การ เปลี่ยน สี ของ ดอก อัญชัน ผัน กลับ ได้ ไหม

จากการศึกษาพบว่าสารประกอบบางชนิด เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้ว  อาจจะกลับคืนสู่สภาพเดิม ได้อีก  เช่นน้ำซึ่งเป็นของเหลว เมื่อได้รับความร้อนจะกลายเป็นไอ  และเมื่อไอน้ำไปกระทบกับความเย็น จะควบแน่นหรือกลั่นตัวกลับมาเป็นน้ำได้อีก   อีกตัวอย่างหนึ่งคือกำมะถัน   เมื่อให้ความร้อนแก่ผงกำมะถันที่อัดแน่นอยู่ในหลอดคะปิลลารี ณ อุณหภูมิหนึ่ง   กำมะถันจะหลอมเหลว  เมื่อปล่อยให้หลอด

คะปิลลารีมีอุณหภูมิลดลง  กำมะถันที่หลอมเหลวนั้น  จะกลับมาเป็นของแข็งอีก

               จากตัวอย่างดังกล่าวจะเห็นได้ว่าสารบางชนิด สามารถจะเปลี่ยนสภาวะกลับไปกลับมาได้ เรียกว่า  การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้   (  Reversible  change )

การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้   จะประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้า  และการเปลี่ยนแปลง

ย้อนกลับ  เช่น  การระเหยของน้ำ  ถ้าถือว่าการระเหยของน้ำเป็นการเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้า  การกลั่นของไอน้ำ  จะเป็นการเปลี่ยนแปลงย้อนกลับ  โดยใช้เครื่องหมายลูกศรดังนี้

เครื่องหมายลูกศร      แทนการเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้า

เครื่องหมายลูกศร       แทนการเปลี่ยนย้อนกลับ  

และเครื่องหมายลูกศร    แทนการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้

                                การระเหย

                เช่น                        H2O (l)          H2O (g)

                                                       การควบแน่น

                                           การหลอมเหลว

                                                S (s)            S (l)

                                                        การแข็งตัว

                การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้   ต้องเกิดในระบบปิด  จะมี 3  ลักษณะ ดังนี้

                1.  การเปลี่ยนสถานะ

                2.  การเกิดสารละลาย

                3.  การเกิดปฏิกิริยาเคมี

การเกิดปฏิกิริยาเคมีบางปฏิกิริยา   สารตั้งต้นทำปฏิกิริยากันได้ผลิตภัณฑ์   และผลิตภัณฑ์สามารถ

ทำปฏิกิริยากันเปลี่ยนกลับมาเป็นสารตั้งต้นได้อีก  แสดงว่าปฏิกิริยานั้น  เป็นปฏิกิริยาที่ผันกลับได้

เขียนแทนได้ดังนี้

                                                                สารตั้งต้น        ผลิตภัณฑ์

เช่น

                                                2NO2(g)         N2O4(g)

                                2Fe2+(aq)  +  Ag+(aq)     Fe3+(aq)   +   Ag(s)

ส่วนปฏิกิริยาเคมีที่ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นไม่สามารถเปลี่ยนกลับมาเป็นสารตั้งต้นได้อีก  เช่น

การเผากระดาษ  ถือเป็นปฏิกิริยาเคมีที่ผันกลับไม่ได้    

                ดังนั้น ปฏิกิริยาผันกลับได้   เป็นปฏิกิริยาที่เกิดไม่สมบูรณ์  สารตั้งต้นเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์

และผลิตภัณฑ์เปลี่ยนเป็นสาตั้งต้นได้อีก

                ส่วน ปฏิกิริยาที่ผันกลับไม่ได้  เป็นปฏิกิริยาที่เกิดอย่างสมบูรณ์  สารตั้งต้นเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์

แต่ผลิตภัณฑ์ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นสารตั้งต้น

                วิธีทดสอบปฏิกิริยาผันกลับได้

สมมุติจะทดสอบปฏิกิริยา    A   +   B     X  +  Y       ผันกลับได้หรือไม่

                1.  ทดสอบโดย  ถ้า  A  +  B       X  +  Y    และ   X  +  Y    A  +  B

แสดงว่าปฏิกิริยาผันกลับได้

                2.  ปฏิกิริยาที่ผันกลับได้  จะต้องพบทั้งสารตั้งต้น และผลิตภัณฑ์

                   ปฏิกิริยาที่ผันกลับไม่ได้  ในระบบจะเหลือสารตั้งต้นเพียงบางชนิด  หรือไม่มีเหลือเลย 

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก