จอง คิว ทํา บัตรประชาชน เซ็นทรัล สมุทรสาคร

บัตรประชาชนถือเป็นเอกสารราชการที่ยืนยันถึงการเป็นพลเมืองไทย สามารถใช้แสดงตนในธุรกรรมต่างๆ การทำบัตรประชาชนจึงเป็นสิ่งที่คนไทยควรรู้ไว้ ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการทำ หลักฐานเอกสารที่ใช้ รวมไปถึงการทำบัตรประชาชนใหม่ หรือบัตรหายต้องทำอย่างไร ซึ่งนับเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราไม่ควรมองข้าม

ทำบัตรประชาชน 2564/2021 ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง?

การทำบัตรประชาชน จะต้องมีคุณสมบัติคือ มีสัญชาติไทย ต้องมีอายุตั้งแต่ 7 ปี แต่ไม่เกิน 70 ปี และต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) 

- ทําบัตรประชาชนครั้งแรก ต้องเตรียมอะไรบ้าง
สำหรับการเริ่มทำบัตรประชาชนครั้งแรก ควรทำภายใน 60 วัน หากพ้นกำหนดจะเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท โดยต้องเตรียมหลักฐาน ดังนี้

  • ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • สูติบัตร หรือเอกสารอื่นๆ ที่หน่วยงานราชการออกให้เพื่อยืนยันตัวตน 
  • หากเปลี่ยนชื่อ ให้นำหลักฐานมาแสดงด้วย
  • หากบิดามารดาเป็นคนต่างด้าว ให้นำหลักฐานประจำตัวคนต่างด้าวของบิดามารดามายืนยัน
  • หากไม่มีหลักฐานสำคัญ ให้นำบุคคลน่าเชื่อถืออย่างน้อย 2 คน ไปพบเจ้าหน้าที่เพื่อให้การรับรอง

- หากบัตรประชาชนเดิมหมดอายุ ต้องทำอย่างไร 
หากบัตรเดิมหมดอายุ ต้องไปยื่นคำขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันหมดอายุบนบัตร โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม แต่หากพ้นกำหนด มีค่าปรับไม่เกิน 100 บาท โดยต้องใช้หลักฐานดังนี้

  • บัตรประจำตัวประชาชนใบเดิม (ที่หมดอายุ)
  • หากบัตรประชาชนใบเดิมหมดอายุเป็นเวลานานแล้ว จะต้องให้เจ้าบ้าน หรือบุคคลที่น่าเชื่อถือมารับรองด้วย

- บัตรหายอย่าเพิ่งตกใจ ขอทำบัตรประชาชนใหม่ได้
ในกรณีที่บัตรประจำตัวประชาชนหาย เสียหาย หรือถูกทำลาย ไปติดต่อขอทำใหม่ ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขตเทศบาล ภายในเวลา 60 วันนับตั้งแต่วันที่บัตรหาย หากพ้นกำหนด ต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท โดยต้องใช้หลักฐาน ดังนี้

  • เอกสารที่มีรูปถ่าย ซึ่งออกให้โดยหน่วยงานราชการ เช่น ใบอนุญาตขับขี่ หลักฐานการศึกษา หรือหนังสือเดินทาง ฯลฯ
  • หากไม่มีหลักฐานข้อแรก ให้นำเจ้าบ้าน หรือบุคคลน่าเชื่อถือไปรับรองต่อเจ้าหน้าที่

ทําบัตรประชาชน ที่ไหนได้บ้าง?

การทำบัตรประชาชน สามารถไปติดต่อ ณ สถานที่ราชการ เช่น สำนักงานเขต, สำนักงานเทศบาล, สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง, ที่ว่าการอำเภอในพื้นที่ที่อาศัยอยู่ ปัจจุบันสามารถทําบัตรประชาชนนอกเขตได้แล้ว โดยยื่นขอทำบัตรประจำตัวประชาชนได้ทุกจังหวัดทั่วประเทศ 

นอกจากนี้ ก็ยังมีจุดบริการด่วนมหานคร (BMA Express Service) ที่เปิดให้ไปติดต่อทำบัตรประชาชน ณ สถานีรถไฟฟ้า BTS ในกรุงเทพฯ (ยกเว้นกรณีบัตรหาย ไม่สามารถติดต่อทำที่ BTS ได้)

  • สถานีรถไฟฟ้าสยาม (หน้าศูนย์การค้าสยามพารากอน)
    วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.30-19.00 น.
    วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-18.00 น.
  • สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต 
    วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-20.00 น.
    วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-18.00 น.
  • สถานีรถไฟฟ้าพร้อมพงษ์
    วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-20.00 น.
    วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-18.00 น.
  • สถานีรถไฟฟ้าอุดมสุข
    วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 10.00-19.00 น.
    วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-19.00 น.
  • สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่
    วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 10.00-19.00 น.
    วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-19.00 น.

ภายในศูนย์การค้าต่างๆ ก็มีจุดบริการทําบัตรประชาชนในห้าง เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนให้สามารถไปติดต่อได้ เช่น ศูนย์การค้าเกตเวย์เอกมัย, ห้างสรรพสินค้าแฟชั่นไอส์แลนด์, ห้างสรรพสินค้าซีคอนบางแค, ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์บางแค, ห้างสรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าการทำบัตรประชาชนในปัจจุบันมีความสะดวกรวดเร็วกว่าที่คิด หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการทำบัตรประชาชน สามารถติดต่อสอบถามสำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง Call Center 1548 หรือติดต่อที่สำนักงานเขต และที่ว่าการอำเภอทั่วประเทศ.

แม้ว่าสถานการณ์โควิดในประเทศกำลังจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างมาก แต่ทุกคนก็ต้องใช้ชีวิตอยู่ในความไม่ประมาท ไม่ว่าจะเป็นการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าเสมอ เมื่อต้องออกไปยังนอกสถานที่ หรือการล้างมือให้สะอาดจนเป็นนิสัย รวมถึงคุณจะต้องมีไอเท็มประจำตัวสำหรับป้องกันโควิด ที่ต้องพกเมื่อออกไปข้างนอกเสมอ เราเรียกสิ่งนี้ว่าการใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ “New Normal” อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เคล็ดลับที่จะช่วยคุณรับมือกับชีวิตในรูปแบบใหม่ หลังจากสถานการณ์ COVID-19 ดีขึ้น

ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงการใช้บริการต่าง ๆ ของภาคเอกชนและภาครัฐ ที่ต้องจะให้ความร่วมมือในการใช้แอปพลิเคชั่นไทยชนะ และต้องเว้นระยะห่าง (Social Distancing) เสมอที่ต้องอยู่ในสถานที่ผู้คนพลุกพล่าน อย่างเช่นบทความก่อนหน้านี้ที่เราได้เคยรีวิว “ต่อใบขับขี่ ออนไลน์ ในช่วงโควิด19“ ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาได้อย่างดีเยี่ยม ช่วยลดความแออัดและง่ายต่อการจัดการเว้นระยะห่างของผู้มาใช้บริการ เพราะมีการลงทะเบียนจองคิวการมาใช้บริการของแต่ละวัน ทำให้ควบคุมได้ง่ายขึ้น

ดังนั้นจึงไม่แปลกที่การใช้บริการของภาครัฐต่าง ๆ จะหันมาใช้วิธีนี้ในการควบคุมโรคติดต่ออย่างโควิด 19 ด้วยเช่นกัน ซึ่งวันนี้เราจะมานำเสนอ “การลงทะเบียนจองคิวออนไลน์สำหรับทำบัตรประชาชน และงานทะเบียนราษฎรต่าง ๆ” กันค่ะ

วิธี จองคิวทำบัตรประชาชน แบบออนไลน์

ขั้นตอนที่ 1 จองคิวผ่านทางเว็บไซต์ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย หรือไปที่ //Q-online.bora.dopa.go.th/ เพื่อลงทะเบียนขอรับบริการล่วงหน้า

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ขั้นตอนที่ 2 เตรียมข้อมูลสำหรับกรอกรายละเอียด ได้แก่ เลขประจำตัวประชาชน 13, วันเดือนปีเกิด และ เบอร์โทร

เว็บไซต์ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ขั้นตอนที่ 3 เมื่อมาในระบบ คุณสามารถเลือกทำรายการได้ โดยคลิ้กที่เมนูตามรูป

ขั้นตอนที่ 4 จากนั้นเลือกรายการที่จะใช้บริการต่าง ๆ อาทิเช่น ระบบนัดหมายรับบริการล่วงหน้า, ระบบขอคัดและรับรองเอกสารล่วงหน้า, การยกเลิกการจองนัดหมายทั้งหมด และขอยกเลิกขอคัดและรับรองเอกสารทั้งหมด

สามารถเลือกทำรายการได้ตามความต้องการ

ขั้นตอนที่ 5 ซึ่งในการเลือกขอใช้บริการนั้นคุณสามารถระบุจังหวัด, งานที่ใช้บริการ และเลือกวันที่จะเข้ารับบริการได้ตามต้องการ

ระบุจังหวัด, งานที่ใช้บริการ และเลือกวันที่จะเข้ารับบริการได้ตามต้องการ

จองคิวขอรับบริการล่วงหน้า มีบริการอะไรบ้าง

1. นัดหมายรับบริการล่วงหน้า

งานทะเบียนราษฎร บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนครอบครัว และ ทะเบียนชื่อบุคคล ได้แก่

    1. การขอมีบัตรประจำตัวประชาชน
    2. การจดทะเบียนสมรส (คร.2)
    3. การจดทะเบียนการหย่า (คร.6)
    4. การจดทะเบียนรับรองบุตร (คร.11)
    5. การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม (คร.14)
    6. การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม (คร.17)
    7. การจดทะเบียนบันทึกฐานะแห่งครอบครัว (คร.22)
    8. การยื่นคำขอแจ้งปลูกสร้างบ้าน/อาคารใหม่ (ขอเลขที่บ้าน/อาคาร)
    9. การยื่นคำขอแจ้งรื้อบ้าน/อาคาร
    10. การยื่นคำขอแจ้งการเกิดในกำหนด
    11. การยื่นคำขอแจ้งการย้ายที่อยู่ปลายทาง (ตรวจสอบอายุ 15 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป)
    12. การยื่นคำขอแจ้งย้ายเข้า ( ตรวจสอบ อายุ 15 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป)

2. การขอคัดและรับรองเอกสารล่วงหน้า

เกี่ยวกับเอกสารการทะเบียนราษฎร สำเนารายการบัตรประจำตัวประชาชน ข้อมูลการจดทะเบียนครอบครัว และข้อมูลการจดทะเบียนชื่อบุคคล ได้แก่

    1. การคัดและรับรองข้อมูลทะเบียนสมรส (คร.2)
    2. การคัดและรับรองข้อมูลทะเบียนการหย่า (คร.6)
    3. การคัดและรับรองข้อมูลทะเบียนรับรองบุตร (คร.11)
    4. การคัดและรับรองข้อมูลทะเบียนรับบุตรบุญธรรม (คร.14)
    5. การคัดและรับรองข้อมูลทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม (คร.17)
    6. การคัดและรับรองข้อมูลทะเบียนบันทึกฐานะแห่งครอบครัว (คร.22)
    7. การคัดและรับรองข้อมูลทะเบียนชื่อสกุล (ช. 2/1)
    8. การคัดและรับรองข้อมูลทะเบียนชื่อตัว (ช. 3/1)
    9. การคัดและรับรองข้อมูลทะเบียนชื่อรอง (ช. 3/1)
    10. การคัดและรับรองข้อมูลเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน (บ.ป.๔)
    11. การคัดและรับรองข้อมูลทะเบียนการเกิด (ท.ร.๑)
    12. การคัดและรับรองข้อมูลทะเบียนการตาย (ท.ร.๔)
    13. การคัดและรับรองข้อมูลรายการบุคคล (ท.ร.๑๔/๑)
    14. การคัดและรับรองข้อมูลรายการทะเบียนประวัติ (ท.ร.๑๒)

เริ่มจองคิวขอรับบริการล่วงหน้า ได้ตั้งแต่วันไหน

เริ่ม 22 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป

หมายเหตุ  สามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้ 15 วัน และช้าสุดไม่เกิน 16.00 น.ก่อนวันเข้ารับบริการ

I am a graduate of Department of Computer Engineering Prince of Songkla University. I really enjoy writing and reviewing technology and women's products.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก