ การบริหารและการจัดการอสังหาริมทรัพย์ และการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ เช่น นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ผู้บริหารทรัพย์สิน นักลงทุนอสังหาริมทรัพย์ นักประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ตัวแทนและนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ นักการตลาดอสังหาริมทรัพย์

  • เว็บไซต์: www.re.tbs.tu.ac.th
  • อีเมล: property@tbs.tu.ac.th
  • โทรศัพท์: 02 6132260, 02 6122297

คุณสมบัติผู้สมัคร

เปรียบเทียบค่าธรรมเนียม

PDF Brochure

โครงการปริญญาโทสาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MSMIS)

Master of Science Program in Management Information Systems

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

หลักสูตร MSMIS ของ TBS เป็นหลักสูตรที่ออกแบบมาเพื่อเตรียมสร้างผู้บริหารที่รู้ลึกเรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศควบคู่กับความรู้ด้านบริหาร จึงเหมาะกับผู้ที่ทำงานทั้งทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและด้านบริหาร เพื่อให้ เป็นนักบริหารที่มีทักษะแตกต่างจากผู้บริหารทั่วไป ซึ่งกำลังมีความต้องการอย่างมากในปัจจุบัน หลักสูตรนี้จึงเน้นการบริหารองค์กร และการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กร การเรียน การสอนส่วนใหญ่เป็นการศึกษาจากกรณีศึกษาจริง เพื่อให้สามารถประยุกต์ทฤษฎีไปใช้ในการบริหารจริงได้รับนักศึกษาปีละไม่เกิน 50 คน

เส้นทางอาชีพในอนาคต

ผู้บริหารด้านระบบสารสนเทศในองค์กร, ผู้ประกอบการธุรกิจด้านการพัฒนา/ให้บริการ IS/IT, ที่ปรึกษาด้านระบบสารสนเทศให้กับองค์กร, ผู้ตรวจสอบระบบสารสนเทศ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก