โครงงานเจลล้างมือว่านหางจระเข้

ข้อมูลผลงานนวัตกรรม-

• รายละเอียดของผลงานนวัตกรรม

ประเภทสิ่งประดิษฐ์ : สิ่งประดิษฐ์ด้านผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ปี 2560

ว่านหางจระเข้เป็นสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่สามารถหาได้ง่ายตามบ้านเรือนซึ่งสรรพคุณของว่านหางจระเข้ก็มีมากมายแต่หนึ่งในนั้นคือว่านหางจระเข้สามารถต้านเชื้อแบคทีเรียได้นอกจากนี้จึงเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับผิวกาย กลุ่มของข้าพเจ้าจึงเห็นว่าควรนำประโยชน์ของว่านหางจระเข้มาใช้โดยการนำมาทำเป็นเจลล้างมือชนิดที่ไม่ต้องล้างน้ำออกซึ่งจะสะดวกในการใช้งานอีกทั้งยังสะดวก ต่อการพกพาเนื่องจากทุกวันนี้เราใช้มือของเราจับต้องสิ่งของมากมายซึ่งเราไม่อาจรู้ได้เลยว่าสิ่งของเหล่านั้นมีความสะอาดมากน้อยเพียงใดกลุ่มของข้าพเจ้าจึงจำ เป็นต้องหาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดโดยในท้องตลาดนั้นมีให้เลือกมากมายแต่ยังคงมีราคาที่แพง ฉะนั้นเราจึงคิดค้นหาวิธีการทำเจลที่สามารถทำได้ง่ายและปลอดภัยรวมทั้งปราศจากสารเคมีที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ตามมาได้ดังนั้นกลุ่มของข้าพเจ้าจึงตัดสินใจทำโครงงานเรื่อง เจลล้างมือจากว่านหางจระเข้ชนิดที่ไม่ต้องล้างน้ำออกเพื่อตอบสนองผู้ที่สนใจรวมทั้งวิธีการทำที่ไม่สับซ้อนอีกทั้งวัสดุอุปกรณ์ก็หาได้ง่ายตามบ้านเรือนและตามท้องตลาด

อาจารย์ที่ปรึกษา
1. นาย เจษฎาวุฒิ อักษรเจริญ
2. นาง สุภาพร ธรรมขันธ์

ผู้ประดิษฐ์
1. นาย กรองสิญจน์ วัฒนวงค์
2. นาย มนัส ดอกไม้ช่อวิไล
3. นางสาว อนงค์นาฏ บุรมณ์

• ความร่วมมือที่แสวงหา :

ถ่ายทอดเทคโนโลยี, เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ

• วันที่เผยแพร่ผลงาน :

15 กันยายน 2564

• ระดับความพร้อมของนวัตกรรม :

TRL-7 นำผลงานไป ทดลองใช้แล้ว

• ความต้องการในการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ :

Directory ประชาสัมพันธ์เท่านั้น

• ราคาของผลงานนวัตกรรม :

ยังไม่ได้กำหนดราคา

สถานที่เยี่ยมชมผลงานนวัตกรรม+

ข้อมูลกรรมสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา+

รายละเอียดเจ้าของข้อมูล+

เจลล้างมือจากว่านห่างจระเข้

• ราคาของผลงานนวัตกรรม : ยังไม่ได้กำหนดราคา

• จุดเด่นของผลงานนวัตกรรม :

ประโยชน์ว่านห่างจระเข้ วุ้นจากใบใช้ทาเพื่อปกป้องผิวจากแสงแดด ด้วยการใช้วุ้นจากใบทาก่อนออกแดด หรือจะใช้ใบสดก็ได้ แต่ใบสดอาจทำให้ผิวหนังแห้ง เพราะใบมีฤทธิ์ฝาดสมาน ถ้าต้องการลดการทำให้ผิวแห้ง ก็อาจจะใช้ร่วมกับน้ำมันพืชหรืออาจเตรียมเป็นโลชั่นก็ได้ (วุ้นจากใบ) ประโยชน์แอลกอฮอร์สามารถทำให้เซลล์แบคทีเรียเสียสภาพ (จนตายในที่สุด) เนื่องจากโครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์ของแบคทีเรียเป็น hospholipase bilayer ดังนั้นมันจึงถูกละลายได้ด้วย ethyl alcohol
• ได้รับความรู้เกี่ยวกับคุณประโยชน์ของว่านหางจระเข้
• การทำเจลล้างมือ 3เป็นแนวทางในการนำสมุนไพรมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์.
• สามารถนำไปประกอบอาชีพได้
• เป็นแนวทางให้มีการศึกษาวิจัยและปรับปรุงเจลล้างมือจากว่านหางจระเข้ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นในอนาคต

• ชื่อเจ้าของข้อมูล : สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา

• ประเภทผลงานนวัตกรรม :

ผลงานนวัตกรรม

• หมวดหมู่นวัตกรรม :

อื่นๆ

• ระดับนวัตกรรม :

TRL-7 นำผลงานไป ทดลองใช้แล้ว

• ความร่วมมือที่แสวงหา :

ถ่ายทอดเทคโนโลยี, เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ

• ความต้องการจำหน่าย :

Directory ประชาสัมพันธ์เท่านั้น

วันที่เผยแพร่: 15 กันยายน 2564

|

ผู้เยี่ยมชม: 341

กิตติกรรมประกาศ

               โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ เรื่อง เจลล้างมือ จะสำเร็จลุล่วงถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือจาก อาจารย์สราวุธ สุธีรวงศ์ และ อาจารย์ประภาพร เพิ่มโสภา ที่ช่วยให้คำปรึกษา และ        ช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับโครงงาน และขอขอบคุณผู้ปกครอง และอาจารย์ที่โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี และให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ และให้กำลังใจตลอดมา

             คณะผู้จัดทำโครงงานขอขอบคุณท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องไว้ ณ โอกาสนี้                                                                                                                        คณะผู้จัดทำ

บทคัดย่อ

               โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ เรื่อง เจลล้างมือ จัดทำขึ้นมาเพื่อมีวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายในการรักษาความสะอาดของมือของเรา เพราะปัจจุบันหลายคนใช้เจลล้างมือ            แบบไม่ใช้น้ำกันมาก ให้ทุกคนช่วยรักษาความสะอาดของมือเรา     เพราะมือของเราได้จับหลายสิ่งต่างๆมา ทำให้ในมือของเรามีเชื้อโรคติดอยู่ ทางเราจึงได้คิดสิ่งประดิษฐ์นี้ขึ้น       มาเพื่อจะทำให้มือเราสะอาด ถ้ามือของเราไม่สะอาด แล้วไปสัมผัสกับร่างกายของเรา เช่น ปาก ตา หรือจมูก ก็จะทำให้เชื้อโรคติด        เข้าไปข้างในร่างกายเราได้ อาจจะทำให้       เรา เป็นโรคมือเท้าปากได้ ดังนั้นทางเราจึงคิดที่จะทำสิ่งประดิษฐ์นี้ขึ้นมา จะสามารถใช้ได้สะดวก พกพาได้ง่าย และใช้ได้ตลอดเวลา ทุกคนจะได้มีมือที่สะอาด ปลอดภัย                    สามารถ ใช้ได้ทุกคน ทุกเพศ         ทุกวัย ไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ ต่อผู้ใช้เจลล้างมือนี้

บทที่1

บทนำ

    ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

          ปัจจุบัน เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเชื้อโรคได้เลย เราต้องเดินทางไปมาในสังคมส่วนรวมเป็นประจำ ทำให้โอกาสติดเชื้อโรคหรือล้มป่วยจึงมีมากขึ้น ด้วยเหตุนั้นจึงมี                มาตรการป้องกันเชื้อโรคหลายๆด้านหนึ่งในนั้นคือเจลล้างมือ  เจลล้างมือมีประโยชน์อย่างมาก แต่บางคนก็ไม่ชอบใช้เจลเพราะมีกลิ่นแอลกอฮอล์ ทางคณะผู้จัดทำได้เล็งเห็น             ปัญหานี้จึงได้จัดทำเจลล้างมือกลิ่นผลไม้ขึ้นมา

    วัตถุประสงค์

         1.สร้างความหลากหลายของเจลล้างมือเพื่อให้ผู้ใช้เลือกใช้ได้ตรงตามความต้องการของตนเอง

         2.ให้ผู้คนหันมาสนใจการใช้เจลล้างมือเพื่อป้องกันเชื่อโรค

    ขอบเขตโครงงาน

         1.สามารถนำเจลล้างมือนี้ไปใช้ได้ โดยไม่ต้องไปซื้อมา

         2.สามารถนำไปต่อยอดความคิดเป็นรายได้เสริมได้ โดยที่ไม่ต้องเดือดร้อนผู้อื่น

         3.ทำให้เกิดไอเดียใหม่ๆขึ้นมา

    วิธีดำเนินงาน

         1.ประชุมและกำหนดหัวเรื่องของงานที่จะทำ

         2.วิเคราะห์ข้อมูลและแบ่งหน้าที่ให้สมาชิกแต่ละคน

         3.จัดหาอุปกรณ์ และส่วนผสมที่จะทำ

         4.ลงมือปฏิบัติ

         5.ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์

         6.ศึกษาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

         7.คำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมด

         8.นำเสนอโครงงาน

    วิธีการสืบค้นข้อมูล

    การสืบค้นข้อมูล หมายถึง การนำความรู้เกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาหาความรู้ ได้แก่ การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต โดยการใช้อินเตอร์เน็ตเกี่ยวกับการศึกษา

    วิธีการสืบค้นข้อมูล

        1. เปิดเว็บ www.google.co.th 

        2.คลิกตัวเลือกรูปภาพ

        3.พิมพ์กลุ่มชื่อภาพที่ต้องการจะค้นหา

        4.คลิกปุ่มค้นหา

        5.ภาพที่ค้นหาพบ

        6.การนำภาพมาใช้งาน ห้คลิกเม้าส์ด้านขวาที่ภาพ Save Picture as

        7.กำหนดตำแหน่งที่จะบันทึกที่ช่อง Save in

        8.กำหนดชื่อที่ช่อง File Name

        9.คลิกปุ่ม Save

บทที่2

เอกสารและโครงงานที่เกี่ยวข้อง

    หลักการและทฤษฎี

             การได้กลิ่นเปิดโอกาสให้ร่างกายรู้จำโมเลกุลสารเคมีในอากาศที่ถูกสูดเข้าไปอวัยวะดมกลิ่นที่อยู่ในด้านทั้งสองข้างของผนังกั้นโพรงจมูก ประกอบด้วยเยื่อบุผิวรับ                       กลิ่น (olfactory epithelium)และ เนื้อเยื่อยึดต่อใต้เยื่อบุผิว (lamina propria)เยื่อบุผิวรับกลิ่นมีเซลล์รับกลิ่น (olfactoryreceptor cell)บุผิวด้านล่างของแผ่นกระดูกพรุน                     (Cribriform plate),ผิวด้านบนของแผ่นกระดูกตั้งฉากอันเป็นส่วนของแผ่นกระดูกตั้งฉากอันเป็นส่วนของกระดูกเพดานปาก(Perpendicular plate of palatine bone),ผิวด้านบน         ของกระดูกก้นหอย ของจมูก(Nasal concha)มีสารเคมีประมาณ2%จากทั้งหมดที่สูดเข้าไปทั้งนั้นที่ไปถึงอวัยวะดมกลิ่นเป็นเพียงแต่ตัวอย่างเล็กน้อยของอากาศที่สูดไป

             เซลล์รับกลิ่นยื่นออกมาจากเยื่อบุผิวเพื่อเป็นฐานสำหรับขนเซลล์ (cilla) ที่มีเมือกอยู่รอบๆกลิ่นทำปฏิกิริยากับขนเซลล์เหล่านี้กลิ่นโดยปกติเป็นโมเลกุลประกอบอินทรีย์เล็กๆ        ระดับการละลายได้ในน้ำและลิพิดของกลิ่นมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับความแรงของกลิ่น การที่กลิ่นเข้าไปยึดกับหน่วยรับความรู้สึกคู่กับโปรตีนจี (G protein-coupled                     receptor)ปลุกฤทธิ์ของ adenylate cyclase ซึ่งแปรอะดีโนซีนไตรฟอสเฟต(ATP)ให้เป็น Cyclic adenosine monophosphate ซึ่งสนับสนุนให้เปิดประตูโซเดียม(Sodium             channel) ทำให้เกิดศักย์ตัวรับความรู้สึกเฉพาะพื้นที่

               ระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน สำหรับกลิ่นก็คือระดับการรับรู้ที่ต่ำที่สุดเพียงพอที่จะทำให้เกิดการตอบสนองจากตัวรับกลิ่นในจมูกตัวอย่างก็คือน้ำหอมหยดหนึ่งในบ้านมี 6 ห้อง        ค่านี้ไม่เหมือนกันในสารมีกลิ่นต่างๆ

                                                                                                                                                                    บทที่3

      วิธีดำเนินงาน

    แนวทางการดำเนินงาน

              หาข้อมูลเกี่ยวกับกลิ่นหอมที่สามารถเข้ากับกลิ่นแอลกอฮอล์ได้ดีจัดทำผลิตภัณฑ์

    เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้

              1.คอมพิวเตอร์

              2.อินเทอร์เน็ต

              3.เอทิลแอลกอฮอล์

              4.กลีเซอรีน

    วิธีทำ

              อุปกรณ์ ถัง หม้อสแตนเลสหรือพลาสติก ขนาดบรรจุ 1.5 ลิตร ไม้พาย ถ้วยตวงขนาดบรรจุ1ลิตร(1,000 มล.)

        สารเคมีเอธิลแอลกอฮอล์ ปริมาณ740 มล. กลีเซอรีน 10 มล. น้ำ 245 มล. น้ำหอม 5มล.

     วิธีการผสม เตรียมสารละลายน้ำหอม

             1.ตวงเอธิลแอลกอฮอล์ ปริมาณ 40 มล. โดยใช้ถ้วยตวงที่เตรียมไว้ 

             2.เติมน้ำหอม ปริมาณ 5 มล. ลงไป

             3.เติมกลีเซอรีน ปริมาณ 10 มล. ลงไป

             4.กวนด้วยพายจนสารผสมเข้ากันดี ได้สารละลายใส

    ข้อแนะนำ วิธีทำเจลล้างมือ

            ในขั้นตอนที่ 3 และ 4 นั้น จำเป็นที่จะต้องทิ้งไว้หลายชั่วโมง เพื่อให้เจลล้างมือเซ็ทตัว สามารถเติมสีของเจลล้างมือ ได้ตามใจชอบ งานนี้เด็กๆถ้าจะทำควรอยู่ในความดูแล        ของผู้ใหญ่

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

            1.สามารถใช้ป้องกันเชื้อโรคได้

            2.สามรถต่อยอดความคิดพัตนาให้เป็นรายได้

            3.มีความรู้ความเข้าใจในการทำเจลล้างมือใช้เอง

    สถานที่ดำเนินการ

            โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

    กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง

            วิทยาศาสตร์

บทที่4

ผลการทดลอง

    ตอนที่1 การทำเจลล้างมือกลิ่นน้ำหอม

ผลการทดลอง

อัตราส่วน

ผลการทดลอง
เจลล้างมือ : กลิ่นน้ำหอม/สีม่วง เจลที่ได้เหนียวนุ่ม ค่อนข้างหอม
เจลล้างมือ : กลิ่นน้ำหอม/สีชมพู เจลที่ได้เหนียวนุ่ม ค่อนข้างหอม

    ตอนที่2 การทดสอบหาประสิทธิภาพของเจล

            จากการนับโคโลนีจุลินทรีย์ พบว่าจานเพาะเชื้อที่ไม่ได้ใส่เจลล้างมือมีจำนวนโคโลนีมาก ส่วนจานเพาะเชื้อที่ใส่เจล พบเชื้อน้อยมาก จนแทบไม่มีเลย

    ตอนที่3 การทำแบบสำรวจ

            1.ทำแบบสำรวจสำหรับผู้ใช้เจลล้างมือขึ้น

            2.สุ่มเลือกผู้ใช้ จากนักเรียนห้อง ม.2/1โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี จำนวน10คน เป็นชาย5คน และหญิง 5 คน

            3.ทำการสำรวจ โดยให้ผู้ทดลองใช้เจลล้างมือกลิ่นน้ำหอมทั้ง 2 สี

            4.นำผลการสำรวจ มาจัดรูปแบบการนำเสนอ

บทที่5

สรุปผล อภิปรายผลผล และข้อเสนอแนะ

     สรุปผล

            จากการทำโครงงานครั้งนี้ทำให้คณะผู้จัดทำได้เรียนรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการผลิตเจลล้างมือได้อย่างถูกต้อง และสามารถนำสิ่งที่มีในครัวเรือนมาประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ซึ่งก่อ        ให้ เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆและได้ผลิตภัณฑ์ที่มีกลิ่นและสีที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

     อภิปราย

        – คุณภาพของเจลล้างมือกลิ่นสมุนไพร

            1.สามารถทำความสะอาดเชื้อโรคที่มีอยู่บนมือได้

            2.มีกลิ่นหอม สีสันสวยงามเป็นธรรมชาติ ดึงดูดความสนใจของผู้ใช้

            3.สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน

            4.นำมาเป็นสิ่งประดิษฐ์เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว

         ลู่ทางการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์

            1.สามารถทำเองที่บ้านได้ ลดค่าใช้จ่ายภายในบ้าน

            2.เพื่อความสะดวกสบาย

            3.นำมาเป็นสิ่งประดิษฐ์เพื่อเพิ่มรายได้ให้ครอบครัว

            4.เป็นการฝึกทักษะในการคิดค้นทดลอง โดยนำสิ่งที่มีในครัวเรือนมาแปรรูป ให้เกิดประโยชน์

        – ประโยชน์ที่ได้รับ

            1.พัฒนาทักษะกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ และทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ

            2.ริเริ่มสร้างสรรค์การนำเอาสิ่งที่มีในครัวเรือนมาแปรรูปให้เกิดประโยชน์

            3.ใช้เวลาว่างที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์

    ข้อเสนอแนะ

            1.ควรเพิ่มกลิ่นให้มีความหอมมากๆมีหลากหลายกลิ่น

            2.นำผลงานไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น นำไปวางตามบริเวณต่างๆของโรงเรียน

บรรณานุกรม

        แหล่งอ้างอิง (เอกสาร หรือแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่นำมาใช้การทำโครงงาน)

            //blog.eduzones.com/n2ship/28241

            th.wikipedia.org/wiki/เส้นประสาทรับกลิ่น‎

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก