ช่องทางในการสื่อสาร 3 รูปแบบ

การสื่อสารหรือ Communication นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของทั้งชีวิตการทำงาน การทำธุรกิจ รวมไปถึงชีวิตส่วนตัวที่มีความสำคัญไม่แพ้กับความรู้ความสามารถด้านอื่นๆ และแน่นอนครับว่าหากยิ่งเป็นการสื่อสารหรือพูดคุยในชีวิตการทำงานหรือการทำธุรกิจต่างๆมันก็ย่อมมีความสลับซับซ้อน และจำเป็นต้องมีการวางแผนหรือเตรียมคำพูดเพื่อสื่อสารให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งหลายๆคนน่าจะคุ้นเคยกับรูปแบบการสื่อสารเหล่านั้นเป็นอย่างดี แต่หลายๆคนอาจไม่คุ้นเคยกับคำว่าระดับของการสื่อสาร (Levels of Communication) กันสักเท่าไหร่ โดยในบทความนี้จะพาทุกคนมารู้จักกับระดับของการสื่อสารกันให้มากขึ้นครับ

ระดับของการสื่อสาร

หากมองเชิงวิชาการตามแนวคิดเกี่ยวกับระดับการสื่อสารนั้นก็ได้มีการแบ่งออกเป็น 6 ระดับด้วยกัน คือ

1. การสื่อสารระดับตัวเอง (Intrapersonal Communication)

การสื่อสารที่เกิดขึ้นกับตัวเองหรือการพูดคุยกับตัวเอง ซึ่งอาจเป็นไปได้ทั้งการคิด การวิเคราะห์ การตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง โดยทั้งหมดจะเป็นการตัดสินใจและตีความหมายด้วยตัวเองทั้งสิ้น

2. การสื่อสารระดับบุคคล (Interpersonal Communication)

การสื่อสารที่เกิดขึ้นระหว่างคนสองคนขึ้นไปหรืออาจเรียกว่าการสื่อสารระหว่างบุคคล มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การตั้งคำถาม การแบ่งปันแนวคิด ปรึกษาหารือประเด็นต่างๆ ซึ่งในการสื่อสารระดับนี้จะทำให้เกิดการไว้เนื้อเชื่อใจกัน สามารถนำประเด็นการสื่อสารไปสนับสนุนแนวคิดของตนเอง และอาจลดความกังวลในเรื่องบางอย่างได้เช่นกัน

3. การสื่อสารระดับกลุ่มย่อย

การสื่อสารในระดับนี้จะมีประสิทธิภาพค่อนข้างมากที่เน้นความสัมพันธ์ในการทำงาน เน้นการปรึกษาเสนอความคิดเห็นเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด ซึ่งส่งผลต่อทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวต่อกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้น บรรยากาศในการทำงานเน้นการทำงานในรูปแบบเสมอภาคเท่าเทียมกัน

4. การสื่อสารระดับเทคโนโลยี

การสื่อสารที่นำเอาเครื่องมือต่างๆเข้ามาใช้เพื่อให้การสื่อสารง่ายและสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยผู้ใช้เทคโนโลยีนั้นต้องมีความเข้าใจในเครื่องมือต่างๆเป็นอย่างดี และรู้ว่าเทคโนโลยีไหนเหมาะกับอะไรและควรสื่อสารในรูปแบบใดกับคนกลุ่มใด เช่น การใช้โทรศัพท์ อีเมล์ แชท เป็นต้น

5. การสื่อสารระดับชุมชน (Public Communication)

การสื่อสารที่มีผู้รับข้อมูลข่าวสารเป็นจำนวนมาก ซึ่งแน่นอนว่ามีจำนวนคนที่มากกว่าการสื่อสารกลุ่มย่อยโดยอาจเป็นได้ในรูปแบบกลุ่มคนในหมู่บ้าน ชุมชนในพื้นที่ กลุ่มคนในตำบล หรือท้องถิ่นต่างๆ และมักจะเกิดขึ้นเนื่องในโอกาสพิเศษที่ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างบ่อยครั้งนัก อาจเป็นการแจ้งประกาศต่างๆหรือเหตุการณ์พิเศษเฉพาะกิจบางอย่าง เพื่อส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความเชื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมให้คล้อยตามกัน

6. การสื่อสารระดับมวลชน (Mass Communication)

การสื่อสารที่อาศัยสื่อกลางเป็นจำนวนมากในการเป็นตัวกลางเพื่อส่งข้อมูลข่าวสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย โดยเป้าหมายของการสื่อสารนั้นถึงขั้นระดับประเทศแบบไม่จำกัดเลยก็ว่าได้ โดยส่วนใหญ่จะสื่อสารผ่านทางโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ หรือในปัจจุบันก็เป็นช่องทางออนไลน์รูปแบบต่างๆ

Reference:
เสนาะ ติเยาว์. 2541.การสื่อสารในองค์กร พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร:คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสาตร์.

ช่องทางการสื่อสาร (Communication channel) 

         เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของการสื่อสารข้อมูลซึ่งหมายถึง สื่อกลางการส่งผ่านสารสนเทศระหว่างอุปกรณ์ 2 ชนิด โดยการสื่อสารข้อมูลผ่านช่องทางการสื่อสารนี้ ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลจะขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐาน 2 ประการ คือ ความกว้างของช่องสัญญาณและชนิดของข้อมูล ซึ่งคำว่า “ความกว้างของช่องสัญญาณ (Bandwidth)” อาจเปรียบได้กับความกว้างของถนนและ ชนิดของข้อมูล อาจเปรียบได้กับชนิดของรถยนต์ดังนั้นการที่ช่องทางการสื่อสารมีแบนด์วิดท์มาก ก็เท่ากับมีถนนหลายเลน รถยนต์สามารถวิ่งผ่านไปมาได้มากและรวดเร็ว แต่ในทางกลับกันหากมีแบนด์วิดท์น้อยก็เท่ากับถนนมีเลนน้อย รถยนต์วิ่งผ่านไปมาได้น้อยและช้า นอกจากนี้แล้วชนิดของข้อมูลก็ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่มีผลกระทบต่อปริมาณ และความรวดเร็วในการสื่อสารกล่าวคือชนิดข้อมูลที่เป็นข้อความจะมีขนาดเล็กทำให้การส่งผ่านข้อมู่ลไปมาทำได้สะดวกรวดเร็วแม้จะมีแบนด์วิดท์น้อยก็ตามแต่ในทางกลับกัน หากช่องทางการสื่อสารนั้นมีแบนด์วิดท์กว้าง แต่ชนิดข้อมูลกลับเป็นไฟล์วิดีโอซึ่งขนาดใหญ่มากก็จะทำให้ส่งผ่านข้อมูลได้ช้า ช่องทางการติดต่อสื่อสารแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

ช่องทางการสื่อสารแบบมีสาย (Physical Wire) - สายทวิสเตดแพร์ (Twisted-pair Wire) - สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)  - เคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber-optic Cable) 

ช่องทางการสื่อสารแบบไร้สาย(Wireless)    

- ไมโครเวฟ(Microwave)

- ดาวเทียม (Satellite) 

- แสงอินฟราเรด (Infrared) 

- คลื่นวิทยุ (Radio) 

- เซลลาร์

ความหมายของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

         การสื่อสาร (communication) หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดหรือแลกเปลี่ยนสารหรือสื่อระหว่างผู้ส่งกับผู้รับ โดยส่งผ่านช่องทางนำสารหรือสื่อ เพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน

         การสื่อสารข้อมูล (datacommunication) หมายถึง กระบวนการหรือวิธีถ่ายทอดข้อมูลระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ที่มักจะอยู่ห่างไกลกัน และจำเป็นต้องอาศัยระบบการสื่อสารโทรคมนาคม (telecommunication)

          เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer networkหมายถึง การเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เพื่อให้สามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมทั้งสามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายร่วมกันได้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น

องค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูล

การสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบ ดังนี้

1. ข่าวสาร (message) ในทางเทคโนโลยีและการสื่อสาร ข่าวสารเป็นข้อมูลที่ผู้ส่งทำการส่งไปยัง        ผู้รับผ่านระบบการสื่อสาร ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบ ดังต่อไปนี้                                                          2. ผู้ส่ง (sender) เป็น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลที่อยู่ต้นทาง โดยข้อมูลต้องถูกจัดเตรียมนำเข้า        สู่อุปกรณ์ส่งข้อมูล เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็ม (modem) จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม              เป็นต้น

3. ผู้รับ (receiver) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากอุปกรณ์ส่งข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์                    คอมพิวเตอร์ โมเด็ม จานดาวเทียม เป็นต้น เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อไป

4. สื่อกลางหรือตัวกลาง (media) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่นำข่าวสารรูปแบบต่างๆจากผู้ส่งไปยังผู้รับ      ได้แก่สายไฟ ขดลวด สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออฟติก เป็นต้น สื่อกลางอาจจะอยู่ในรูปของคลื่นที่      ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม คลื่นวิทยุ เป็นต้น

5. โพรโตคอล (protocol) เป็นตัวกำหนดคุณลักษณะ กฎระเบียบ หรือวิธีการที่ใช้ในการสื่อสาร        เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งเข้าใจกัน และสามารถสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง

6. ซอฟต์แวร์ (software) เป็นโปรแกรมสำหรับดำเนินการและควบคุมการส่งข้อมูลผ่าน                    คอมพิวเตอร์เพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่กำหนดไว้ ตัวอย่างซอฟต์แวร์ เช่น Microsoft Windows        XP/Vista/7, Unix , Internet Explorer , Windows Live Message เป็นต้น

ช่องทางในการสื่อสารมีอะไรบ้าง

Ä ช่องทางการสื่อสารแบบมีสาย (Physical Wire) เช่น สายทวิสเตดแพร์ (Twisted-pair Wire) สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) และเคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber-optic Cable) เป็นต้น Ä ช่องทางการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) เช่น ไมโครเวฟ (Microwave) ดาวเทียม (Satellite) แสงอินฟราเรด (Infrared) คลื่นวิทยุ (Radio) และเซลลาร์ เป็นต้น

การสื่อสารมีกี่ทาง

แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. การสื่อสารทางเดียว (One-way Communication) เช่น การสื่อสารผ่านสื่อ วิทยุ โทรทัศน์หนังสือพิมพ์ ฯลฯ 2. การสื่อสารสองทาง (Two-way Communication) เช่น การพบปะพูดคุยกัน การพูดคุยกันทางโทรศัพท์ ฯลฯ 2. จ าแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก

การสื่อสารแบบ face to face มีอะไรบ้าง

3.1 การสื่อสารแบบเห็นหน้าหรือการเผชิญ หน้า (Face-to-face. communication) หมายถึง การสื่อสารซึ่งผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถเห็นหน้า และเห็นปฏิกิริยาของกันและกันในขณะสื่อสาร ท าให้คู่สื่อสารสามารถปรับพฤติกรรม รูปแบบ หรือวิธีการในการสื่อสาร รวมทั้งสารให้เหมาะสมกับผู้รับสารและสถานการณ์ ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นได้

ความสําคัญของการสื่อสารมีอะไรบ้าง

การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต มนุษย์จำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลา การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งนอกเหนือจากปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ การสื่อสารมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์มาก การสื่อสารมีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นยุคโลกาภิวัตน์ เป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก