เครื่องหมายที่ใช้สำหรับคั่นแต่ละส่วนของชื่อโดเมนและเลขไอพี

Domain Name คืออะไร

(Domain Name) ความหมายโดยทั่วไป คือ ชื่อเว็บไซต์ ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำและการนำไปใช้งาน ชื่อโดเมน (Domain Name) หมาย ถึง ชื่อที่ถูกเรียกแทนการเรียกเป็นหมายเลขอินเทอร์เน็ต (IP Address) ซึ่งจะได้จากที่เราทำการใช้บริการเว็บโฮสติ้ง หรือ พื้นที่เว็บไซต์ ) เนื่องจากการจดจำหมายเลข IP ถึง 16 หลัก ทำให้ยุ่งยาก และไม่สามารถจำได้เวลาท่อง ไปในระบบอินเทอร์เน็ต จึงนำชื่อที่เป็นตัวอักษรมาใช้แทน ซึ่งมักจะเป็นชื่อที่สื่อความหมายถึง หน่วยงาน วัตถุประสงค์ เนื้อหา หรือเจ้าของเว็บไซต์นั้นๆ โดยแต่ละเว็บไซต์จะมีชื่อโดเมนเฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน ยังรวมไปถึงผู้ดูแลระบบโดเมนเนมซีสเทมที่สามารถแก้ไขไอพีแอดเดรสของชื่อโดเมนเนมนั้นๆ ได้ทันที โดยที่ผู้ใช้ทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสที่มีการเปลี่ยนแปลงชื่อ Domain Name จะเป็นตัวอักษรพิมพ์ใหญ่หรือพิมพ์เล็ก ไม่แตกต่างกันเพราะ ระบบอินเตอร์เน็ตจะรับรู้ตัวอักษรเป็นตัวเล็กทั้งหมดเช่น hostneverdie.com หรือ Hostneverdie .com ถือว่าเป็นชื่อเดียวกัน โดนเมนเนม มีด็อทอยู่หลายประเภทแต่ที่นิยมมากที่สุดนั้นก็คือ .com เพราะเป็นด็อทในยุคแรกๆ ที่เริ่มใช้กัน และง่ายต่อการจดจำ

ประเภทของ Domain Name ?

1. โดเมน 2 ระดับ ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน
2. โดเมน 3 ระดับ ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ

โดนเมนเนม 2 ระดับ
ประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน เช่น www.hostneverdie.com
ประเภทของโดเมน คือ คำย่อขององค์กร โดยประเภทขององค์กรที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้


.com คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
.net คือ องค์กรที่เป็นเกตเวย์ หรือ จุดเชื่อมต่อเครือข่าย
.org คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
.edu คือ สถาบันการศึกษา
.gov คือ องค์กรของรัฐบาล
.mil คือ องค์กรทางทหาร

โดนเมนเนม 3 ระดับ
ประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ เช่น www.chula.ac.th, www.google.co.th
ประเภทขององค์กรที่พบบ่อยคือ
.co คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
.ac คือ สถาบันการศึกษา
.go คือ องค์กรของรัฐบาล
.net คือ องค์กรที่ให้บริการเครือข่าย
.or คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
ตัวย่อของประเทศที่ตั้งขององค์กร.th คือ ประเทศไทย
.cn คือ ประเทศจีน
.uk คือ ประเทศอังกฤษ
.jp คือ ประเทศญี่ปุ่น
.au คือ ประเทศออสเตรเลีย

ข้อกำหนดในการตั้งชื่อโดเมน

  • การจดโดเมนจะต้องจดทะเบียนเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 1 - 10 ปี
  • ชื่อโดเมนต้องเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษเท่านั้น จำนวนตัวอักษร (รวมเครื่องหมาย -) และนามสกุลสูงสุดไม่เกิน 67 ตัวอักษร (สำหรับโดเมน .th จะต้องมีตัวอักษรอย่างน้อย 2 ตัว แต่ไม่เกิน 24 ตัว)
  • ตัวอักษรพิเศษที่ไม่สามารถใช้ในการจดทะเบียน ได้แก่ ! @ # $ % ^ & ฿ * ( ) + | / < > , ' ? \" [ ] { } _
  • ตัวเลข 0-9 สามารถนำมาใช้ในชื่อโดเมนได้ ซึ่งสามารถขึ้นต้น, ระหว่างชื่อโดเมน, หรือลงท้ายได้
  • สามารถใช้เครื่องหมาย - เพื่อคั่นระหว่างตัวอักษรได้ แต่ไม่สามารถนำมาขึ้นต้น หรือลงท้ายได้
  • ชื่อโดเมนไม่สามารถประกอบด้วยช่องว่าง เว้นวรรค ในตำแหน่งใดๆ

หากโดเมนว่างเราสามารถจดโดเมนได้เป็นระยะเวลาตั้งแต่ 1-10 ปี หลังจากจดโดเมน 5 วัน เจ้าของโดเมนสามารถย้ายโดเมนได้ เมื่อโดเมนหมดอายุลง หน้า webpage จะถูกแสดงเป็นหน้า default ของ Registrar แต่ละราย ในระหว่างนี้ โดเมนจะไม่สามารถใช้งานได้อีเมลต่างๆ ที่ถูกส่งมายังโดเมนดังกล่าวจะถูกตีกลับ ภายใน 45 วัน (ขึ้นกับ registrar) หลังจาก domain หมดอายุ เจ้าของโดเมนสามารถต่ออายุได้โดยไม่เสียค่าปรับใดๆ แต่ต้องต่ออายุกับผู้ให้บริการจดโดเมนรายเดิมเท่านั้น ไม่สามารถย้ายเพื่อไปต่ออายุกับผู้ให้บริการรายอื่นได้ ระยะเวลา 0-45 วันหลังจาก domain หมดอายุเรียกว่า Grace Period ทั้งนี้ทั้งนั้นก่อนและหลังโดเมนหมดอายุจะมีอีเมลแจ้งเตือนไปยังเจ้าของโดเมนทั้งจากทาง registrar และจากระบบ Customer Support ของ Hostneverdie

จดโดเมนด้วยตัวท่านเองก็ได้โดย สามารถจดโดเมนได้เองจากที่นี่ โดยชำระค่าบริการด้วยบัตรเครดิตร

เนื้อหาย้ายไปอยู่ที่นี่ Domain name คืออะไร โดเมน เนม คือ ชื่อเว็บไซต์ซึ่งใช้เรียกแทนหมายเลข IP Address

อ้างอิง

Domain Name (โดเมนเนม) คืออะไร?, [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก //www.makewebeasy.com/th/blog/domainname/

โดเมนเนม (Domain Name) คืออะไร ?, [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก //www.thaibusinesssearch.com/marketing/domain-name/

ชื่อโดเมน หรือ โดเมนเนม คืออะไร ? , [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก //www.hostneverdie.com/domain

เครื่องมือออนไลน์โปรแกรมตรวจสอบ IP Address เครื่องตัวเอง

IP Address คืออะไร ไอพี แอดเดรส คือ หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์

     IP Address ย่อมาจากคำเต็มว่า Internet Protocal Address คือ หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลแบบ TCP/IP ถ้าเปรียบเทียบก็คือบ้านเลขที่ของเรานั่นเอง ในระบบเครือข่าย จำเป็นจะต้องมีหมายเลข IP กำหนดไว้ให้กับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องการ IP ทั้งนี้เวลามีการโอนย้ายข้อมูล หรือสั่งงานใดๆ จะสามารถทราบตำแหน่งของเครื่องที่เราต้องการส่งข้อมูลไป จะได้ไม่ผิดพลาดเวลาส่งข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด  เช่น 192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1  เป็นต้น  โดยหมายเลข IP Address ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีค่าไม่ซ้ำกัน สิ่งตัวเลข 4 ชุดนี้บอก คือ Network ID กับ Host ID ซึ่งจะบอกให้รู้ว่า เครื่อง Computer ของเราอยู่ใน Network ไหน และเป็นเครื่องไหนใน network นั้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่า Network ID และ Host ID มีค่าเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับว่า IP Address นั้น อยู่ใน class อะไร

     เหตุที่ต้องมีการแบ่ง class ก็เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบ เป็นการแบ่ง IP Address ออกเป็นหมวดหมู่นั้นเอง สิ่งที่จะเป็นตัวจำแนก class ของ network ก็คือ bit ทางซ้ายมือสุดของตัวเลขตัวแรกของ IP Address (ที่แปลงเป็นเลขฐาน 2 แล้ว) นั่นเอง โดยที่ถ้า bit ทางซ้ายมือสุดเป็น 0 ก็จะเป็น class A ถ้าเป็น 10 ก็จะเป็น class B ถ้าเป็น 110 ก็จะเป็น class C ดังนั้น IP Address จะอยู่ใน class A ถ้าตัวเลขตัวแรกมีค่าได้ตั้งแต่ 0 ? 127 (000000002 ? 011111112) จะอยู่ใน class B ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 128 ? 191 (100000002 ? 101111112) และ จะอยู่ใน class C ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 192 - 223 (110000002 ? 110111112) มีข้อยกเว้นอยู่นิดหน่อยก็คือตัวเลข 0, 127 จะใช้ในความหมายพิเศษ จะไม่ใช้เป็น address ของ network ดังนั้น network ใน class A จะมีค่าตัวเลขตัวแรก ในช่วง 1 ? 126

     สำหรับตัวเลขตั้งแต่ 224 ขึ้นไป จะเป็น class พิเศษ  อย่างเช่น  Class D ซึ่งถูกใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Multicast ของบาง Application และ Class E ซึ่ง Class นี้เป็น Address ที่ถูกสงวนไว้ก่อน ยังไม่ถูกใช้งานจริง ๆ  โดย Class D และ Class E นี้เป็น Class พิเศษ ซึ่งไม่ได้ถูกนำมาใช้งานในภาวะปกติ

ตัวอย่าง IP Address

- Class A ตั้งแต่ 10.xxx.xxx.xxx

- Class B ตั้งแต่ 172.16.xxx.xxx ถึง 172.31.xxx.xxx

- Class C ตั้งแต่ 192.168.0.xxx ถึง 192.168.255.xxx

     จาก IP Address เราสามารถที่จะบอก ได้คร่าวๆ ว่า computer 2 เครื่องอยู่ใน network วงเดียวกันหรือเปล่าโดยการเปรียบเทียบ Network ID ของ IP Address ถ้ามี Network ID ตรงกันก็แสดงว่าอยู่ใน network วงเดียวกัน เช่น computer เครื่องหนึ่งมี IP Address 1.2.3.4 จะอยู่ใน network วงเดียวกับอีกเครื่องหนึ่งซึ่งมี IP Address 1.100.150.200 เนื่องจากมี Network ID ตรงกันคือ 1 (class A ใช้ Network ID 1 byte)

วิธีตรวจสอบ IP Address

1. คลิกปุ่ม Start เลือก Run พิมพ์คำว่า cmd กดปุ่ม OK

คลิกปุ่ม Start เลือก Run พิมพ์คำว่า cmd กดปุ่ม OK

2. จะปรากฎหน้าต่างสีดำ

จะปรากฎหน้าต่างสีดำ

3. พิมพ์คำว่า ipconfig กด enter

พิมพ์คำว่า ipconfig กด enter

4. จะเห็นกลุ่มหมายเลข IP Address

จะเห็นกลุ่มหมายเลข IP Address


อ้างอิง : www.showded.com,www.it-guides.com/index.php

บทความโดย : //www.mindphp.com/ (มายพีเฮชพีดอท

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก