หลักการบริหาร 14 ข้อ พร้อม ตัวอย่าง

หลักการบริหาร14ประการของ เฮนรี เฟโยล์
เฮนรี เฟโยล์ นักวิศวกรอุตสาหกรรมชาวฝรั่งเศสได้เขียนหนังสือชื่อว่า " General and Industrial Administration ในปี ค.ศ.1916 โดยอาศัยประสบการณ์การเป็นนักบริหาร โดยแนวคิดของเฟโยล์ สามารถสรุปได้ดังนี้
1.หลักเกี่ยวกับหน้าที่การจัดการ โดยมีกระบวนการทำงานประกอบด้วยหน้าที่5ประการ
1.การวางแผน
2.การจัดองค์กร
3.การบังคับบัญชาสั่งการ
4.การประสานงาน
5.การควบคุม
2.เกี่ยวกับหลักการจัดการ
ประการที่1 หลักอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
ประการที่2 หลักของการมีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว
ประการที่3 หลักของการไปในทิศทางเดียวกัน
ประการที่4 หลักสายการบังคับบัญชา
ประการที่5 หลักของการแบ่งงานกันทำ
ประการที่6 หลักความมีระเบียบวินัย
ประการที่7 หลักประโยชน์ของส่วนบุคคลเป็นรองจากประโยชน์ส่วนรวม
ประการที่8 หลักของการให้ผลตอบแทน
ประการที่9 หลักของการรวมอำนาจ
ประการที่10 หลักความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ประการที่11 หลักความเสมอภาค
ประการที่12 หลักความมั่นคงในการทำงาน
ประการที่13 หลักความคิดริเริ่ม
ประการที่14 หลักความสามัคคี ตัวอย่าง เช่น การบริหารในหมู่บ้านของดิฉันมีการปกครองโดยใช้หลักการ14ประการในบางข้อมาบริหารการปกครองถึงแม้จะนำมาใช้เพียงบางข้อแต่ก็ทำให้ในหมู่บ้านของดิฉันมีการบริหารอย่างระบบและมีคุณภาพ ทำให้ดิฉันนึกถึงหลักบริหาร 14 ประการ ของ เฮนรี เฟโยล์
ตามหน่วยงานต่างๆต้องมีหลักในการทำงาน ทุกคนต้องมีหน้าที่งานที่ต้องรับผิดชอบ และจำเป็นต้องมีการวางแผนงาน มีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียวเพื่อให้งานเดินหน้าไปได้อย่างราบรื่น งานทุกอย่างจะต้องดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน สามารถแบ่งงานกันทำได้อย่างมีระเบียบเรียบร้อย เพราะจะทำให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงาน ผลตอบแทนก็จะเป็นที่น่าพอใจและทุกคนในหน่วยงานก็จะเกิความเสมอภาค
หลักการบริหาร14ประการ ของเฮนรี เฟโยล์นั้นเป็นหลักการที่เป็นที่ยอมรับและเกิดขึ้นได้ในทุกหน่วยงานหรือองค์กร ถ้าองค์กรหรือหน่วยงานใดนำหลัก14ประการนี้ไปใช้ก็จะเกิดผลดีกับหน่วยงานหรือองค์กรนั้นๆ

( นางสาว อมรรัตน์ วาหะรักษ์ เลขที่ 47 ห้อง รปศ.531 )

Henry Fayol


ประวัติ พื้นฐาน

• มีชีวิตอยู่ในช่วง ปี ค.ศ. 1841-1926 เป็นชาวฝรั่งเศส นักเศรษฐศาสตร์และนักทฤษฎีทุนนิยมเสรีแนวใหม่ (neoclassical economic)

• เขาเกิดในครอบครัวที่ประกอบธุรกิจขนาดเล็กแห่งหนึ่งในประเทศฝรั่งเศส และจบการศึกษาจากโรงเรียน National School of Mines at St.Etience

• ค.ศ. 1860-1866 เมื่อเขาจบการศึกษาอายุได้ 19 ปี เขาได้เข้าทำงานที่บริษั เป็นวิศวกร เหมืองแร่ชื่อ Compagnie de Commentry-Fourchambeau-Decazeville 

• ได้ไต่เต้าสู่ตำแหน่งสูงสุดเป็นผู้อำนวยการในช่วงปี ค.ศ. 1888-1918 เป็นผู้นำกว่า 1000 คน

• เขาได้เขียนหนังสือที่ได้รับการตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1916 ชื่อ Administration industrielle et générale หรือ หลักการบริหารอุตสาหกรรม

Henry Fayol

          เป็นเจ้าของแนวความคิดว่าด้วยหลักการจัดการในการในการบริหารงานของผู้บริหารงานทั้งภาครัฐและเอกชน( Private and Public) หลักการจัดการดังกล่าวมีความยืดหยุ่นได้ (Flexibly) สาระของหลักการจัดการมี 14 ข้อ ดังนี้

 1. การจัดแบ่งงาน (division of work) หลักการก็คือการทำให้คนจำนวนมากที่ต้องมาทำงานร่วมกัน ได้มีการจัดแบ่งหน้าที่ตามความสามารถ หรือความเชี่ยวชาญพิเศษของแต่ละคน เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
          2. การมีอำนาจหน้าที่ (authority) ผู้จัดการต้องสามารถออกคำสั่งได้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ทำให้คำสั่งที่ออกไปนั้นมีความถูกต้องและเกิดความรับผิดชอบควบคู่กันไป เมื่อใดที่มีการใช้อำนาจหน้าที่ เมื่อนั้นความรับผิดชอบก็จะต้องติดตามไปด้วย
          3. ความมีวินัย (discipline) ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือพนักงานต้องเชื่อฟัง และเคารพกฏเกณฑ์ขององค์การ การที่คนจะมีวินัยที่ดีนั้นเกิดจากความเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ มีความเข้าใจที่ชัดเจนระหว่างฝ่ายจัดการและคนทำงาน ทั้งนี้ เมื่อมีการทำผิดกฏระเบียบขององค์การ ก็จะมีผลทำให้ได้รับโทษ
          4. เอกภาพของสายบังคับบัญชา (unity of command) พนักงานหรือลูกจ้างทุกคนจะได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว สายบังคับบัญชาจะมีลักษณะเป็นทอดๆไป แต่ละคนจะรู้ว่าใครคือเจ้านายของตน
          5. เอกภาพในทิศทาง (unity of direction) แต่ละคนในกลุ่มกิจกรรมขององค์การจะมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน รับแผนเดียว และจากหัวหน้าเดียว
          6. ผลประโยชน์ของหมู่คณะจะต้องเหนือผลประโยชน์ส่วนตน (Subordination of Individual Interests to the General Interests) คนที่เข้ามาทำงานในองค์การนั้นจะต้องยอมรับว่าผลประโยชน์ขององค์การจะต้องมาเหนือผลประโยชน์ส่วนตน
          7. มีระบบค่าตอบแทนที่ยุติธรรม (remuneration) คนทำงานแม้จะต้องเห็นผลประโยชน์ขององค์การเหนือผลประโยชน์ส่วนตน แต่องค์การก็จะต้องทำหน้าที่จัดระบบค่าตอบแทนให้เหมาะสมแก่ความสามารถและเป็นไปอย่างยุติธรรม
          8. ระบบการรวมศูนย์ (centralization) การรวมศูนย์ในที่นี้หมายถึงระดับของการที่ผู้ใต้บังคับบัญชาจะมีส่วนในการตัดสินใจอย่างไร การจะกระจายอำนาจ หรือรวมอำนาจเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ประเด็นจะอยู่ที่ ว่าทำอย่างไรจึงจะรวมศูนย์ได้ในแต่ละกรณี แนวคิดนี้มองเห็นความจำเป็นขององค์การที่ต้องมีศูนย์รวมอำนาจ
          9. สายบังคับบัญชา (scalar chain) หมายถึงสายบังคับบัญชาจากระดับสูงลงมาสู่ระดับต่ำสุด สายการสื่อสารติดต่อก็จะเป็นไปตามนี้ คือจะเป็นไปตามระดับขั้น อย่างไรก็ตาม ถ้าสายการบังคับบัญชาก่อให้เกิดการเสียเวลาล่าช้า ก็ให้มีการข้ามขั้นตอนได้ และทั้งนี้ต้องเป็นข้อตกลงระหว่างส่วนงานที่เกี่ยวข้อง
          10. ความเป็นระบบระเบียบ (order) หมายความถึง คนก็ดี หรือวัสุดอุปกรณ์ทั้งหลายก็ดี จะอยู่ในที่อันเหมาะสมในเวลาอันเหมาะสม ความเป็นระบบระเบียบนี้ในส่วนหนึ่งหมายความว่าถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่นคนป่วยงาน ลางาน ก็สามารถมีคนทดแทนได้ เพราะมีความเป็นระบบทำให้รู้งานกัน
          11. ความเท่าเทียมกัน (equity) ในที่นี้ ผู้เป็นหัวหน้าจะต้องมีการตอบสนองต่อผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างมีเมตตา และยุติธรรม การใช้อำนาจของผู้บริหารจะเป็นไปด้วยหลักการ มิใช่จะทำอะไรได้ตามใจ
          12. ความมั่นคง และสามัญฐานะของบุคลากร (stability of tenure of personnel) ทั้งนี้โดยมองว่า การที่มีคนเปลี่ยนงานบ่อยๆนั้นจะทำให้งานไม่มีประสิทธิภาพ ฝ่ายบริหารควรวางแผนงานให้สามารถมีการทดแทนกำลังคนกันได้ เมื่อมีตำแหน่งว่างลง
          13. การริเริ่มสร้างสรรค์ (initiative) ผู้ใต้บังคับบัญชาจะสามารถมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะทำงานออกมาได้ในระดับที่สูง
          14. วิญญาณแห่งหมู่คณะ (esprit de corps) การสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน มีความราบรื่น และความเป็นปึกแผ่นใน


          เฮนรี่ ฟาโยล (Henri Fayol) ได้สรุปเป็นทฤษฎีว่า หากวันหนึ่งคุณต้องอยู่ในสภาวะที่ต้องใช้คนจำนวนมากๆ ในการทำงานแล้วละก็หัวใจของการบริหารจัดการเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายนั้น มีองค์ประกอบด้วยกัน

5 ปัจจัย เรียกว่า POCCC มีดังนี้


1. การวางแผน (Planning) หมายถึง ภาระหน้าที่ของผู้บริหารที่จะต้องทำการคาดการณ์ล่วงหน้าถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อธุรกิจ และกำหนดขึ้นเป็นแผนการปฏิบัติงานหรือวิถีทางที่จะปฏิบัติเอาไว้ เพื่อสำหรับเป็นแนวทางของการทำงานในอนาคต

2. การจัดการองค์การ (Organizing) หมายถึง ภาระหน้าที่ที่ผู้บริหารจำต้องให้มีโครงสร้างของงานต่าง ๆ และอำนาจหน้าที่ ทั้งนี้เพื่อให้เครื่องจักร สิ่งของ และตัวคน อยู่ในส่วนประกอบที่เหมาะสม ในอันที่จะช่วยให้งานขององค์การบรรลุผลสำเร็จได้

3. การบังคับบัญชาสั่งการ (Commanding) หมายถึง หน้าที่ในการสั่งงานต่าง ๆ ของผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งกระทำให้สำเร็จผลด้วยดี โดยที่ผู้บริหารจะต้องกระทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี จะต้องเข้าใจคนงานของตน

4. การประสานงาน (Coordinating) หมายถึง ภาระหน้าที่ที่จะต้องเชื่อมโยงของทุกคนให้เข้ากันได้ และกำกับให้ไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน

5. การควบคุม (Controlling) หมายถึง การที่จะต้องกำกับให้สามารถประกันได้ว่า กิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำไปนั้นสามารถเข้ากันได้กับแผนที่ได้วางไว้ล่วงหน้า

หลักการบริหารของ เฮนรี่ ฟาโยล (Henri Fayol) สามารถนำไปประยุกต์ ใช้ได้เป็นการทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นงานบริหาร จัดการของเอกชน หรือของรัฐ

เทคนิคการทำงาน -> คนงานธรรมดา

ความสามารถทางด้านบริหาร -> ระดับผู้บริหาร

         

ผู้บริหารจะต้องมีคุณลักษณะพร้อมความสามารถทางร่างกาย จิตใจ ไหวพริบ การศึกษาหาความรู้ เทคนิคในการทำงาน และประสบการณ์ต่าง ๆ Fayol แยกแยะให้เห็นว่าคุณสมบัติทางด้าน เทคนิควิธีการทำงาน นั้น สำคัญที่สุดในระดับคนงานธรรมดา แต่สำหรับระดับสูงขึ้นไปกว่านั้นความสามารถทางด้านบริหาร จะเพิ่มความสำคัญตามลำดับ และมีความสำคัญมากที่สุดในระดับผู้บริหารขั้นสุดยอด (Top executive) ควรจะได้มีการอบรม (training) ความรู้ทางด้านบริหารควบคู่กันไปกับความรู้ทางด้านเทคนิคในการทำงาน

งานวิจัยในต่างประเทศ Private Schooling and Fayol’s Principles of Management: A Case from Nepal

Journal of Education and Research March 2013, Vol. 3, No. 1, pp. 6-23

DOI: //dx.doi.org/10.3126/jer.v3i0.7849

การศึกษาเอกชนและหลักการบริหารของ Fayol: กรณีจากเนปาล

Chandra Sharma Poudyal *มหาวิทยาลัย Waikato, Hamilton, New Zealand นามธรรม

          Henri Fayol เป็นที่รู้จักแพร่หลายในฐานะผู้ก่อตั้งการบริหารจัดการสำหรับการมีส่วนร่วมของเขาในด้านการจัดการ แม้ว่าหลักการบริหารของเขาจะเรียกว่าเป็นทฤษฎีการจัดการแบบคลาสสิก แต่หลักการเหล่านี้ยังคงมีผลบังคับใช้ในด้านการจัดการ ในบทความนี้ผมได้สำรวจประเด็นการจัดการและการเป็นเจ้าของโรงเรียนเอกชนสองแห่งในประเทศเนปาลโดยใช้หลักการบริหารของ Fayol

          เก็บข้อมูลจากโรงเรียนเอกชนสองแห่งโดยใช้วิธีการศึกษากรณีศึกษา ผมได้ทำการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับครูผู้บริหารและครูใหญ่ของโรงเรียนเอกชนสองแห่ง ในกรณีศึกษาโรงเรียนเจ้าของยังทำงานในฐานะครูใหญ่ของโรงเรียนด้วยเหตุนี้จึงได้มีการใช้คำว่าเจ้าของ / ครูใหญ่ในเอกสารฉบับนี้ เจ้าของ / ผู้ว่าจ้างได้รับการยอมรับว่าเป็นตัวแทนของนายจ้างในขณะที่ครูถูกนำมาใช้แทนเสียงของพนักงาน ในทำนองเดียวกันผู้บริหารในการศึกษาครั้งนี้เป็นตัวแทนของทั้งนายจ้างและลูกจ้างของโรงเรียน

          การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าเมื่อการจัดการและการเป็นเจ้าของไม่ได้แยกออกจากกันมีความเข้มข้นของอำนาจ การกระจุกตัวของอำนาจในแต่ละบุคคลหรือกลุ่มของเจ้าของทำให้เกิดประเด็นที่เกี่ยวกับการบริหารต่างๆเช่นการกระจายอำนาจและความรับผิดชอบที่ไม่เท่าเทียมกันความคลุมเครือบทบาทการจูงใจในเชิงลบและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หลักการและความรับผิดชอบของ Fayol การริเริ่มการควบคุมความสนใจในแต่ละกลุ่มความสนใจความมั่นคงในการทำงานของบุคลากรและเจตนารมณ์แห่งความร่วมมือได้ถูกนำมาใช้ในบทความนี้เพื่ออธิบายถึงประเด็นต่างๆเกี่ยวกับการจัดการและความเป็นเจ้าของที่เกิดขึ้นจากกรณีศึกษา

          บริษัท Toyota ที่ให้คนงานในสายการผลิตสามารถที่จะเสนอข้อคิดเห็นและวิธีการแก้ปัญหาในสายการผลิตได้ไม่เหมือนองค์กรอื่นๆที่คำสั่งการต้องมาจากข้างบน แต่บริษัท Toyota มีการบัญชาแบบล่างขึ้นบนด้วยให้ความเสมอภาคกับคนงานและพนักงานทุกๆคน ในการทำงานกับคนอื่นๆคุณก็ต้องมีความคิดริเริ่ม

          แม้ว่าหลักการเหล่านี้จะใช้กันอย่างแพร่หลายในวันนี้ แต่ก็ยังสามารถให้คำแนะนำแก่ผู้บริหารของวันนี้ได้ หลายหลักการถือเป็นสามัญสำนึก แต่ในขณะนั้นแนวคิดเหล่านี้เป็นแนวคิดการปฏิวัติเพื่อการจัดการองค์กร

//www.toolshero.com/toolsheroes/henri-fayol/

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก