การนําแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาประเทศ ระดับบุคคล

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบแนวคิด ซึ่งมุ่งให้ทุกคนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ รวมถึงการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนเกิดความยั่งยืน คำว่า พอเพียง คือ การดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง โดยตั้งอยู่บนหลักสำคัญสามประการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี    
 

 

ความพอประมาณ

คือ การดำรงชีวิตให้เหมาะสม ซึ่งเราควรจะมีความพอประมาณทั้งการหารายได้ และพอประมาณในการใช้จ่าย ความพอประมาณในการหารายได้ คือ ทำงานหารายได้ด้วยช่องทางสุจริต ทำงานให้เต็มความสามารถ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ส่วนความพอประมาณในการใช้จ่าย หมายถึง การใช้จ่ายให้เหมาะกับฐานะความเป็นอยู่ ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยหรือใช้จ่ายเกินตัว และในขณะเดียวกัน ก็ใช้จ่ายในการดูแลตนเอง และครอบครัวอย่างเหมาะสม ไม่อยู่อย่างลำบาก และฝืดเคืองจนเกินไป

ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกิจ หรือการดำรงชีวิตประจำวัน เราจำเป็นต้องมีการตัดสินใจตลอดเวลา ซึ่งการตัดสินใจที่ดี ควรตั้งอยู่บนการไตร่ตรองถึงเหตุ รวมทั้งคำนึงถึงผลที่อาจตามมาจากการตัดสินใจอย่างรอบคอบ ไม่ใช่ตัดสินใจตามอารมณ์ หรือจากสิ่งที่คนอื่นบอกมาโดยปราศจากการวิเคราะห์

คือ การเตรียมตัวให้พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลง ในโลกที่ไม่มีอะไรแน่นอน ทั้งสภาพลม ฟ้า อากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำเกษตร การเปลี่ยนแปลงในบริษัทคู่ค้า การเลิกจ้างพนักงานในบริษัทใหญ่ หรือแม้แต่ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทั้งในและต่างประเทศที่มีผลต่อการลงทุน เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะดำรงอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเอง และตั้งอยู่ในความไม่ประมาทอยู่เสมอ เช่น เตรียมแผนสำรองสำหรับแต่ละสถานการณ์ การมีรายได้หลายทางเพื่อลดความเสี่ยงในวันที่ถูกเลิกจ้าง หรือการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน

โดยการดำรงชีวิตตามหลักการทั้งสามข้อนั้น จำเป็นต้องมีความรู้และคุณธรรมประกอบด้วย ความรู้ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันที่เหมาะสม เช่น ความรู้ในการประกอบวิชาชีพช่วยให้ธุรกิจและการงานเจริญก้าวหน้า หรือความรู้ในการลงทุนช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้นักลงทุน ทั้งนี้ ความรู้และประสบการณ์ จะช่วยทำให้เราตัดสินใจได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล ถึงแม้ว่า พื้นฐานความคิดและประสบการณ์ที่แตกต่างกันอาจทำให้เหตุผลของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน แต่หากทุกคนยึดมั่นอยู่ในหลักคุณธรรม ก็จะทำให้การอยู่ร่วมกันในสังคมเป็นไปอย่างสงบสุข

อย่างที่กล่าวมาข้างต้น การพึ่งพาตัวเองได้เป็นเพียงส่วนเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเมื่อทุกคนสามารถดูแลตัวเอง และครอบครัวได้แล้ว ขั้นต่อไปอาจทำการพัฒนาธุรกิจ โดยมีการรวมกลุ่มกันในวิชาชีพเดียวกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการรวมกลุ่มกันนั้น ไม่จำกัดเฉพาะการรวมกลุ่มของชาวบ้าน เกษตรกร ในรูปของสหกรณ์ การทำงานในเมืองก็สามารถมีการรวมกลุ่มกันได้ เช่น การแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ในการทำธุรกิจของกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน การแลกเปลี่ยนแนวคิดการลงทุน เพื่อเป็นการต่อยอดความรู้ รวมไปจนถึงการแบ่งปันความช่วยเหลือส่งกลับคืนสู่สังคม ไปสู่กลุ่มที่ยังต้องการความช่วยเหลืออยู่ เช่น กิจกรรมจิตอาสา เพื่อสร้างสังคมที่เข้มแข็งและอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

จะเห็นได้ว่า แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนั้น เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนความไม่ประมาท ด้วยการใช้ความรู้และคุณธรรม เพื่อให้เกิดการพึ่งพาตัวเองได้ และเผื่อแผ่ไปถึงสังคม ซึ่งเราสามารถนำหลักการปฏิบัติไปปรับใช้ได้ทั้งในชีวิตการทำงาน และการดำรงชีวิตครับ

          เศรษฐกิจพอเพียงในระดับประเทศนั้น เป็นเศรษฐกิจพอเพียงระดับที่สาม ซึ่งเป็นอีกขั้นหนึ่งของการต่อยอดจากความพอเพียงในระดับกลุ่มหรือองค์กรที่ก้าวขึ้นมาจากระดับบุคคลและครอบครัว ก่อนจะขยายตัวขึ้นมาในระดับประเทศในท้ายที่สุด เพื่อเป็นแนวคิดและแนวทางในการเชื่อมโยงการดำเนินการด้านต่างๆอย่างเป็นเครือข่าย โดยเริ่มตั้งแต่ทุกคนในประเทศไปจนถึงหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ทั้งในภาครัฐและเอกชน

          เศรษฐกิจพอเพียงระดับที่สาม ขั้นสุดท้ายของเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าที่เน้นความพอเพียงในระดับเครือข่าย คือ การเริ่มร่วมมือกับหน่วยงานด้านต่างๆในทุกๆภาคส่วนเพื่อสร้างระบบเครือข่ายในการติดต่อร่วมมือกันทั้งด้านการลงทุน การผลิต การตลาด การจำหน่าย และการบริหารจัดการ ซึ่งถือว่าเป็นการขยายขอบเขตความหลากหลายทางเศรษกิจ ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน

          แผนการบริหารจัดการในระดับประเทศเน้นส่งเสริมให้บุคคล/ชุมชนต่างๆ มีวิถีปฏิบัติ มีความร่วมมือ และการพัฒนาในสาขาต่างๆ ตามแนวทางของหลักปรัชญาแห่งเศรษฐกิจพอเพียงและดำเนินการตามแผนดังกล่าวอย่างรอบคอบเป็นขั้นตอน เริ่มจากการวางรากฐานประเทศให้มีความพอเพียง โดยส่งเสริมให้ประชาชนส่วนใหญ่สามารถอยู่อย่างพอมีพอกินและพึ่งพาตนเองได้ มีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิตอย่างเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ มีคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียร เอื้อเฟื้อแบ่งปัน ใช้สติปัญญาในการตัดสินใจและดำเนินชีวิตพร้อมทั้งส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มคนต่างๆ จากหลากหลายภูมิสังคม อาชีพ ความคิด ประสบการณ์ เพื่อสร้างความเข้าใจและรู้ความเป็นจริงระหว่างกันของคนในประเทศ จนนำไปสู่ความสามัคคีและจิตสำนึกที่จะร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าไปอย่างสอดคล้องกับสถานภาพความเป็นจริงของคนในประเทศอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ในลำดับๆต่อไป

          การประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในระดับประเทศนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากคนเป็นวงกว้างจากคนในกลุ่มและองค์กร หรือแม้แต่ในครอบครัว เพื่อจะร่วมกันทำสิ่งต่างๆที่ก่อประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ โดยมิได้สร้างประโยชน์ให้กับตนเอง ครอบครัวหรือองค์กรเพียงอย่างเดียว

การจำแนกเศรษฐกิจพอเพียงใน 3 ระดับ แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาที่เริ่มต้นจากหลักของการพึ่งตนเอง และเปลี่ยนจากการพึ่งพาตนเองไม่ได้หรือต้องคอยอาศัยผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา (Dependent) เป็นการพัฒนาตนเองให้มีความเข้มแข็งเป็นอิสระ (Independent) แล้วจึงค่อยๆพัฒนาขึ้นมาเป็นการแลกเปลี่ยน การรวมกลุ่มช่วยเหลือกัน จนนำไปสู่การพึ่งพิงอิงกัน (Inter-dependent) สงเคราะห์เกื้อกูล ร่วมมือกัน และประสานกับโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก