รายได้เพิ่มเติมที่เรียกเก็บในสมัยรัชกาลที่ 2

�ҡ���������������  ��кҷ���稾�й���������������� �������ɮ��Ҫ��� �ç�繹ѡ��ä�ҷ����ʺ������������㹸�áԨ��ä�� ���դ�����ԭ��觤��  �����੾�о��ͧ��  ���ѧ�ӼŻ���ª��������ҹ���ͧ  ���ͧ��ç�繾�ͤ�ҷ��ŧ�ع���Ѻ��ЪҪ��ͧ���ͧ��  ŧ�ع���Ѻ��ҹ���ͧ����Ȫҵ�  �������ѧ�ŵͺ᷹  �繷���Шѡ��Ѵ���  ���ç�ӹ֧�֧��ǹ���ͧ����¹͡�ҡ��ЪҪ�����蹴Թ��  ��觤��·ء���������㨡ѹ�Դ�ٹ������õԤس�ͧ���ͧ����� �ç�� ��кԴ���觡�ä����.

การจัดเก็บส่วยสาอากรทั้ง 4 ประเภท ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้ถูกกำหนดเป็นรูปแบบการจัดเก็บต่อเนื่องมาจนถึงสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี และตอนต้นรัชกาลที่ 1 - รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จนถึงในสมัยรัชกาลที่ 3 พระบามสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ รัฐบาลมีความจำเป็นที่ต้องการใช้เงินในราชการมากกว่าแต่ก่อนพระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีการปรับปรุงการจัดเก็บภาษีเป็นผลให้เกิดการจัดเก็บภาษีขึ้นใหม่ 38 ประเภท ทั้งนี้โดยเป็นภาษีที่เก็บจากการพนัน และจากผลผลิตประเภทต่างๆ จำแนกได้ดังนี้

����ѵ���ʵ�������Ѫ��ŷ�� 2 ( ��кҷ���稾�оط��������ҹ����� ) ( �.�. 2352-2367)
��ҹ���ɰ�Ԩ
           �����Ѫ��ŷ�� 2 ��ҹ���ͧ��ҧ�ҡ����֡ʧ���� �֧�ա�ä�Ң����ԭ������ͧ�������͹����Ǥ�� �ա�õԴ��ͤ�Ң�¡Ѻ��������͹��ҹ�ҡ��� �� �չ �Թ��� ���С� �ԧ���� �ǹ ������ �繵� ����Ѻ����ȷҧ���ѹ��
���� �õ��� �ѧ��� ����ԡ����Ըմ��Թ��ä�Ң�� �ͧ��ǧ�ѧ������Ф�ѧ�Թ��ҨѴ��� �������� ��Ժѵ��� ������١������������ɮҺ�Թ��� ������ç 㹡�����������ǧ�Դ��ͤ�Ң�¡Ѻ�չ��л������� � �����Ѻ����Ҫ�ҹ�������������ǔ
��Ѫ��ù�������͡ӻѹ��ǧ�����㹡�ä�Ң�·���Ӥѭ 2 �� ��� �������Ҿ�й������������Ң�����ط� �Թ��ҷ��١��� ����¹�� ������Թ��Ң��͡�� 10 ��Դ ��� �ѧ�� �ҧ �պء ��ԡ�� ������� ������ �С��� �Ҫ�ҧ ç��Ъ�ҧ �Թ��� ����������͡���索Ҵ ��� �������͡��Т������ ��ǹ�Թ��Ң���ҡ��� �׹��дԹ�׹
��û�Ѻ��ا�����ҡ� �ѡɳС���������ҡ��ѧ������͹�����Ѫ��ŷ��1 �ա�û�Ѻ��ا��������ѧ���
          1 . ����Թ�ǹ ��͡������Ҿ�ѡ�ҹ�͡����Ǩ�ǹ�ͧ��ɮ� �㹡�����ҡ��ǹ�����Դ�ͧ ����� �ѧ���
                    1.1 �ҡ��ǹ�˭� �繡�������ըҡ������׹�鹪�鹴� �� 7 ��Դ ����
�����¹ �ѧ�ش ����ǧ �л�ҧ �ҧ�Ҵ ��ҡ��о�٤�ҧ�ͧ��ҧ
                   1.2 ��ҡ� �����շ���纨ҡ��������ͧ �� 8 ��Դ ����
��ع �з�͹ ��� ��� ��� ���� �Ѻ��ô������
                   1.3 �ҡ����ѵ�� �����շ���纨ҡ���������ء �� ����� ���� �繵�
           2 . ����Թ�� ����¡Ѻ����Թ�ǹ ������ҡä�ҹ� ���¡��� ��ҧ���ǔ ���觹��͡�� 2 ������ ��� �ҹ�ӷ�� ��йҧ�ҧ���
                   2.1 �ҹ�ӷ�� ���� �Ҥ��� ���¶֧�ҷ������ö��١���������¤����˹�觻�������¹�ӽ����͹�ӷ�� �Ըա�������� �����ҧ����*�ͧ�һ�������� �纴����Ըմ٤��⤤�͡�ùѺ����͡�к�ͷ����䶹��¡�äӹdz����˹�觤�������ö��ӹ�㹼׹�Թ���ҹ�� � ����������������ࡳ��ӹǹ⤢�鹨�����ѵ���ҧ���Ƿ��е�ͧ�������� �һ��������֧���¡�ա���˹����� "�Ҥ���" �й�鹹Ҥ��⤹����ɮèзӹ�������������е�ͧ��������(�ҧ����)��ʹ� ����ͷҧ�Ҫ��� �Ѵ��ѡ�ҹ���͢����ǧ�Թ�������Ǩ�����Ѱ��Ũ��͡˹ѧ��������Ңͧ���Ҷ���������ѡ�ҹ㹡�����¡���ҧ���������ҡ�
��ҹҵ��� ˹ѧ����ѭ�ҹ�����¡��� "���ᴧ"
                     2.2 �ҿҧ��� ���� �Ҵ͹ ���¶֧�ҷ������ö��١����������¹�ӽ���§���ҧ���� �繹�㹷��͹��ӷ�Ң�����֧ �Ը��������ҧ��������Ѻ�һ���������纨ҡ�ҷ������ö��١�������ԧ ��һ�����������ͷ������ ������ͧ�����ҡä�ҹ���ж����ҵͿҧ�������������� ��ࡳ��㹡���纤�ҹ� ����ͷҧ�Ҫ��� �Ѵ��ѡ�ҹ���͢����ǧ�Թ��
�����Ǩ���� �Ѱ��Ũ��͡˹ѧ��������Ңͧ���Ҷ���������ѡ�ҹ㹡�����¡���ҧ���������ҡä�ҹҵ��� ˹ѧ����ѭ�ҹ��
���¡��� "㺨ͧ"


*�ҧ���� ���¶֧���������ҡä�ҹ� ����Ѱ������繢������͡������Ѫ��ŷ�� 2 �Դ�ҡä�ҹ���ѵ������� �ͧ�Ѵ����


�ҵ�� �ǧ��������

�йҹ=1�ѧ�ѧ =1������   = 1���¹�ѧ=1���¹

�йҹ=�Ե���� =�����Ե����¹=�����Ե����¹= �Ե�

1 �Ѵ = 20 �Ե�

�Թ����ǧ����¾���ҷ��������ط���������������
������Թ���ٻ�ѡ�ˡ��պ ��ҧ�ѡ� ��� �����ҧ��պ ���ش�����Ш��Ѫ��� ���ٻ��ر ����������ͧẺ ��� ��ر͡����������ر ����������������³�����Ҫ �����ر͡����ѡɳ���������ͧ�Թ����ǧ����͹�Ѻ�Թ����Ե���������ط��ʹ��Ҩ����š

สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เนื่องจากเป็นช่วงระยะของการก่อร่างสร้างตัวและไทยยังต้องทำสงครามกับพม่าอีก ซึ่งทำให้ฐานะของประเทศไม่มั่นคงนัก พระองค์จึงสนับสนุนให้ทำการค้ากับต่างประเทศ เช่น จีนและโปรตุเกส

ตั้งแต่ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เป็นต้นมา เศรษฐกิจของประเทศนับว่าฟื้นตัวขึ้นมาจากเดิมมาก การเกษตรซึ่งเป็นอาชีพหลักของประชาชนในช่วงระยะนี้ ขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับการค้ากับต่างประเทศ รายได้สำคัญของรัฐบาลสามารถแบ่งได้ 2 ทาง คือ

1. รายได้จากการค้ากับต่างประเทศ

กรุงเทพฯ นับว่าอยู่ในทำเลที่เหมาะสมในการติดต่อค้าขายทางเรือ เพราะตั้งอยู่ไม่ไกลจากปากทะเล ในสมัยรัชกาลที่ 2 พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3) ซึ่งทรงบังคับบัญชากรมท่า มีบทบาทในการส่งเสริมการค้าโดยเฉพาะกับจีน จนสมเด็จพระบรมชนกนาถ ทรงเรียกพระนามว่า "เจ้าสัว" ต่อมาเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างจริงจัง การค้าขายกับต่างประเทศจึงขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าใน 2 รัชกาลแรก

รายได้จากการค้ากับต่างประเทศที่สำคัญ สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้คือ

(1) การค้าสำเภาหลวง พระคลังสินค้า ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐขึ้นอยู่กับพระคลัง (พระยาโกษาธิบดี) มีหน้าที่รับผิดชอบในการแต่งเรือสำเภาหลวงบรรทุกสิ่งของที่เป็นส่วย เช่น ดีบุก พริกไทย ครั่ง ขี้ผึ้ง ไม้หอม ฯลฯ รวมทั้งสินค้าอื่นๆ ที่จัดซื้อหาเพิ่มเติมออกไปค้าขายกับจีนและประเทศใกล้เคียง เช่น เขมร ญวน และมลายู แล้วรับซื้อสินค้าต่างประเทศที่ต้องการใช้ภายในประเทศ เช่น ผ้า ถ้วยชาม มาจำหน่ายแก่ประชาชนอีกต่อหนึ่ง ผลกำไรจากการค้าสำเภาหลวงนับเป็นรายได้ที่สำคัญยิ่งของแผ่นดินในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ขี้ผึ้้ง

(2) กำไรจากการผูกขาดสินค้า พระคลังสินค้ามีหน้าที่ควบคุมการค้ากับต่างประเทศ เช่นในสมัยอยุธยา โดยผูกขาดสินค้าบางอย่าง เช่น รังนก ฝาง ดีบุก งาช้าง พริกไทย เนื้อไม้ ตะกั่ว และพลวง เป็นสินค้าผูกขาดของหลวง ราษฎรผู้ใดมีสินค้าดังกล่าว ให้นำมาขายแก่พระคลังสินค้า เท่านั้น ห้ามเอกชนซื้อขายกับพ่อค้าต่างชาติโดยตรง ถ้าชาวต่างประเทศต้องการซื้อสินค้าเหล่านี้ จะต้องซื้อผ่านพระคลังสินค้า ซึ่งทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลาง

(3) ภาษีปากเรือ เป็นค่าธรรมเนียม ซึ่งเก็บจากเรือสินค้าของชาวต่างประเทศที่เข้ามาจอดในเมืองท่าของไทย กำหนดเก็บภาษีตามส่วนกว้างที่สุดของเรือ โดยคิดอัตราภาษีเป็นวาและเรียกเก็บในอัตราที่ต่างกัน เช่น ในสมัยรัชกาลที่ 2 เรือของจีนเสียวาละ 40 บาท เรือกำปั่นฝรั่ง เสียวาละ 118 บาท ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อไทยทำสนธิสัญญาเบอร์นีกับอังกฤษ ใน พ.ศ. 2369 ได้มีข้อตกลงว่ารัฐบาลไทยจะเก็บภาษีจากพ่อค้าอังกฤษรวมเป็นอย่างเดียวตามความกว้างของปากเรือ เรือสินค้าที่บรรทุกสินค้ามาขาย เก็บวาละ 1,700 บาท ส่วนเรือที่ไม่ได้บรรทุกสินค้าเข้ามาขาย เก็บวาละ 1,500 บาท

(4) ภาษีสินค้าขาเข้า เก็บจากสินค้าที่พ่อค้าต่างประเทศนำเข้ามาจำหน่าย เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าแพรจีน เครื่องแก้ว เครื่องลายคราม ใบชา อัตราการเก็บไม่แน่นอน ยืดหยุ่นตามความเหมาะสม เช่น เรือของประเทศที่มีสัมพันธไมตรีเข้ามาค้าขายเป็นประจำ จะได้รับสิทธิพิเศษ ในสมัยรัชกาลที่ 2 เรือสินค้าของชาวจีนเสียภาษีสินค้าขาเข้าร้อยละ 4 ถ้าเป็นเรือสินค้าของชาติตะวันตก เสียภาษีร้อยละ 8 ของราคาสินค้า

(5) ภาษีสินค้าขาออก เก็บจากสินค้าที่ส่งออกในอัตราที่ต่างกันไปตามชนิดของสินค้า เช่น ในสมัยรัชกาลที่ 2 รังนกนางแอ่นกับเขากวางอ่อน เสียภาษีร้อยละ 20 ของราคาสินค้า งาช้างหาบละ 10 สลึง เกลือเกวียนละ 4 บาท หนังวัว หนังควาย กระดูกช้าง หาบละ 1 บาท

2. รายได้ภายในประเทศ

ส่วนใหญ่คงเป็นแบบเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายและสมัยกรุงธนบุรี รัฐบาลมีรายได้จากการเก็บภาษีอากร แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

(1) จังกอบ หมายถึง ภาษีสินค้าผ่านด่านทั้งทางบกและทางน้ำ โดยการเก็บตามสัดส่วนสินค้าในอัตรา 10 หยิบ 1 หรือเก็บเงินตามขนาดของยานพาหนะที่ขนสินค้าผ่านด่าน ส่วนใหญ่วัดตามความกว้างที่สุดของปากเรือ

(2) อากร เป็นเงินที่เก็บจากผลประโยชน์ที่ราษฎรได้จากการประกอบอาชีพต่างๆ ที่ไม่ใช่การค้าขายโดยตรง เช่น การทำนา ทำสวน หรือเงินที่พ่อค้าเสียให้แก่รัฐบาลในการให้สัมปทานการประกอบการต่างๆ เช่น การให้เก็บของป่า การต้มสุรา อัตราที่เก็บประมาณ 1 ใน 10 ของผลประโยชน์ที่ราษฎรทำมาหาได้

(3) ส่วย เป็นเงินหรือสิ่งของที่ไพร่หลวงที่ไม่ต้องการเข้าเวรรับราชการส่งมาให้รัฐแทนการเข้าเวรรับราชการโดยรัฐเป็นผู้กำหนดว่าให้ไพร่หลวงต้องเข้าเวรภายใน 3 เดือน ผู้ใดไม่ต้องการจะเข้าเวร จะต้องเสียเป็นเงินเดือนละ 6 บาท

(4) ฤชา เป็นเงินค่าธรรมเนียมที่รัฐเรียกเก็บจากราษฎร ในกิจการที่ทางราชการจัดทำให้ เช่น การออกโฉนด เงินปรับสินไหม ที่ฝ่ายแพ้จะต้องชดใช้ให้แก่ฝ่ายชนะ รัฐก็จะเก็บไปครึ่งหนึ่งเป็นค่าฤชา เรียกว่า "เงินพินัยหลวง"

นอกจากนี้ ยังได้มีการปรับปรุงภาษีบางอย่างเพิ่มขึ้นจากเดิม ในสมัยรัชกาลที่ 2 และ รัชกาลที่ 3 ที่สำคัญๆ มีดังนี้

ในสมัยรัชกาลที่ 2 มีการปรับปรุงภาษี ดังนี้ การเดินสวน คือ การให้เจ้าพนักงานที่ได้รับการแต่งตั้งออกไปสำรวจเรือกสวนของราษฎรว่าได้จัดทำผลประโยชน์ในที่ดินมากน้อยเพียงใด แล้วออกหนังสือสำคัญให้เจ้าของถือไว้เพื่อเป็นหลักฐานการเสียภาษีอากร ซึ่งการจัดแบ่งภาษีการเดินสวนจัดแบ่งตามประเภทของผลไม้

การเดินนา คือ การให้เจ้าพนักงานออกไปสำรวจที่นาของราษฎร แล้วออกหนังสือสำคัญให้เจ้าของถือไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการเสียภาษีอากรที่เรียกว่า "หางข้าว" คือ การเก็บข้าวในอัตราไร่ละ 2 ถัง และต้องนำไปส่งที่ฉางหลวงเอง

เงินค่าผูกปี้ข้อมือจีน เดิมชาวจีนได้รับการยกเว้นจากการเกณฑ์แรงงานในขณะที่ราษฎรไทยที่เป็นไพร่และชนกลุ่มน้อยอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในเมืองไทยต้องถูกสักข้อมือเป็นไพร่และต้องทำงานให้แก่มูลนายและพระเจ้าแผ่นดิน รัฐบาลไทยในสมัยรัชกาลที่ 2 เห็นควรที่จะได้ใช้ประโยชน์จากแรงงานจีน จึงได้พิจารณาเก็บเงินค่าราชการจากชาวจีน 1 บาท 50 สตางค์ ต่อ 3 ปี จีนที่มาเสียค่าแรงงานแล้วจะได้รับใบฎีกาพร้อมกับได้รับการผูกปี้ข้อมือด้วยไหมสีแดงประทับตราด้วยครั่งเป็นตราประจำเมือง ซึ่งแตกต่างกันออกไป เช่น เมืองเพชรบุรีเป็นรูปหนู กาญจนบุรี เป็นรูปบัว การผูกปี้ข้อมือจีนนี้ เริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้เป็นประเพณีปฏิบัติสืบมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 จึงมีพระราชบัญญัติลักษณะการผูกปี้ข้อมือจีนพ.ศ.2443 ออกใช้บังคับทั่วทุกมณฑลและได้ยกเลิกไปในตอนปลายรัชกาลเมื่อพ.ศ. 2451

ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการเก็บภาษีอากรเพิ่มขึ้นหลายชนิด เช่น ภาษีพริกไทย น้ำตาล เป็นต้น ในสมัยนี้มีระบบการเก็บภาษีแบบใหม่เกิดขึ้น เรียกว่า "ระบบเจ้าภาษีนายอากร" หมายถึง การที่รัฐเปิดประมูลการเก็บภาษี ผู้ชนะการประมูล คือ ผู้ที่เสนอผลประโยชน์สูงสุดให้แก่รัฐบาล มีอำนาจไปดำเนินการเก็บภาษีแทนรัฐบาลอีกต่อหนึ่ง ผู้ที่ประมูลภาษี เรียกว่า "เจ้าภาษีนายอากร" ส่วนมากเป็นชาวจีนผู้มีฐานะดีทางเศรษฐกิจจากการลงทุนค้าขาย ผลดีของระบบเจ้าภาษีนายอากร คือ รายได้จากการเก็บภาษีอากรได้ผลเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น แต่มีข้อเสีย คือ เป็นระบบผูกขาดที่ให้แก่ชาวจีนเป็นส่วนใหญ่ และอาจจะมีการขูดรีดภาษีจากราษฎรได้

ด้านการเมือง

ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัยนั้น ยังคงดำาเนินการปกครองตามอย่างเมือง คร้ังสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เป็น ส่วนใหญ่ แต่จะ มีการเพิ่มเติมบ้าง เช่น ทรงกำหนดการเข้ารับราชการของพลเรือน คือ ทรงให้การผ่อนผัน การเข้ารับราชการของผู้ชายเหลือปีละ ๓ เดือน คือ มาเข้ารับราชการ ๑ เดือน และไปพักประกอบอาชีพ ส่วนตัว ๓ เดือน แล้วให้กลับมาเข้ารับราชการอีก สลับกันไป นอกจากน้ันยังทรงพระกรุณาพระราชทาน เงินหลวงจ้างแรงงานกรรมกรจีนมาทำางานโยธา เช่น การขุดคลอง แทนการเกณฑ์แรงงานประชาชน ดังแต่ก่อน

ทรงเอาพระทัยใส่ดูแลทุกข์สุขของอาณา ประชาราษฎร์อย่างทั่วถึง ทรงออกกฎหมายใหม่ เช่น ห้ามสูบฝิ่น  ห้ามเลี้ยงไก่  เลี้ยงนกและปลากัดเอาไว้ กัดกันเพื่อเป็นการพนัน อันเป็นการทำร้ายสัตว์ เป็น การก่อให้เกิดบาปกรรมแก่ตนเองและทำให้ศีลธรรม เสื่อมทรงออกกฎหมายว่าสัญญาเกี่ยวกับที่ดินต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นต้น

ด้านสังคม

1. การควบคุมกำลังคน

เมื่อแรกตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีใหม่ๆ สังคมไทยต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนกำลังคนอย่างมาก เพราะต้องใช้กำลังคนทั้งการก่อสร้างพระนครใหม่ การป้องกันบ้านเมือง และต้องการไว้รบเพื่อเตรียมทำสงคราม ฉะนั้นระบบไพร่จึงมีบทบาทสำคัญมาก

ระบบไพร่ หรือ การควบคุมกำลังคนในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงอาศัยระบบไพร่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นรากฐาน จากสภาพทางเศรษฐกิจที่การค้ากับต่างประเทศกำลังเจริญรุ่งเรืองกว่าแต่ก่อน ตลอดจนการเข้ามาของมหาอำนาจตะวันตก มีผลทำให้ระบบไพร่ในสมัยนี้ลดการควบคุมที่ค่อนข้างเข้มงวดลง ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ไพร่หลวงจะต้องถูกเกณฑ์แรงงานประจำเข้าเดือน ออกเดือน รวมแล้วปีหนึ่งต้องถูกเกณฑ์แรงงาน 6 เดือน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 การเข้าเวรทำงานของไพร่หลวงได้รับการผ่อนปรนให้ทำงานน้อยลง โดยทำงานให้รัฐเพียงปีละ 4 เดือน สมัยรัชกาลที่ 2 ได้ลดลงอีกเหลือเพียงปีละ 3 เดือนเท่านั้น และในจำนวนเวลา 3 เดือนที่ต้องเข้าเวรนี้ ถ้าผู้ใดจะส่งเงินมาเสียเป็นค่าราชการแทนการเข้าเวรก็ได้ เดือนละ 6 บาท ปีละ 18 บาท สำหรับไพร่สมนั้น ให้เข้ามารรับราชการด้วยเช่นกันปีละ 1 เดือน หรือจ่ายเป็นเงิน ปีละ 6 บาท

นอกจากนั้น ยังยอมให้ไพร่ที่กระทำผิดแล้วมามอบตัวจะไม่ถูกลงโทษ ให้ไพร่สามารถเลือกขึ้นสังกัดมูลนายได้ตามสมัครใจ ในสมัยรัชกาลที่ 3 ยังโปรดเกล้าฯ ให้มีการพระราชทานตราภูมิคุ้มห้ามแก่ไพร่หลวงทุกคน ทำให้ตั้งแต่นั้นมาไพร่หลวงจะได้รับการยกเว้นอากรค่าน้ำ อากรตลาดและอากรสมพัตสร ภายในวงเงิน 4 บาท (1 ตำลึง) และจ่ายเฉพาะเงินภาษีอากรส่วนที่เกินกว่า 4 บาทขึ้นไป การผ่อนปรนกับไพร่นั้น ยังคงต่อเนื่องมาในสมัยหลัง คือ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงยอมให้ไพร่ถวายฎีกาโดยตรงได้ในกรณีที่ถูกข่มเหงจากมูลนาย โดยไม่จำเป็นต้องร้องเรียนผ่านตามขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม

2. โครงสร้างชนชั้นของสังคม

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โครงสร้างชนชั้นของสังคมยังคงคล้ายกับสมัยกรุงศรีอยุธยา คือ มี 2 ชนชั้น ได้แก่ ชนชั้นปกครอง และขุนนาง โดยมีรายละเอียดดังนี้

พระมหากษัตริย์

พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจสูงสุด พระบรมราชโองการของพระองค์เป็นกฎหมาย พระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะดุจสมมติเทพ

พระบรมวงศานุวงศ์

พระบรมวงศานุวงศ์ เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายของพระมหากษัตริย์ ตำแหน่งของพระบรมวงศานุวงศ์ จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

- สกุลยศ หมายถึง ตำแหน่งที่สืบเชื้อสายมาโดยกำเนิด ซึ่งสกุลยศในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น มี 3 ตำแหน่ง ได้แก่ เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และหม่อมเจ้า

- อิสสริยยศ หมายถึง ตำแหน่งที่พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานหรือเลื่อนยศให้ ซึ่งอิสสริยยศที่มีตำแหน่งสูงที่สุด คือ พระมหาอุปราช

ขุนนาง

ขุนนาง เป็นกลุ่มบุคคลที่ช่วยเหลือกิจการบริหารราชการแผ่นดินของพระมหากษัตริย์ ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ขุนนางได้รับการยกเว้นการเกณฑ์แรงงาน และขุนนางในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีอิทธิพลและบทบาททางการเมืองสูง

ไพร่

ไพร่ หมายถึง ราษฎรทั่วไปทั้งชายและหญิง ที่มิได้เป็นเจ้านาย ขุนนาง และมิได้เป็นทาส นับเป็นชนชั้นที่มีจำนวนมากที่สุดของสังคม ไพร่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่สำคัญ คือ ไพร่สม ไพร่หลวง และไพร่ส่วย เหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยา

ไพร่หลวงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้รับการผ่อนผันลดหย่อนเวลาเกณฑ์แรงงาน ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจที่ต้องการให้ไพร่เหล่านี้ได้ผลิตสินค้าเพื่อขายสู่ตลาดมากขึ้น ในสมัยนี้เนื่อง่จากการค้าเจริญรุ่งเรือง ไพร่ส่วยมีความสำคัญมาก เพราะรัฐบาลเร่งเอาส่วยสิ่งของต่าง ๆ เพื่อนำไปค้าขาย นับเป็นภาระหนักอย่างหนึ่งของไพร่ จึงมีคนจำนวนมากหนีระบบไพร่ โดยการไปเป็นไพร่สมของเจ้านายหรือขุนนางผู้มีอำนาจหรือขายตัวเป็นทาส จนในสมัยรัชกาลที่ 3 ประกาศห้ามขุนนางหรือเจ้านายซ่องสุมกำลังคน

ทาส

ทาส เป็นชนชั้นต่ำสุดของสังคม ทำงานให้แก่นายเงินของตนเท่านั้น ไม่ต้องเข้าเวรรับราชการเช่นไพร่ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้ระบุประเภทของทาสไว้ 7 ประเภท คือ

1. ทาสสินไถ่ คือ ทาสที่ไถ่หรือซื้อมาด้วยทรัพย์

2. ทาสในเรือนเบี้ย คือ เด็กที่เกิดมาในขณะที่พ่อแม่เป็นทาส

3. ทาสที่ได้มาจากฝ่ายบิดามารดา คือ ทาสที่ได้รับเป็นมรดกสืบทอด

4. ทาสท่านให้ คือ ทาสที่มีผู้ยกให้

5. ทาสที่ได้เนื่องมาจากนายเงินไปช่วยให้ผู้นั้นพ้นโทษปรับ

6. ทาสที่มูลนายเลี้ยงไว้ในยามข้าวยากหมากแพง

7. ทาสเชลย คือ ทาสที่ได้มาจากสงคราม

พระสงฆ์

พระสงฆ์ เป็นกลุ่มสังคมที่มาจากทุกชนชั้นในสังคมมีหน้าที่อบรมสั่งสอนประชาชนเป็นครูผู้สอนหนังสือและวิทยาการต่างๆ แก่เด็กผู้ชาย

ด้านศิลปวัฒนธรรม

พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก

- ทรงฟื้นฟูประเพณี วันวิสาขบูชา

เดิมงานประเพณีวันวิสาขะบูชา ได้เคยจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ถึงอยุธยา แต่เนื่องจากเกิดศึกสงคราม งานประเพณีจึงไม่ได้ จัดกัน ด้วยเหตุที่บ้านเมืองวุ่ยวายไม่สงบสุข ครันถึงสมัยรัชกาลที่ 2 บ้านเมือง

ร่มเย็นสงบสุขดี รัชกาลที่ 2 ได้ปรึกษาหารือกับสมเด็จพระสังฆราช เมื่อเห็นสมควรดีแล้ว จึงได้โปรดให้ทำเป็นพระราชพิธีใหญ่โต

เป็นเวลา 3 วัน ตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำและวันแรม 1ค่ำ พระมหากษัตริย์ ขุนนาง ไพร่ ทาส จะรักษาศีล 8 (พระอุโสถศีล)

ปล่อยนกปล่อยปลา ห้ามฆ่าสัตว์ ห้ามเสพสุรา ให้ตั้งโคมแขวนเครื่องสักการะบูชา เวียนเทียน โปรดให้มีพระธรรมเทศนาในพระอารามหลวง ถวายเครื่องไทยทานจนครบ 3 วัน

- พระราชพิธีอาพาธพินาศ

เนื่องจากมีโรคอหิวาตกโรค ระบาดจึงได้ประกอบพิธีนี้ขึ้น และมีการตั้งโรงทาน เพื่อพระราชทานเลี้ยงอาหารแก่ราษฎร

ในปีพุทธศักราช 2363 ได้เกิดอหิวาตกโรคระบาด ในพระนคร นานประมาณ 15 วัน ทำให้ราษฎร ล้มตายเป็นจำนวนมาก

( ประมาณ 30,000คน ) มีศพลอยอยู่ตามลำน้ำคูคลองอยู่กลาดเกลื่อน ซากศพทับถมเป็นกอง ทางวัดไม่สามารถเผาได้หมดจนพระสงฆ์ต้องหนีออกจากวัด ชาวบ้านต้องหนีออกจากบ้าน สร้างความวุ่นวายอย่างมากภายใน

พระนคร รัชกาลที่ 2 จึงโปรดให้ประกอบพระราชพิธีอาพาธพินาศขึ้น เมื่อวันจันทร์ขึ้น 7 ค่ำเดือน 10 พ.ศ. 2363 พระราชพิธีนี้

จัดทำขึ้น ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ลักษณะของพระราชพิธีนี้คล้ายกับพิธีตรุษ กล่าวคือมีการยิ่งปืนใหญ่รอบพระนครตลอดรุ่งคืน แล้วอัญเชิญพระแก้วมรกตออกแห่มีพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ออกร่วมขบวนแห่ด้วย โดยทำหน้าที่โปรยทรายและประพรมน้ำพระปริตร เพื่อขับไล่โรคร้ายทั้งทางบกและทางน้ำ พร้อมทั้งพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง หยุดงาน เพื่อรักษาศีลทำบุญทำทาน

ตามใจสมัคร ประกาศห้ามราษฎรฆ่าสัตว์ ให้ราษฎรอยู่แต่ในบ้านเรือน ถ้ามีธุระจำเป็นจริง ๆ จึงให้ออกจากบ้านได้ พระราชทานทรัพย์ให้เผาศพทีไร้ญาติ และโปรดให้ปล่อยนักโทษออกจากที่คุมขังจนหมดสิ้น

นอกจากนี้ได้โปรดให้ตั้งโรงทานขึ้น ณ ริมประตูศรีสุนทร พระราชทานอาหารเลี้ยงราษฎรที่มีความปรารถนามารับพระราชทาน การรับประทานอาหารที่ถูกหลักอนามัย บ้านเมืองสะอาด ทำให้โรคอหิวาตกโรคหมดไป( ในสมัยนั้นยังไม่รู้จักเชื้ออหิวาตกโรค) เรียกกันว่า "โรคห่าระบาด"

- ด้านสถาปัตยกรรม มีการขยายเขตพระบรมมหาราชวัง สร้างสวนขวา

- การปั้นและการแกะสลัก

ทรงแกะสลักบานประตูพระวิหารพระศรีศากยมุนีวัดสุทัศน์เทพวรารามคู่หน้าด้วยพระองค์เองคู่กับกรมหมื่นจิตรภักดทรงแกะสลัก หน้าพระใหญ่และหน้าพระน้อย ที่ทำจากไม้รัก คู่หนึ่ง เรียกกันว่า “พระยารักใหญ่” กับ “พระยารักน้อย”

- ทรงปั้นพระพักตร์ พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม

- ด้านการดนตรี

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระปรีชาสามารถในการดนตรีเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะดนตรีไทย เครื่องดนตรีที่ทรงโปรดมากคือ ซอสามสาย ทรงพระราชทานนามว่า "ซอสายฟ้าฟาด" พระองค์ทรงแต่งเพลงสรรเสริญพระจันทร์ หรือ เพลงบุหลันลอยเลื่อน หรือเพลงบุหลัน(เลื่อน)ลอยฟ้า หรือ เพลงทรงพระสุบิน เพราะเพลงนี้มีต้นกำเนิดจากพระสุบินของพระองค์เอง โดยเล่ากันว่า หลังจากพระองค์ได้ทรงซอสามสายจนดึก ก็เสด็จเข้าที่บรรทมแล้วทรงพระสุบินว่า ได้เสด็จไปยังดินแดนที่สวยงามดุจสวงสวรรค์ ณ ที่นั้น มีพระจันทร์อันกระจ่างได้ลอยมาใกล้พระองค์ พร้อมกับมีเสียงทิพยดนตรีอันไพเราะยิ่ง ประทับแน่นในพระราชหฤทัย ครั้นทรงตื่นจาบรรทมก็ยังทรงจำเพลงนั้นได้ จึงได้เรียกพนักงาน ดนตรี มาแต่งเพลงนั้นไว้ และทรงอนุญาตให้นำออกเผยแผ่ ซึ่งเคย ใช้ เพลงทรงพระสุบินนี้เป็นเพลงสรรเสริญ

พระบารมีอีกด้วย

- ธงชาติ ประวัติความเป็นมาของธงชาติไทย

การใช้ธงช้าง เป็นธงชาติ ในสมัยนี้สืบเนื่องมาจาก รัชกาลที่ 2 ได้โปรดให้สร้างสำเภาหลวงขึ้นเพื่อทำการค้ากับต่างประเทศ ขณะนั้นชาวอังกฤษได้ตั้งสถานีการขึ้นที่สิงคโปร์ ได้แจ้งว่าเรือสินค้าที่เข้ามาค้าขายต่างก็ชักธงแดงทั้งหมดยากแก่การต้อนรับ ขอให้ทางไทยเปลี่ยนการใช้ธงเสีย จะได้จักการับรองเรือหลวงของไทยให้สมพระเกียรติ ขณะนั้นพระองค์ได้ช้างเผือกเข้ามาสู่พระบารมีถึง 3 ช้าง จึงโปรดให้ใช้ธงที่มีรูปช้างสีขาวอยู่ในวงจักรสีขาวไว้ตรงกลางผืนธงสีแดง เป็นธงประจำเรือในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ ซึ่งหมายความว่าเป็นเรือของ พระเจ้าช้างเผือกส่วนเรือของราษฎรยังคงใช้พื้นธงสีแดง

ด้านศาสนา

การทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา ทั้งด้วยการทรงบำเพ็ญพระองค์เป็นแบบอย่าง เช่น ทรงผนวชตั้งแต่เมื่อยังทรงดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เมื่อเสด็จทรงครองราชสมบัติแล้ว พระราชานุกิจที่ทรงปฏิบัติเป็นประจำทุกเช้า คือ การถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์ที่้เข้ามารับบิณฑบาตในพระบรมมหาราชวัง และทรงสนทนาธรรมกับพระสงฆ์เป็นนิตย์

การบำรุงพระสงฆ์และการส่งเสริมให้ราษฎรได้เข้าใจหลักธรรมคำสอนได้ดีขึ้้น ได้ทรงพระราชดำริให้แก้ไขการศึกษาพระปริยัติธรรมจาก 3 ประโยค เพิ่มเป็น 9 ประโยค และทรงริเริ่มให้แปลบทสวดมนต์จากภาษาบาลีเป็นภาษาไทยโดยสวดเป็นทำนองเสนาะด้วย

ที่สำคัญยิ่ง คือ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ฟื้นฟูวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพิพาน ณ วันเพ็ญเดือนหก ขึ้นสิบห้าค่ำ เป็นวันพิธีวิสาขบูชา

ครั้งนั้นได้มีพระราชกำหนดให้พลเมืองทำวิสาขบูชา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรักษาอุโบสถศีล ปฏิบัติพระสงฆ์สามวัน ห้ามฆ่าสัตว์ และเสพสุราเมรัย และให้จัดประทีปโคมแขวนถวายเป็นเครื่องสักการบูชาในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นธรรมเนียมแบบแผนสืบมา

ด้านการคมนาคม

การคมนาคมของประเทศไทยในสมัยนี้เป็นการคมนาคมทางน้ำ อาศัยเรือเป็น พาหนะในการสัญจรไปมาตามเส้นทางธรรมชาติ ยังไม่สร้างเป็นถนน แม่น้ำและลำคลองที่มีอยู่ทั่วไป หากเป็น การเดินทางทางบกก็จะใช้การเดินเท้า

ด้านการเมืองกับต่างประเทศ

1. ความสัมพันธ์กับประเทศอังกฤษ

มาร์ควิส เฮสติงค์ ผู้สำเร็จราชการอินเดีย ( อินเดียเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ) ได้ส่ง ยอห์น ครอว์เฟิด คนไทยเรียก การะฝัด เป็นฑูตนำเครื่องราชบรรณาการมาถวายเพื่อเจริญสัมพันธไมตรี กับไทย ในปี พ.ศ. 2365 โดยที่อังกฤษต้องการ

1. ขยายการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออก 2. เพื่อแก้ปัญหาเมืองไทรบุรี 3. เพื่อทำแผนที่ของภูมิภาคนี้

ผลของการเจรจาล้มเหลวเพราะ

1. ทั้งสองฝ่ายพูดไม่เข้าใจภาษากัน

2. ล่ามเป็นคนชั้นต่ำ ขุนทางไทยตั้งข้อรังเกียด

3. ชาวต่างชาติที่เข้ามาติดต่อส่วนมากเป็นชาวจีนซึ่งมีกิริยาอ่อนน้อม

4. อังกฤษต้องการให้ไทยคืนเมืองไทรบุรีให้กับปะแงรัน

5. ประเพณีไทย ขุนนางเข้าเผ้าไม่สวมเสื้อ ทำให้ฝรั่งดูหมิ่นเหยียดหยาม

2. ความสัมพันธ์กับประเทศโปรตุเกส

โปรตุเกส เจ้าเมืองมาเก๊า ได้ส่ง คาร์โลส มานูเอล ซิลเวลา เป็นทูตมาเจริญสัมพันธ์ไมตรี ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ให้ความสะดวกแก่กันมากในการค้าขาย

ต่อมา คาร์โลส มานูเอล ซิลเวลา ได้มาเป็นกงสุลประจำประเทศไทย นับเป็นกงสุลชาติแรกในสมัยรัตนโกสินทร์และซิลเวลาได้รับพระราชทานยศเป็น “หลวงอภัยวานิช”

3. ความสัมพันธ์กับประเทศสหรัฐอเมริกดา

อเมริกา มีความสัมพันธ์กับไทยครั้งแรกในสมัยนี้ พ่อค้าชาวอเมริกัน ชื่อ กัปตันแฮน ได้มอบปืนคาบศิลา จำนวน 500 กระบอก รัชกาลที่ 2 จึงพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น “หลวงภักดีราช”

ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน

1. ความสัมพันธ์กับประเทศพม่า

พม่า พระเจ้าจักกายแมง กษัตริย์พม่าได้เกลี้ยกล่อมพระยาไทรบุรียกทัพมาตีไทย ไทยทราบข่าวก็จัดกองทัพไป ขัดตาทัพไว้ ทางพม่าเกิดจลาจลจึงไม่ได้ยกทัพมา

2. ความสัมพันธ์กับประเทศเวียดนาม

ญวน พระเจ้าญาลอง มีพระราชสาสน์มาขอเมืองบันทายมาศโดยอ้างว่าเมืองนี้เป็นเมืองขึ้นของญวน ไทยต้องยอมยกให้ เพราะไม่อยากมีศึกสองทาง (ต้องรบกับพม่า)

3. ความสัมพันธ์กับหัวเมืองมลายู

ไทรบุรี พระยาไทรบุรี (ปะแงรัน) เมื่อปี 2352 มาช่วยไทยรบกับพม่า เมื่อครั้งพม่าตีถลางไทยจึงได้เลื่อนยศให้เจ้าพระยานคร (น้อย) ยกกองทัพไปปราบ เมืองไทรบุรี จึงตกมาเป็นของไทย

4. ความสัมพันธ์กับประเทศกัมพูชา

กัมพูชา (เขมร) พระอุทัยราชา ไม่ซื่อตรงต่อไทย หันไปฝักใฝ่ญวนยิ่งขึ้น เนื่องจากสาเหตุหลายประการ เช่น

- พระอุทัยราชา มาเข้าเผ้ารัชกาที่ 1 โดยพลการ ไม่ยอมให้เสนาบดีเบิกตัว จึงได้รับการติเตียนจากรัชกาลที่ 1 ทำให้ พระอุทัยราชาได้ รับความอัปยศ และอาฆาตคิดร้ายต่อไทย

- พระอุทัยราชา ทะเลาะกับพระยาเดโช (เม็ง) พระยาเดโชหนีมาไทย พระอุทัยราชา มีหนังสือมาขอตัวพระยาเดโช แต่ทางไทยไม่ยอมส่งตัวไปให้ พระอุทัยราชาจึงไม่พอพระทัย

- พระอุทัยราชา มีหนังสือขอนักองค์อีและนักองค์เภา ผู้เป็นป้า รัชกาลที่ 1 ไม่ทรงอนุญาต เพราะทั้งสองเป็นสนมของ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทไม่ต้องการให้พ่อแม่ลูกจากกัน เมื่อครั้งรัชกาลที่ 1 สวรรคต พระอุทัยราชา ก็ไม่ยอมมาช่วยในงานพระบรมศพ คงให้แต่นักองค์สงวนและนักองค์อิ่มผู้น้องมาแทน เมื่อครั้งไทยทราบข่าวว่าพม่า ยกทัพมาตีไทย ไทยมีหนังสือไปแจ้งพระอุทัยราชาให้มาช่วย แต่พระอุทัยราชากลับนิ่งเฉยเสีย มีแต่นักองค์สงวน ( พระยาอุปโยราช ) ที่เกณฑ์คนมาช่วยตามลำพัง พระอุทัยราชาทราบข่าวจึงได้ขอให้ญวนมาช่วย โดยบอกว่าเกิดกบฎ ในเมือง นักองค์สงวนจึงหนีมาไทย พ.ศ. 2354 เจ้าพระยายมราช (น้อย) ได้ไปไกล่เกลี่ย แต่พระอุทัยราชา แสดงอาการเป็นกบฎ ไทยจึงยกทัพเข้าไป พระอุทัยราชาจึงหนีไปพึ่งญวน ไทยจึงเผาเมืองพนมเปญ เมืองบันทายเพชร พระเจ้าญาลองมีหนังสือมาถึงไทย ขอให้พระอุทัยราชากลับครองบ้านเมืองตามเดิม ทางไทยไม่ปรารถนาที่จะทำสงครามกับญวน ดังนั้นพระอุทัยราชาจึงได้กลับมาครองกัมพูชาตามเดิม แต่ขออยู่ที่พนมเปญ และส่งเครื่องราชบรรณาการ ตามเดิมส่วน การบังคับบัญชาชั้นเด็ดขาดตกอยู่แก่ฝ่ายญวน โดยญวนได้ส่งข้าหลวงมาดูแลกำกับด้วย ในสมัย ร.2 ไทยต้องเสียเขมรให้กับญวน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก